สศช.หนุนตรวจเชิงรุก-คุมกิจกรรม 'เสี่ยง' โควิด

(ชมคลิปข่าวด้านล่าง) สศช.หนุนตรวจเชิงรุก-คุมกิจกรรม ’เสี่ยง’ โควิด

ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2564

การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2564 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศเพื่อให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงและอยู่ในวงจำกัดโดยเร็ว
และการป้องกันการกลับมาระบาดรุนแรงในระลอกใหม่ โดยมุ่งเน้น (i) การบังคับใช้มาตรการควบคุมโรค
และป้องกันการระบาดของภาครัฐอย่างเคร่งครัด ควบคู่ไปกับการยกระดับกระบวนการเฝ้าระวังสอบสวน
โรคเชิงรุก โดยเฉพาะการเร่งรัดการตรวจเชิงรุกในเขตพื้นที่หรือชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงในกรุงเทพฯ หรือ
เขตเมืองต่าง ที่ยังคงเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรง รวมทั้งการดูแลและควบคุมกิจกรรม
และกิจการบางประเภทที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของการระบาดของโรคอย่างเข้มงวด และการป้องกันการนำเข้าเชื้อไวรัสกลายพันธุ์เพิ่มเติมโดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้ที่เดินทางข้ามชายแดน (ii) การเร่งรัดจัดหาและกระจายวัคซีนให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมทั่วถึงและเพียงพอเพื่อให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ โดยการจัดลำดับความสำคัญตามหลักการสาธารณสุขในการกระจายให้กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ควบคู่ไปกับ
การคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่เศรษฐกิจทั้งในภาคการท่องเที่ยวและภาคการผลิตที่สำคัญ รวมทั้งมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (iii) การพัฒนาศักยภาพของระบบสาธารณสุขให้เพียงพอต่อการรองรับการแพร่ระบาดในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
และ (iv) การเร่งประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนให้แก่ประชาชนเพื่อให้เกิด
ความเชื่อมั่นในการเข้ารับวัคซีน รวมถึงการรณรงค์เกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติและดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันการกลับมาแพร่ระบาดระลอกใหม่และลดโอกาสการกลับมาติดเชื้อซ้ำภายหลังได้รับวัคซีนแล้ว (2) การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
จากการแพร่ระบาดและมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ประกอบด้วย (i) การเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง
ทั้งด้านการเงินและการคลังที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนมาตรการเดิมให้ตอบสนอง
ภาคเศรษฐกิจและพื้นที่เศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด (ii) การพิจารณามาตรการช่วยเหลือภาคแรงงานผ่านมาตรการรักษาระดับการจ้างงานให้แก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบ ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการ
สร้างงานใหม่และมาตรการพัฒนาทักษะแรงงาน และ (iii) การพิจารณาดำเนินมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไปภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง (3) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า เพื่อสร้างรายได้จากต่างประเทศและสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับ (i) การขับเคลื่อนการส่งออกไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ที่ชัดเจน และการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ (ii) การเร่งรัดยกระดับการผลิตสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า (iii) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการพัฒนา
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญ ในลักษณะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์หรือพหุภาคี (iv) การเร่งรัด
การเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสำคัญใหม่ เช่น สหภาพยุโรป (EU) สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) และสหราชอาณาจักรภายหลัง Brexit รวมทั้งการให้ความสำคัญกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ ที่อาจถูกหยิบยกเป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า และ (v) การปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
และการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (4) การส่งเสริม
การลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุน
ในช่วงปี 2561-2563 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของประเทศ (ii) การแก้ไขปัญหาที่
นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจในประเทศไทยเพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการลงทุนและดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติมจากทั้งภาคเอกชนของไทย
และต่างประเทศ อาทิ ข้อจำกัดและอุปสรรคในการทำงานและการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยสนับสนุนในการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ (iii) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น (iv) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) 10 จังหวัด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภูมิภาคมากขึ้น (v) การให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่
นักลงทุน และ (vi) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่สำคัญ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและภาคบริการที่สำคัญ เพื่อยกระดับศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว (5) การรักษาแรงขับเคลื่อน
การขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดยการเร่งรัดการเบิกจ่าย (i) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 92.5 แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำร้อยละ 98.0
และงบลงทุนร้อยละ 70.0 (ii) งบเหลื่อมปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85.0 (iii) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 70.0 และ (iv) แผนงานและโครงการตามพระราชกำหนดฯ เงินกู้วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ให้มี
การเบิกจ่ายสะสม สิ้นปีงบประมาณ 2564 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.0 ของวงเงินกู้ (6) การเตรียม
ความพร้อมสำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อให้ภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ทันทีที่มีการกระจายวัคซีนทั้งในและต่างประเทศที่เป็นแหล่งต้นทางของนักท่องเที่ยวครอบคลุมเป็นวงกว้างและเพียงพอต่อการสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ โดยควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาจัดสรรและกระจายวัคซีนให้แก่พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวนำร่อง
ในจำนวนที่เพียงพอควบคู่ไปกับการพิจารณาเตรียมความพร้อมของพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งใน
ด้านระบบรองรับการเฝ้าระวังสอบสวนโรค การปรับปรุงที่พักและแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ความปลอดภัยด้านสาธารณสุขและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเตรียมระบบสนับสนุนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการเดินทาง และการปรับปรุงการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และ (7) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19