'สมุนไพร' ช่วยต้าน 'โควิด 19' ทางรอดของเศรษฐกิจไทย

'สมุนไพร' ช่วยต้าน 'โควิด 19' ทางรอดของเศรษฐกิจไทย

'สมุนไพร'ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง'โควิด 19' ทำให้'ตลาดสมุนไพร'มีอัตราการเติบโตมากขึ้น แล้วแนวโน้มเป็นเช่นไร ยังมีข้อจำกัดอะไรบ้าง

วิกฤต 'โควิด 19' กลายเป็นโอกาสของสมุนไพรไทยหลายๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็น 'ฟ้าทะลายโจร' 'กระชาย' เนื่องจากพบว่ามีฤทธิ์ต้านโคโรน่าไวรัสซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำให้เกิดโรค 'โควิด 19' ได้ดี โดยเฉพาะฟ้าทะลายโจรเป็นหนึ่งในบัญชียาหลักแห่งชาติด้าน 'สมุนไพร' รักษาโรค'โควิด 19' 

รวมถึงเทรนด์รักสุขภาพคนรุ่นใหม่นิยมใช้'สมุนไพร'ประกอบกับนโยบายส่งเสริมการใช้'สมุนไพร'ของรัฐบาล เช่น ส่งเสริมให้โรงพยาบาล สถานพยาบาลใช้'สมุนไพร'ทดแทนการนำเข้ายาแผนปัจจุบัน และนำ'สมุนไพร'มาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง 79 -80 % อาหารเสริม 18-20 % และยารักษาโรค 4-5 % โดยพืช'สมุนไพร'ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ไพล ใบบัวบก กระชายดำ ขมิ้นชัน

  • 'ตลาดสมุนไพร'ไทย เติบโตในช่วง 'โควิด 19'10.3%

ตลาดสมุนไพร เป็นตลาดที่มีการเติบโตในช่วงโควิด 19 สวนกระแสกับตลาดหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ซบเซาลงโดยข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า แนวโน้มการบริโภค'สมุนไพร'และ 'ผลิตภัณฑ์สมุนไพร'ในไทยตั้งแต่ปี2560 - 2563 มีอัตราการเติบโตประมาณ 10% ต่อปี  เนื่องจากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค 'โควิด 19'ผลให้ประชาชนหันมาใส่ใจดูแลเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่  โดยมูลค่าของ'ผลิตภัณฑ์สมุนไพร'ภายในประเทศ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 10.3% ภายหลังประกาศใช้แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนา'สมุนไพรไทย'ฉบับที่ 1 ..2560 - 2564  กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในปี 2563 ระบุว่ามูลค่าทางการ 'ตลาดสมุนไพร'ในประเทศสูงถึง 1.8 แสนล้านบาท

162398129588

ขณะที่ประเทศจีน มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 5.06% ญี่ปุ่น 0.85% และเกาหลีใต้ 5.43% ขณะที่ในตลาดโลกพบว่ามีมูลค่าการบริโภค 'สมุนไพร'มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

ตลาดโลกสูงถึง 3 ล้านล้านบาท โดยประเทศไทยมีการส่งออก 'สมุนไพรไทย' อยู่ในหลักแสนล้านบาท แบ่งเป็นส่งออกกลุ่มอาหารเสริมกว่า 80,000 ล้านบาท กลุ่มสปาและผลิตภัณฑ์มีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท และกลุ่มยาแผนโบราณตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท

  • ‘ตลาดสมุนไพร’ไทยเป็นเศรษฐกิจหลัก ทางรอดของเศรษฐกิจไทย

รศ.ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าการแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้ตลาดสมุนไพรมีการเติบโตสูงมากขึ้นไปในปี 2564 นี้ เพราะมี'สมุนไพร'หลาย ตัวสามารถช่วยต้านไวรัสได้ ทำให้ผู้คนหันมาสนใจสินค้าและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรมากขึ้น อีกทั้ง'สมุนไพร'เองเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย เพราะมาจากธรรมชาติ จากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน ทุกคนรู้สึกเชื่อมั่นในการใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์จาก'สมุนไพร'มากขึ้น

ขณะเดียวกันภาครัฐมีการนโยบายส่งเสริมผ่านแผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนา 'สมุนไพรไทย'ปี 2560-2564 ที่จะสนับสนุนดูแลด้านการตลาด ส่งเสริม'สมุนไพร'Product Champion ไพล กระชายดำ ขมิ้นชัน และใบบัวบก รวมถึง 'ฟ้าทะลายโจร' ตั้งแต่กระบวนการปลูก'สมุนไพร'ตั้งต้น และ'สมุนไพร'สำคัญของโลก

162398132139

การมีนโยบายส่งเสริมที่ชัดเจน มีกฎหมายทำให้เกิดประโยชน์ต่อ 'ตลาดสมุนไพร' ผู้ประกอบการกล้าลงทุน สร้างผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ'สมุนไพร'โดยเฉพาะในกลุ่มของ'สมุนไพร'ป้องกันโรคในรูปแบบของยา เครื่องสำอาง สปา และอาหารเสริมต่างๆ เพราะมีตลาดรองรับชัดเจน

ประเทศไทยมีการส่งออกวัตถุดิบ ทั้งพืช'สมุนไพร'สด แห้ง และสารสกัด และ 'ผลิตภัณฑ์สมุนไพร' ทั้งในรูปยา เครื่องสำอางสปา และ เสริมอาหาร ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 แบ่งเป็น'สมุนไพร' ประมาณ 324.2 ล้านบาท สารสกัดจาก'สมุนไพร'184.8 ล้านบาท เครื่องเทศและ'สมุนไพร'2,837.2 ล้านบาท เครื่องสำอางเครื่องหอมและสบู่ 40,070.5 ล้านบาท เครื่องสำอางสบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว 52,218.7 ล้านบาท

