ห้ามตรวจเอง! วิธีใหม่ตรวจหา'โควิด-19'

ห้ามตรวจเอง! วิธีใหม่ตรวจหา'โควิด-19'

กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)มีนโยบายนำชุดตรวจแอนติเจน(Rapid Antigen test)มาใช้โดยสถานพยาบาล ในการตรวจหาผู้ติดโควิด-19 เพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น แต่ยังจำเป็นต้องเข้าใจอย่างถูกต้องในการใช้และแปลผล ซึ่งหากผลเป็นลบ “ไม่ได้แปลว่าไม่ติดเชื้อ”!!!  

       เมื่อวันที่ 8 ก.ค.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงสถานการณ์โควิด-19 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า มีการหารือถึงการใช้ชุดตรวจแอนติเจน(Rapid Antigen Test)ร่วมกันระหว่างกรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค เครือข่ายโรงเรียนแพทย์ และคณะทำงานวิชาการ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข  และกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)มีมติเห็นชอบ ในแนวทางการดำเนินการใช้ชุดตรวจแอนติเจน เพื่อให้ใช้ได้มีประสิทธิผลสูงสุดและไม่มีปัญหาแทรกซ้อนอะไรเกิดขึ้น

             นพ.ศุภกิจ เริ่มต้นอธิบายว่า  โดยปกติเมื่อรับเชื้อไวรัสเข้าไปในร่างกาย จะใช้เวลาหนึ่งในการที่จะมีการตรวจพบ ไม่ว่าจะเป็นตัวไวรัสหรือองค์ประกอบไวรัส และไม่ว่าจะเป็นการตรวจวิธีไหนก็ตาม ซึ่งแต่ละวิธีมีความช้า ความเร็วในการตรวจพบเจอแตกต่างกันไป หรือมีความไวในการตรวจกรณีมีเชื้อขึ้นมากหรือน้อยแตกต่างกันไป และไม่นานจะมีภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นมา ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าที่จะตรวจพบเจอ

162573357234

           “ชุดตรวจที่นำมาใช้ในผู้ที่ต้องการตรวจหาเชื้อนี้ เป็นการตรวจแอนติเจน คือ ตรวจตัวไวรัสหรือองค์ประกอบไวรัส ไมได้พูดถึงเรื่องการตรวจแอนติบอดีที่เป็นภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทาน ซึ่งทั้งคู่มีวิธีการตรวจที่ชุดทดสอบอย่างง่าย (test kit)ที่สามารถตรวจได้และได้ผลรวดเร็วทั้งคู่ แต่ที่พูดถึงนี้คือแอนติเจน ส่วนแอนติบอดีหรือภูมิต้านทาน เหตุที่ไม่นำมาใช้ เพราะกว่าที่ภูมิต้านทานจะขึ้นใช้เวลานาน และถ้าขึ้นมาแล้ว ในปัจจุบันที่มีคนฉีดวัคซีนแล้วเป็น 10 ล้านโดส ซึ่งภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นอาจเป็นจากวัคซีน ทำให้ไม่สามารถแยกกันได้”นพ.ศุภกิจกล่าว  

          ชุดตรวจแอนติเจนชนิดอย่างเร็วที่ขึ้นทะเบียนกับอย.แล้วมี 24 ยี่ห้อ โดยได้รับอนุญาตให้ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ไม่ได้สามารถเอาไปตรวจด้วยตนเองเองได้ในขณะนี้ แต่อาจจะจะดำเนินการต่อไปปในอนาคตข้างหน้า อาจมีการพิจารณาการตรวจเองที่บ้าน แต่ปัจจุบันให้สถานพยาบาลเป็นคนตรวจ ซึ่งทั้ง 24 ยี่ห้อมีคุณภาพแตกต่างหลากหลาย การเก็บตัวอย่างที่ใช้เทคนิคการตรวจ บางอันเก็บแหย่จมูก แหย่จมูกถึงคอหอย บางอันเข้าทางปากถึงคอหอย เป็นต้น และการทำลายเชื่อของสารทำละลาย น้ำยาที่ใช้ในการตรวจ ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ออกคำแนะนำ การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการณ์กรณีนี้ ถ้ามีความจำเป็นในการใช้ชุดตรวจที่ทราบผลเร็ว โดยมีข้อจำกัดการตรวจRT-PCR เพื่อเอาผลเบื้องต้นไปดำเนินการบางอย่างก่อนก็ไม่ได้ขัดข้อง
       “แต่ขอให้เข้าใจว่าคนตรวจผลเป็นลบ ไม่ใช่ไม่ติดเชื้อ แต่อาจเชื้อน้อย และตรวจไม่เจอด้วยวิธีนี้
 หากตรวจแล้วบวก อาจจะต้องยืนยันผลด้วยวิธี RT-PCRอีกครั้ง เพราะมีจำนวนอยู่บ้างอาจจะเกิดผลบวกลวง เพราะการจะรักษาคนไข้อาจต้องยืนยันอีกครั้ง” นพ.ศุภกิจกล่าว

       ส่วนกรณีที่มีความกังวลว่าจะสามารถเบิกงบประมาณการตรวจด้วยวิธีการนี้ได้หรือไม่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)กำลังพิจารณากำหนดเกณฑ์ในการเบิกจ่าย  

