แม้ว่างานของทุกคนจะได้ตีพิมพ์ในปี 1953 แต่ก็ทิ้งช่วงไปจนถึงปี 1962 กว่าจะได้รับรางวัลโนเบล ซึ่งแฟรงคลินก็ชิงลาโลกเสียชีวิตไปก่อนในปี 1958 เลยกลายเป็นว่า คนทำวิจัยตัวจริง (แม้ว่าจะแปลผลไม่ได้เป๊ะเหมือนวอตสันกับคริกก็ตาม) ชวดรางวัลไปซะยังงั้น
เลยมีการตั้งข้อสังเกตว่า การเสียชีวิตของแฟรงคลินไปก่อน ทำให้คณะกรรมการไม่ต้องกลุ้มใจว่าจะตัดชื่อใครออกดี แต่ก็ทำให้เกิดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์เข้าข่ายว่า คณะกรรมการโนเบลไม่ค่อยจะเห็นนักวิทยาศาสตร์หญิง “อยู่ในสายตา” สักเท่าไหร่
ดังจะเห็นได้จากนับตั้งแต่มีการมอบรางวัลนี้ในปี 1901 จนถึงปีก่อน มีผู้หญิงได้รับรางวัลรวม 48 คน จากทั้งหมด 870 คน และ 23 องค์กร (รวมในทุกสาขา) แต่มองอีกแง่หนึ่งวงการวิทยาศาสตร์ก็ถูกผูกขาดโดยผู้ชายมาอย่างช้านานอยู่แล้ว
ตัวอย่างกรณีสุดท้ายที่ถกเถียงกันอย่างกว้างคือ กรณีการค้นพบอินซูลิน (insulin) เพราะชื่อคนที่ได้รับรางวัลคือ เฟรเดริก แบนทิง (Frederick Banting) และจอห์น แมกลีออด (John Macleod) โดยที่แบนทิงเป็นคนที่อนุมัติเงินสนับสนุนการวิจัยและมีส่วนผลักดันโครงการ แต่ไม่ได้มีส่วนลงมือวิจัยเองจริงๆ
ขณะที่นักวิจัยหลัก (ตัวจริง) ในทีมของแมกลีออกคือ ชาร์ลส์ เบสต์ (Charles Best) กลับตกหล่นไม่มีชื่อไปเสียอย่างนั้น ยังไม่นับคือ เบอร์แทรม คอลลิพ (Bertram Collip) ที่เข้ามาทีหลัง และมีส่วนร่วมในการเตรียมอินซูลินบริสุทธิ์ เพื่อใช้ทดสอบในคน ซึ่งก็พลาดรางวัลไปเช่นกัน
ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับการแข่งขันที่ต้องใช้กรรมการ คล้ายๆ กับเวลาเราดูกีฬานั่นแหละครับ ที่บางครั้งผลการตัดสินก็ขัดตาคนดูไปบ้าง แต่โดยรวมๆ คณะกรรมการ “โนเบลวิชาการ” ก็ถือว่าทำหน้าที่ได้ดีทีเดียว ไม่ค่อยขัดสายตาผู้ชม
ทั้งนี้คงไม่รวม “โนเบลสันติภาพ” ที่มีความเป็นการเมืองสูงมากและทำเอาคนดูถอนหายใจด้วยความผิดหวังอยู่บ่อยครั้ง !
เช็คที่นี่ กลับบ้าน ‘สงกรานต์’ จังหวัดไหนต้อง ‘กักตัวโควิด’ บ้าง?
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 789 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย
อัพเดท! ‘สงกรานต์ 2564’ ส่องพิกัดจังหวัดไหน 'งด' จัดงานบ้าง?
'เราชนะ' รีบตรวจสอบสถานะคัดกรอง ยืนยันตัวตน เช็ควันรับเงินทีเดียว 7,000 บาท
เปิดเงินเดือน ‘หน้าห้อง’ ศักดิ์สยาม เที่ยวคลับหลักแสน
10-12 เม.ย. 'กรมอุตุนิยมวิทยา' เตือนทั่วประเทศรับมือ 'พายุ' ฝนฟ้าคะนอง