'Community Isolation' ระบบช่วยดูแล 'ผู้ป่วยโควิด 19' ในชุมชน

'Community Isolation' ระบบช่วยดูแล 'ผู้ป่วยโควิด 19' ในชุมชน

วิกฤตเตียง วิกฤตวัคซีน ดูจะเป็นปัญหาสถานการณ์โควิด 19 ของไทยในขณะนี้ ยิ่ง 'ผู้ปวยโควิด 19' จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เตียงที่จะรองรับกลับน้อยลง 'Community Isolation' อีกมาตรการแก้ปัญหาเตียง ลดความรุนแรงและเสียชีวิต

คงต้องยอมรับว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในประเทศไทยเข้าขั้นวิกฤต เพราะจนขณะนี้ยอดผู้ป่วยโควิด 19 ไม่มีลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้น 5,000-6,000 คนทุกวัน และบางวันจำนวนผู้เสียชีวิตแตะไปถึง 50 คน ซึ่งหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้สถานการณ์เตียงรองรับผู้ป่วยโควิด 19 ในโรงพยาบาลที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก อาจต้องปล่อยให้ ผู้ป่วยโควิด 19 รอการรักษาต่อไป

มาตรการ Home Isolation  การรักษาแบบกักตัวที่บ้าน และ Community Isolation หรือการดูแลตนเองในระบบชุมชนเพื่อดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการอยู่ในระดับสีเขียวหรืออาการไม่รุนแรงในชุมชน จึงเกิดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเตียงเต็ม และลดความรุนแรง การแพร่ระบาดของโรค

พญ.นิตยา ภานุภาค กรรมการและเลขานุการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมเอชไอวี (IHRI) อธิบายถึงแนวทางการจัดตั้ง Home Isolationและ Community Isolation ว่ามาตรการดังกล่าว ทางกรมการแพทย์มีแผนในการดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งในส่วนของสถาบัน IHRI ตั้งแต่เกิดโควิดระบาดระลอกใหม่เดือนเม.ย.2564 และมีความรุนแรง มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

162548895485

ได้มีการรวมกลุ่มกับทางเครือข่ายภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็น เครือข่ายของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย หรือมูลนิธิในชุมชนต่างๆ มาจัดตั้งเป็นทีม Community Support Workforce ซึ่งจะทำหน้าที่รับเคสที่อยู่ในชุมชนมาช่วยดูแล ประเมินอาการเบื้องต้น ประสานหาที่ตรวจ ประสานหาเตียงให้แก่ผู้ป่วย

จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน จะพบว่า ผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มสีเขียวจะได้เข้ารับการรักษาที่รพ. จนทำให้เตียงรพ.ซึ่งมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอที่จะรับผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง หรือสีแดง เมื่อมีอาการรุนแรงได้ ยิ่งสถานการณ์ผู้ป่วยโควิด 19 ในกทม.ที่มีจำนวนมากขึ้น ทำให้เคสที่อยู่ในชุมชน 23 แห่ง และเคสสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จากผู้ป่วยที่สายด่วน 1330 เพื่อประสานหาเตียงให้ ซึ่งขณะนี้มีตกค้างยังไม่ได้เตียงมากกว่า 1,000 คน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ” พญ.นิตยา กล่าว

162549088862

ได้มีการหารือร่วมกัน และจับคู่กับ โรงพยาบาลปิยะเวท ในการดูแลกันในชุมชน และรักษาแบบกักตัวในบ้าน ในกลุ่ม ผู้ป่วยสีเขียว เป็นการดูแลที่เป็นไปตามมาตรฐานการแพทย์ ดูแลเหมือนทุกคนอยู่ที่โรงพยาบาล เพื่อจำนวนเตียงในโรงพยาบาลจะได้สามารถรองรับผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง และกลุ่มสีแดงได้

  • ระบบการทำงาน 'Community Isolation' ดูแลผู้ป่วยในชุมชน

หลังจากเริ่มคัดกรองผู้ป่วยโควิด 19 ในเคสจากกลุ่ม สปสช.ประมาณ 30 คน พบว่ามีประมาณ 5 คนที่พร้อม เข้าร่วมมาตรการ Home Isolationและ Community Isolation โดยส่วนใหญ่จะเข้าร่วมแบบ Home Isolation ดังนั้น ในวันที่ 5 ก.ค.2564 ที่ผ่านมา ทางสมาคมIHRI ได้มีการประชุมหารือร่วมกับทางเครือข่ายภาคประชาชน กรมการแพทย์ และสปสช. เพื่อดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด

พญ.นิตยา กล่าวต่อว่าเบื้องต้นได้มีการประเมินร่วมกับโรงพยาบาลปิยะเวท ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายในการรับเคสผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว พบว่า เคสในชุมชนมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะต้องการรักษาแบบHome Isolationมากกว่า ในวันนี้ (5 ก.ค.2564)จะมีการคัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มสปสช. ประมาณ 300-500 คน ว่าเคสไหนพร้อมทำในลักษณะใด และมีการปรับแผนการดำเนินการ 

162548887954

โดยมีการจัดตั้งทีมคอมโควิดชุมชน แบ่งเป็นทีมชุมชน ซึ่งผ่านการอบรมแกนนำทั้ง 23 ชุมชนในการช่วยดูแล ส่งต่อผู้ป่วยโควิด 19 และทีมพยาบาล ดูแลเรื่องการตรวจโควิด การรักษาพยาบาลต่างๆ รวมถึงการส่งต่อไปยัง โรงพยาบาลปิยะเวท หากผู้ป่วยมีอาการหนักจากผู้ป่วยสีเขียวเป็นผู้ป่วยสีเหลือง หรือสีแดง

ส่วนเรื่องงบประมาณในการดูแลชุมชน ทาง กรมการแพทย์ และ สปสช. จะเข้าช่วยเหลือทั้งหมด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะให้ ผู้ป่วยโควิด 19 การที่มีเจ้าหน้าที่พยาบาลติดตามดูแลผู้ป่วย หรือเรื่องอาหารทั้ง 3 มื้อ ทางสปสช.จะดูแลรับผิดชอบทั้งหมด ผู้ป่วยโควิด 19 ที่เข้ามาตรการ Home Isolationและ Community Isolation จะได้รับการดูแลอย่างดี 

ระบบการทำงานจะเป็นไปในลักษณะของทีมคอมโควิดชุมชน ประกอบด้วยทีมในชุมชน และทีมพยาบาล ค้นหาผู้มีความเสี่ยงสูง แบ่งระดับสีกลุ่มผู้ป่วย เจอเคสผู้ป่วยแล้วจะช่วยเหลืออย่างไร โดยทีมนี้จะทำงานร่วมกับ IHRI ซึ่งมีผู้ป่วยใหม่เข้ามา ทีม IHRI ก็จะส่งอุปกรณ์วัดอุณหภูมิ วัดออกซิเจนไปให้ แล้วทำการมอนิเตอร์วันละ 2 ครั้งระหว่างรอเตียง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : คิกออฟ!! 23 ชุมชน 'Community Isolation' ดูแลผู้ป่วยโควิด-19

                       'Home Isolation' รับเฉพาะผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว แก้ปัญหาเตียงเต็ม

                      รักษาโควิดที่บ้าน 'สปสช.' สนับสนุนค่าอาหารให้โรงพยาบาลวันละ 1 พันบาท

  • แนะผู้ป่วยรอเตียงควรเข้าร่วมCommunity Isolation

เมื่อมีอาการรุนแรงจะเชื่อมกับโรงพยาบาลปิยะเวท และผู้ป่วยขึ้นทะเบียนเป็นคนไข้โรงพยาบาลปิยะเวท เพื่อดูแลรักษา และทางโรงพยาบาลปิยะเวท จะมีการเตรียมบริการเอกซเรย์แก่ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว โดยเบื้องต้นจะมีรถพยาบาลจากโรงพยาบาลปิยะเวท รับผู้ป่วยไปตรวจเอกซเรย์ที่โรงพยาบาล และหลังจากนี้อาจจะมีการปรับแผนให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจในการดูแลรักษาผู้ป่วย 

“ตอนนี้พื้นที่น่าเป็นห่วง คือ พื้นที่กทม. เพราะเราไม่สามารถเพิ่มเตียงหรือบุคลากรในโรงพยาบาลให้เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นได้ ฉะนั้น ทุกคนต้องยอมรับมาตรการ Home Isolationและ Community Isolation ขอให้มั่นใจวิธีการดูแลรักษา เพื่อให้ประชาชนปลอดภัย ลดการติดเชื้อรุนแรง และลดการเสียชีวิต เพราะมาตรการดังกล่าวมีความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์ที่พยายามให้บริการประชาชน และสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน การดูแลรักษาที่มีคุณภาพ อีกทั้งมีการสนับสนุนทั้งทางเทคนิค อาหาร และอาหาร ยา ดูแลครบวงจร”พญ.นิตยา กล่าว

162548898718

พญ.นิตยา กล่าวด้วยว่าคาดการณ์ว่าขณะนี้มีผู้ป่วยกำลังรอเตียง หรือผู้ป่วยสีเขียว ทั้งในกลุ่มคนไทย และแรงงานต่างด้าว จำนวนมากที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบ หรือยังไม่ได้แจ้ง หรือแจ้งแล้วแต่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ จำนวนมาก ดังนั้น ตอนนี้ประชาชนทุกคนต้องดูแลตัวเองตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าคนที่เราพบเจอนั้น มีการติดเชื้อโควิด 19 หรือไม่ อีกทั้งการติดเชื้อโควิด 19 ปัจจัยเสี่ยงหลักๆ มาจากคนในครอบครัว

ทุกคนควรสวมใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยง และหากเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ ขอให้เฝ้าระวังตรวจเช็คอาการของตนเอง และต่อให้ตรวจโควิด 19 ไม่พบเชื้อในครั้งแรกก็ขอให้ป้องกันตนเอง ไม่แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ที่สำคัญหากเป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการน้อย ขอให้เข้าร่วมมาตรการ Home Isolationและ Community Isolation ทุกคนต้องช่วยกัน” พญ.นิตยา กล่าวทิ้งท้าย

162548900553

อย่างไรก็ตาม สำหรับ ผู้ป่วยสีเขียว ที่เข้าร่วมมาตรการ Home Isolation และ Community Isolation ได้นั้น ต้องเป็นกลุ่มผู้ติดเชื้อที่สบายดีหรือไม่แสดงอาการ อายุน้อยกว่า 60 ปี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อยู่คนเดียวหรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน ต้องไม่มีภาวะอ้วน ไม่มีโรคร่วม คือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ และต้องยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง ฉะนั้น ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถเข้าร่วมมาตรการเหล่านี้ได้

162549091141

162549093356