     ข้อแนะนำการใช้ชุดตรวจแอนติบอดี(Rapid Antigen Test)โดยสถานพยาบาล ประกอบด้วย 1.เลือกชุดตรวจที่ผ่านการประเมินและขึ้นทะเบียนอย. 2.การเก็บตัวอย่างใช้การแหย่จมูกถึงด้านหลังคอ การแหย่ผ่านช่องปากไปที่คอ หรือจมูกอย่างเดียว สุดแท้แต่ชุดตรวจจะกำหนด

3.ใช้เพื่อคัดกรองเบื้องต้น และควรได้รับการตรวจยืนยันด้วย RT-PCRและทำคำแนะนำชัดเจนทั้งการแปลผลและการแยกกักตนเอง 4.สถานที่รับตรวจ ยังไม่ได้ให้ตรวจเองหรือตรวจที่บ้าน ยังต้องเป็นสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนและได้รับการรับรองโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มี 300 กว่าแห่งทั่วประเทศ น่าจะเพียงพอ ที่ต้องอนุญาตเฉพาะส่วนนี้ก่อน เพราะถ้าผลบวกหรือลบ  จะต้องนำสู่การตรวจRT-PCR เพื่อยืนยันและสถานพยาบาลทั้งหมดนี้ได้รับการรองการตรวจอยู่แล้ว จึงต้องกำหนดไม่เปิดให้ดำเนินการในคลินิกที่ไม่ผ่านการรับรอง
       และ5.เตรียมพร้อมระบบทางการแพทย์  ถ้าตรวจมากขึ้น เข้าถึงมากขึ้น เร็วขึ้น ข้อดีคืออาจจะเจอคนไข้เป็นบวก เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ระบบบริการควรสงวนไว้ให้คนอาการหนัก อาจจต้องควบคู่กับhome Isolation ด้วยการให้กักตัวที่บ้านอย่างมีคุณภาพ หรือCommunity Isolation ที่มีสถานที่ระบบดูแลไม่ให้แพร่เชื้อ และป่วยหนักรับรักษาต่อไป ป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิต

162573359367

            แนวทางการใช้ Rapid Antigen Test ในพื้นที่ติดเชื้อวงกว้าง กรณีเป็นผู้สงสัยที่ไม่มีอาการใดๆ ถ้าตรวจด้วยแอนติเจน เทสต์แล้ว เป็นลบ  ให้คำอธิบายว่ายังไม่เจอเชื้อ แต่อาจจะมีเชื้อน้อยๆ ให้กลับไปดูแล กักตัวที่บ้าน และอาจจะมาตรวจใหม่อีกครั้งในเวลาที่เหมาะสม ถ้าผลบวกจะยืนยันด้วยการตรวจ RT-PCR ถ้าผลเป็นลบ ก็ให้คำแนะนำเหมือนตรวจแอนติเจนเป็น ลบ แต่ถ้าผลเป็นบวก จะเข้าระบบในการที่ดูแลผู้ป่วยโควิด  ถ้าอาการไม่มากก็ใช้ home Isolation

        กรณีกลุ่มที่มีความเสี่ยง ผู้สัมผัสแล้วมีอาการ ปกติแนะนำให้ตรวจ RT-PCRเป็นหลัก เพราะวิธีมาตรฐานที่ตรวจเจอเชื้อเร็วที่สุด แต่ในกรณีที่สถานบริการรองรับไม่ไหว มีคนตรวจจำนวนมาก อาจใช้วิธี Rapid Antigen Testก่อนได้ ถ้าใครบวกตรวจยืนยันอีกครั้งด้วยวิธีRT-PCR แต่ถ้าผลลบและตรวจด้วย RT-PCR ลบด้วย ก็อาจจะกลับไปดูแลตัวเองตามระบบ ซึ่งแนวทางที่กำหนด เพื่อทำความเข้าใจกับระบบริการ เพื่อให้ผลตรวจช่วยคัดกรองเบื้องต้น คนจะได้ไม่ไปรอคิว เพราะจำนวนหนึ่งไม่ใช่คนที่มีโควิดแต่อย่างใด  ช่วยลดปริมาณการตรวจ RT-PCRลง ทำให้คนเข้าถึงบริการมากขึ้น

     “การตรวจโดยRapid Antigen Test ไม่ใช่การตรวจแอนติบอดีที่ตรวจจากเลือด แต่จะตรวจตัวอย่างจากจมูกหรือคอ เพื่อช่วยให้คนเข้าถึงบริการมากขึ้น ไม่อยากให้คนไม่มีคิวตรวจ แล้วไม่ได้ไปตรวจแล้วเกิดปัญหาคนจำนวนหนึ่งแพร่เชื้อได้ โดยที่ไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้ออยู่ในตัว แต่คนตรวจ Antigen Test แล้วเป็นลบ ก็ต้องระวังตัว กักตัว เพราะการตรวจนี้มีความไวต่ำกว่าRT-PCR และถ้ามีอาการหรือผ่านระยะเวลาหนึ่งต้องตรวจซ้ำ ”นพ.ศุภิจกล่าว