ฉีดวัคซีน ‘Sinovac’ แล้วเป็น ‘อัมพาต-อัมพฤกษ์ชั่วคราว’ เคลียร์ชัดตกลงเป็นอย่างไร?

ฉีดวัคซีน ‘Sinovac’ แล้วเป็น ‘อัมพาต-อัมพฤกษ์ชั่วคราว’ เคลียร์ชัดตกลงเป็นอย่างไร?

เช็คอาการ "อัมพาต-อัมพฤกษ์ชั่วคราว" ที่เกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีน "Sinovac" พร้อมหาคำตอบว่าเราควรฉีดวัคซีน "โควิด" จากบริษัทนี้ต่อหรือไม่?

ผ่านมาแล้ว 1 ปีกับการต่อสู้ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 หนทางของการจัดการเชื้อไวรัสชนิดนี้ คือการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และหลายๆ ประเทศก็เริ่มฉีดให้กับประชากรแล้ว รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่ไม่นานมานี้กลับเกิดกระแสข่าวที่ทำให้คนไทยหวั่นใจกับการฉีดวัคซีน เมื่อบางคนเกิดอาการ "อัมพาต" หลังฉีดวัคซีน "Sinovac" 

จากรายงานพบอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรง เกิด "เกิดอัมพฤกษ์ชั่วคราว" ที่โรงพยาบาลระยอง 6 ราย และโรงพยาบาลสมเด็จ ศรีราชา .ชลบุรี อีก 1 ราย และกรณีบุคลากร รพ.ลำปาง เกิดอาการผิดปกติหลังฉีดวัคซีนซิโนแวค ยืนยันอีก 10 ราย 

ถึงแม้ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข จะออกมาแถลงแล้วว่าเคสในจังหวัดระยอง และลำปางไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน แต่ข่าวที่ออกไปก็สร้างคำถามแก่ประชาชนเช่นกัน 

  • เปิดสถิติการฉีดวัคซีน "โควิด" ทั่วโลก

สถิติข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก (ณ 19 เม.ย.64) ระบุว่ามีการฉีดไปแล้ว 894 ล้านโดส ใน 173 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 16.6 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณารายประเทศพบว่า "อิสราเอล" ได้ฉีดวัคซีนครอบคุลมเกินครึ่งของประชากรแล้ว ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 209 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 70 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว

สำหรับประเทศไทย ล่าสุดวันนี้ (23 เม.) มีผู้รับวัคซีนสะสมจำนวน 964,825 ราย คิดเป็นสัดส่วนต่อประชากร 1.457% โดยวัคซีนต้านโควิด-19 ที่กระจายอยู่ในไทย ปัจจุบัน มี 2 ยี่ห้อ แบ่งเป็น วัคซีนของซิโนแวค และ วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า

ถึงแม้การฉีดวัคซีนจะดูเหมือนเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการรับมือกับโรคระบาด แต่ความน่ากังวลที่เกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนก็มีไม่น้อยกว่ากัน เนื่องจากบางรายอาจเกิด "อาการไม่พึงประสงค์" ซึ่งบางรายมีอาการรุนแรง เช่น อัมพาต, อัมพฤกษ์ชั่วคราว จนต้องแอดมิดเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 

  • แพ้วัคซีน หรือ อาการไม่พึงประสงค์ สรุปคืออะไรกันแน่? 

ข้อมูลจาก .ดร.นพ.วิปร วิประกษิต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวเวชศาสตร์ระดับโมเลกุล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ .มหิดล เคยให้ข้อมูลว่า หลังจากฉีควัคซีนเข้าร่างกาย จะมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นตามมาได้ 2 แบบ คือ 

อาการไม่พึงประสงค์ 

หลังฉีดวัคซีนโควิด มักจะไม่มีความรุนแรง สามารถเกิดขึ้นได้ภายหลังฉีดวัคซีนทุกชนิด แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

อาการที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ : เช่น ปวดบวมแดง เจ็บในตำแหน่งที่ฉีด โดยวิธีดูแลตัวเองหลังการฉีดวัคซีนคือ สามารถใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบช่วยบรรเทาอาการได้

- อาการแทรกซ้อนไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย : ได้แก่ มีไข้ต่ำๆ เหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะดีขึ้นภายใน 1-2 วัน

แพ้วัคซีน 

อาจไม่ได้แพ้ที่ตัวไวรัสโดยตรง แต่อาจเป็นการแพ้ส่วนประกอบอื่นๆ ของวัคซีน

อาการแพ้ที่รุนแรง คือ อาจมีอาการหลอดลมตีบทำให้หายใจลำบาก, ผื่นขึ้นทั้งตัว, ไข้ขึ้นสูง, ปวดศีรษะรุนแรง, ปากเบี้ยว, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, เกล็ดเลือดต่ำ, มีจุดเลือดออกตามร่างกาย, อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง, ชัก, หมดสติ ซึ่งต้องรีบพบแพทย์ทันที

  • วัคซีน "Sinovac" กับอาการ "อัมพาต" เป็นอย่างไร 

จากกรณีการฉีดวัคซีนโควิด Sinovac แล้วประชาชนบางคนเกิดอาการอัมพาตนั้น นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้อธิบายจากอาการที่เกิดขึ้น และให้ความเข้าใจต่ออาการดังนี้ 

161916934668

  

  • อาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความผิดปกติทางระบบประสาทจริงหรือไม่ 

คำตอบ จริง เพราะมีอาการชา อ่อนแรง ปากเบี้ยว 

  • อาการดังกล่าวเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง หรือโรคอัมพาตหรือไม่ 

คำตอบ จากอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย มีทั้งอาการที่คล้ายกับโรคหลอดเลือดสมอง และบางรายไม่คล้ายกัน ดังนั้นก็อาจจะบอกว่าไม่เหมือนโรคหลอดเลือดสมอง 

  • อาการที่เกิดขึ้นเรียกว่าโรคอะไร 

คำตอบ น่าจะเรียกว่าความผิดปกติทางระบบประสาทชั่วคราว

  • ควรฉีดวัคซีน Sinovac ต่อหรือไม่? 

คำตอบ ต้องฉีดต่อสำหรับผู้ที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนโควิดมาก่อน สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติ ยังไม่ควรฉีดเข็มที่ 2 

  • ถ้ามีประชาชนฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการแบบนี้ จะให้การรักษาแบบใด

คำตอบ แพทย์ควรประเมินอาการผิดปกติทันที และให้การรักษาตามอาการ 

  • ถ้าผู้รับการฉีดวัคซีนทานยารักษาโรคหลอดเลือดสมอง ควรฉีดวัคซีน Sinovac หรือไม่ 

คำตอบ ควรฉีดอย่างยิ่ง และการทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือดไม่ได้เป็นข้อห้ามของการฉีดวัคซีน 

------------------------

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกระทรวงสาธารณสุข