'ไทย' พบคนติดโควิด-19 'สายพันธุ์อินเดีย' รายแรก 

'ไทย' พบคนติดโควิด-19 'สายพันธุ์อินเดีย' รายแรก 

ศบค.เผยไทยพบคนติดโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียรายแรก เดินทางจากปากีสถาน อยู่ในสถานที่กักกัน จับตากต.ชะลอCOEต่างชาติจากปากีสถาน-บังกลาเทศ-เนปาล กำชับทุกหน่วยเฝ้าระวังสูงสุดไวรัสกลายพันธุ์ใน-นอกประเทศ เผย 10 วันสกัดคนลักลอบเข้าเมืองได้กว่า 1 พันราย

เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 10 พ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล ในการแถลงสถานการณ์โควิด-19 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,630 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังใน รพ. 1,321 ราย ค้นหาเชิงรุกในชุมชน 301 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศ 8 ราย หายเพิ่มขึ้น 1,603 ราย เสียชีวิต 22 ราย ทำให้มีผู้ติดเชื้อสะสม 85,005 ราย หายป่วยสะสม 55,208 ราย  เสียชีวิตสะสม 421 ราย สำหรับระลอกใหม่ตั้งแต่ เม.ย.มีผู้ติดเชื้อสะสม 56,142 ราย หายสะสม 27,782 ราย เสียชีวิตสะสม 327 ราย วันนี้คนหายมากกว่าป่วยอีกวันหนึ่ง ทำให้ยังอยู่ระหว่างรักษา 29,376 ราย มีอาการหนัก 1,151 ราย ใช้เครื่องช่วยหายใจ 389 ราย

สำหรับผู้เสียชีวิต 22 ราย เป็นชาย 9 ราย หญิง 13 ราย อายุตั้งแต่ 30-92 ปี ค่ากลาง 65 ปี โดยอยู่ใน กทม. 13 ราย เชียงใหม่ 2 ราย ปทุมธานี สุพรรณบุรี ระยอง สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น และมหาสารคาม จังหวัดละ 1 ราย พบว่ามีโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็ง ไต ผู้ป่วยติดเตีบง สะท้อนผู้อาศัยร่วมผู้ป่วยติดเตียงทำให้ติดเชื้อในครอบครัวทำให้ผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวเสี่ยงเสียชีวิต โดยวันที่ทราบผลติดเชื้อจนเสียชีวิต วันนี้พบว่า 22 ราย มีถึง 2 รายที่เสียชีวิตในวันเดัยวทราบผลการติดเชื้อ หมายถึงมาถึง รพ.ถึงมือแพทย์ในอาการหนักรุนแรงและเสียชีวิตในวันเดัยวกัน อีก 7 รายเสียชีวิตภายใน 1 สัปดาห์หลังทราบเชื้อ

"เมื่อมีอาการทางเดินหายใจ ไข้ หรือประวัติใกล้ชิดบุคคลเสี่ยง ยืนยันติดเชื้อ หนือไปพื้น เสี่ยง ชอให้เข้าสู่ระบบคัดกรองโดยเร็ว จะได้ไม่มาถึง รพ.ด้วยอากาาหนักและไม่สามารถช่วยชีงิตได้" พญ.อภิสมัยกล่าว

พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า ทิศทางกราฟผู้ป่วยรายใหม่เริ่มปักหัวลง ส่วนปัจจัยเสี่ยงขณะนี้สถานบันเทิงลดลงทั้งประเทศ แต่การติดเชื้อมักอยู่ในส่วนของครอบครัว เพื่อน ผู้ดูแลใกล้ชิด เดินทางไปในตลาด ชุมชน และขนส่ง ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น การรวมกลุ่มในสถานที่แออัด สถานที่ชุมชน ไปร่วมงานศพ งานประเพณี งานบวช ทำงานในสถานที่เดียวกัน มีการจัดประชุม รับประทานอาหารร่วมกัน มีการรายงานผู้ลักลอบเล่นพนัน บ่อนไก่ สนามชนโค เปิดโต๊ะสนุ้ก มีรายงานเป็นระยะ รวมถึงอาชีพเสี่ยง บุคคลสาธารณะ ตำรวจ บุคลากรทางการแพทย์ ทหาร ที่มีภาระงานสัมผัสคนหมู่มาก อยู่ในสถานที่เสี่ยง สถานที่ที่มีรายงานปัจจัยเสี่ยง ทั้งทัณฑสถาน ห้างสรรพสินค้า และธนาคาร