162398084745

ขณะที่มีพื้นที่การผลิต 45,990 ไร่ ปริมาณผลผลิตรวม 114,975 ตัน การผลิตพืชสมุนไพรที่เพิ่มขึ้นสาธิต ปิตุเตชะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2563 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการ'สมุนไพร'ให้'สมุนไพร'เป็น Product Champions อีกทั้ง มีการยกระดับเมือง 'สมุนไพร'ทั้ง14 แห่งทั่วประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มการเกษตรวัตถุดิบ'สมุนไพร'ประกอบด้วย จังหวัดอำนาจเจริญ, สุรินทร์, มหาสารคาม, อุทัยธานี, สกลนคร

2.กลุ่มอุตสาหกรรม'สมุนไพร'ประกอบด้วย จังหวัด นครปฐม, สระบุรี, ปราจีนบุรี, จันทบุรี

3.กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงามประกอบด้วยเชียงราย, พิษณุโลก, อุดรธานี, สุราษฎร์ธานี, สงขลา

“‘ตลาดสมุนไพรไทยเป็นเศรษฐกิจหลัก ทางรอดของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานวัตถุดิบที่ประเทศมีอยู่แล้ว และเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของคนไทย อีกทั้ง สรรพคุณของสมุนไพรในการป้องกันไวรัส ทำให้สมุนไพรไทยได้รับความนิยมทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศอย่างมาก ช่วยเพิ่มมูลค่าทางตลาด การส่งออกได้มากขึ้นรศ.ภก.สุรกิจ กล่าว

ดังนั้น ผู้ปลูกหรือเกษตรกร และ ผู้ประกอบการ รวมถึงนักวิจัย นักเภสัชศาสตร์ ผู้คิดค้นสูตร และผู้ขายผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรนอกจากมองเรื่องของตลาดแล้ว ยังต้องรักษามาตรฐานของสมุนไพรด้วย ต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่ 'ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย' และภาครัฐควรส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพ ส่งเสริมเทคโนโลยีขั้นสูง เชื่อว่า'ตลาดสมุนไพร'จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยผ่านพ้นวิกฤตไปได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:ควรมีติดบ้าน!! 'สมุนไพร' ตัวเด็ด 'เสริมภูมิคุ้มกัน' ต้านไวรัส

                  'ฟ้าทะลายโจร-กระชาย' สมุนไพรไทยสู้ 'โควิด 19'

                  คนรุ่นใหม่ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรดูแลสุขภาพมากขึ้น

                  

  • แนะ'สมุนไพร'ต้องมีเทคโนโลยีขั้นสูงและงานวิจัย

พืช'สมุนไพร'ที่รู้จักสรรพคุณและนำมาใช้ประโยชน์ มีประมาณ 1,800 ชนิด และมี 300 ชนิด ที่เป็นวัตถุดิบ'สมุนไพร'ที่หมุนเวียนในท้องตลาดซึ่งมีความต้องการ โดยเฉพาะ 4 'สมุนไพรแชมเปี้ยน' ไพล ใบบัวบก กระชายดำ ขมิ้นชัน ขณะที่ 'ฟ้าทะลายโจร' ขิง และ'สมุนไพร'อื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน หรือช่วยป้องกันโรคไวรัสต่างๆมีความต้องการสูงมาก

ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้รับมอบหมายจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) จัดทำศึกษา โครงการวิเคราะห์และประเมินมูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย ระหว่างปีพ..2560-2564 โดยพื้นที่การศึกษา คือ เมืองสมุนไพร 14 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสินค้า'สมุนไพร'เป้าหมาย 12 ชนิด

162398134155

ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนมูลค่าทางการ'ตลาดสมุนไพร'ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงแปรรูปขั้นต้น คือ จังหวัดสงขลา นครปฐม และสุราษฎร์ธานี โดยมูลค่าทางการตลาดสมุนไพรปลายน้ำหรือระดับอุตสาหกรรมได้แก่ ยา'สมุนไพร'เครื่องสำอางผสม 'สมุนไพร' และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ (สัดส่วนเครื่องสำอางผสมสมุนไพรร้อยละ 38.5 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร้อยละ 32.6 และยาสมุนไพรร้อยละ 28.8)ในขั้นแปรรูปขั้นต้นในจังหวัดส่วนใหญ่จะเป็นการแปรรูปโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีข้อจำกัดในเรื่องของเงินลงทุนและเทคโนโลยีในการผลิต รวมไปถึงยังขาดความรู้ทางด้านกฎ ระเบียบ การขอขึ้นทะเบียนฉลาก สรรพคุณของ อย. การเพาะปลูกที่ไม่ได้มาตรฐาน ขาดความรู้ในกระบวนการแปรรูปขั้นต้นที่มีประสิทธิภาพ ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในขั้นตอนการขอใบรับรองต่าง และปัญหาในการเข้าถึงตลาดเป้าหมายและขาดตลาดรองรับ 

162398135748

ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ .หอการค้าไทย  กล่าวว่าประเทศไทยได้เปรียบในด้านวัตถุดิบที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางชีวภาพ เอื้อให้มีวัตถุดิบหลากหลายสามารถผลิตและสกัดสารสำคัญจาก 'สมุนไพรไทย' เพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ตรงตามความต้องการ แต่ไม่เพียงพอยังต้องนำเข้า'สมุนไพร'ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าในรูปวัตถุดิบและสารสกัดเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ ซึ่งประเทศไทยยังคงมีโอกาสที่จะไปได้อีกไกลหากมีการพัฒนาแหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายสู่การวิจัยและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์