"ที่เราเน้นย้ำเสมอคือการติดเชื้อในครอบครัว เพื่อน ผู้ดูแลใกล้ชิด สถานที่ชุมชน อาชีพเสี่ยง อย่างที่เสียชีวิตวันนี้มีคนขับรถสาธารณะรวมอยู่ด้วย หากมีประวัติลักษณะนี้ อาการเสี่ยง อาการทางเดินหายใจ ให้ไปรับการตรวจฟรี" พญ.อภิสมัยกล่าว

14 จังหวัดไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่

พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า เมื่อพิจารณาแผนที่ประเทศวันที่ 10 พ.ค.2564 พบว่า สีขาว ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ใน 14 จังหวัด สีเขียวพบผู้ติดเชื้อใหม่ 1-10 ราย 41 จังหวัด สีเหลือง พบติดเชื้อใหม่11-50ราย 16 จังหวัด สีส้มพบผู้ติดเชื้อใหม่ 51-100 ราย 3 จังหวัด และสีแดง พบผู้ติดเชื้อใหม่ มากกว่า 100 ราย 3 จังหวัด และเมื่อพิจารณากราฟพบว่าพื้นที่ต่างจังหวัดจะเป็นแนวนอนค่อนข้างคุมสถานการณ์ได้ดี ส่วนกทม.และปริมณฑลยังสูงแต่ทิศทางลงเรื่อยๆและหวังว่าจะลงต่อไป

แผนตรวจเชิงรุกกทม. 10-12 พ.ค.

พื้นที่กรุงเทพฯมีรายงานการพบผู้ติดเชื้อครบทั้งหมด 50 เขต โดยกลุ่มก้อนที่ต้องเฝ้าระวังเพิ่มเติม คือ ซอยเพชรบุรี 5 และ 6 เขตราชเทวี และสำนักงารให้เช่า เขตยานนาวา และมีกลุ่มก้อนใหม่และต่อเนื่องในเขตห้วยขวาง จตุจักร วัฒนาและวังทองหลาง โดยผลการตรวจเชิงรุก ประจำวันที 9 พ.ค.2564 จำนวนการตรวจ 9,270 ราย พบติดเชื้อ 258 ราย คิดเป็น 2.84%

แผนการตรวจหาโควิด 19 เชิงรุกรายวันในกทม. 10 -12 พ.ค 2564 ประกอบด้วย วันที่ 10 พ.ค. ค้นหาเชิงรุก พื้นที่คลองเตย 2,500 คน แฟลตดินแดง 1;000 ดุสิต 1,000 คน บ่อนไก่ 1,500 คนเฝ้าระวังเชิงรุกธูปะเตมีย์ 1,000 คน ไทยญี่ปุ่นดินแดง 2,000 คน ดำเนินการโดยศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร 69 แห่งรวมประมาณ 350-500 คนต่อวัน

วันที 11 พ.ค. ค้นหาเชิงรุกคลองเตย 2,500 คนประตูน้ำ 1,000 คนโบ๊เบ๊ 500 คนพระราม 9 ราว 500 คน บ่อนไก่ 1,500 คน เฝ้าระวังเชิงรุกธูปะเตมีย์ 1000 คน ไทยญี่ปุ่นดินแดง 2,000 คนด ำเนินการโดยศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร 69 แห่งรวมประมาณ 350-500 คนต่อวัน

วันที 12 พ.ค.ค้นหาเชิงรุก คลองเตย 2,500 คนรองเมือง 500 คนห้วยขวาง 500 คนหลักสี่ 500 คนสีลมบางรัก 1,000 คนบ่อนไก่ 1,500 คนเฝ้าระวังเชิงรุกธูปะเตมีย์ 1000 คนไทยญี่ปุ่นดินแดง 2,000 คน ด ำเนินการโดยศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร 69 แห่งรวมประมาณ 350-500 คนต่อวัน โดยภาพรวมจะดำเนินการให้ได้วันละ 10,000 คน

เจอติด "สายพันธุ์อินเดีย" รายแรกในไทย

พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า มีรายงานผู้เดินทางจากประเทศปากีสถานตรวจพบเชื้อไวรัสสายพันธุ์กลายพันธุ์อินเดียเป็นรายแรกของประเทศไทย โดยเป็นหญิงตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ชาวไทย เดินทางมาถึงไทยเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2564 พร้อมลูกชาย 3 คนอายุ 4, 6, 8 ปี โดยเข้าพักในสถานที่กักกันของรัฐ (SQ) ซึ่งมารดาพักกับลูกชายอายุ 4 ปี และลูกชายอายุ 6-8ปีพักด้วยกัน การตรวจเชื้อในวันที่ 26 เม.ย. พบว่า มารดาและลูกชายอายุ 4 ปีติดโควิด19 ขณะที่ลูกชายอายุ6และ8ปี ไม่พบเชื้อ ต่อมาวันที่ 9 พ.ค มีการตรวจหาสายพันธุ์เชื้อไวรัสเนื่องจากเดินทางมาจากปากีสถาน พบยืนยันเป็นไวรัสสายพันธุ์กล่ยพันธุ์อินเดีย B.1.617 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดในอินเดียตั้งแต่ ต.ค. 2563 และเริ่มระบาดในปากีสถาน บังกลาเทศและมีรายงานที่เนปาล รวมถึง อเมริกา ประเทศในยุโรป เช่น อังกฤษ เยอรมัน เอเชีย เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และบาเรนห์ก็มีรายงานผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้แล้วเช่นกัน

จับตากต.เพิ่มประเทศชะลอ COE เข้าไทย

"ศูนย์ปฏิบัติการสาธารณสุขในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือEOCของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)มีการหารือเข้มและมีความเป็นห่วงในเรื่องของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ทั้งที่เกิดในต่างประเทศและที่จะพัฒนากลายพันธุ์เกิดขึ้นในประเทศไทย จึงได้กำชับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรคเฝ้าระวังเข้มขึ้นร่วมกับโรงเรียนแพทย์และหน่วยงานต่างๆทุกหน่วยงาน เฝ้าระวังสูงสุดเกี่ยวกับไวรัสกลายพันธุ์ และประเทศไทยจะมีการประกาศชะลอการออกใบอนุญาต COE สำหรับชาวต่างชาติจากเพิ่มเติมประเทศปากีสถาน บังคลาเทศ และเนปาลที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยหรือไม่อย่างไร ขอให้ติดตามการประกาศของกระทรวงการต่างประเทศ(กต.)" พญ.อภิสมัยกล่าว

10 วันสกัดลักลอบเข้าเมืองกว่าพันราย

พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า สิ่งที่ห่วงคือการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายทางช่องทางธรรมชาติ โดยในรอบ 14 ชั่วโมงมีการสกัดกั้นได้ 104 คนมาจากประเทศลาว เมียนมา กัมพูชา และมาเลเซีย ขณะที่ตั้งแต่ 1-10 พ.ค.2564 มีการจับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองได้ 1,120 คน ศบค.จึงเน้นย้ำฝ่ายปกครอวในการป้องกันการลักลอบเข้าประเทศเข้มเป็นพิเศษ อีกทั้งฝากถึงคนไทยที่จะกลับบ้านขอให้เข้าสู่ระบบที่ถูกต้อง มีมาตรฐานดูแลให้ปลอดภัยและไม่เป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ และขอให้ประชาชน ผู้นำชุมชนช่วยเป็นหูเป็นตา หากพบเห็นการขนส่งแรงงานต่างด้าวขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที