5 กลุ่มต้องมี 'วัคซีนพาสปอร์ต' ก่อนไปต่างประเทศ

5 กลุ่มต้องมี 'วัคซีนพาสปอร์ต' ก่อนไปต่างประเทศ

“วัคซีนพาสปอร์ต”มีการพูดถึงมาก หลังที่ประเทศต่างๆมีการฉีด “วัคซีนโควิด19”ไปแล้วจำนวนมาก แต่แท้จริงเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ผ่านมามีอย่างน้อย 5 กลุ่มโรค ที่กำหนดให้ต้องมี “วัคซีนพาสปอร์ต”ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ

วัคซีนพาสปอร์ตโควิด19  
          “วัคซีนพาสปอร์ต”ในระดับโลกนั้น  นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกหรือฮู แนะนำว่ายังไม่ควรกำหนดในขณะนี้ ควรมีเอกสารรับรองวัคซีนก่อน เพราะหลักฐานข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่า คนที่ฉีดวัคซีนแล้วจะไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น หรือฉีดไปแล้วจะอยู่ได้นานแค่ไหน ฉีดไปแล้วต้องฉีดซ้ำอีกกี่เข็ม ส่วนในอนาคตการนำ “วัคซีนพาสปอร์ต”มาใช้ หากมีการให้ “วัคซีนโควิด19”จำนวนมากและเห็นตรงกันถึงประสิทธิภาพวัคซีน ก็เป็นแนวโน้มที่ดีและน่าสนใจ
       และเมื่อวันที่ 5 มี.ค.2564  นายฮันส์ คลูจ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำภูมิภาคยุโรป ไม่เห็นด้วยกับการสนับสนุนให้ออกพาสปอร์ตวัคซีนบันทึกข้อมูลโควิด-19 ซึ่งหลายประเทศของยุโรปกำลังพิจารณาอยู่ โดยกล่าวว่า “WHO ไม่แนะนำให้ออกพาสปอร์ตดังกล่าว แต่คิดว่าถ้าถึงเวลา ก็คงเลี่ยงไม่ได้”

          ในส่วนของประเทศไทย มีความชัดเจนภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) เมื่อวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยคณะกรรมการฯมีมติในเรื่อง “วัคซีนพาสปอร์ตโควิด19”  ซึ่งจะออกให้คนกลุ่มแรกคือ ผู้ที่ฉีด “วัคซีนซิโนแวค”เข็มแรกเมื่อวันที่ 28 ก.พ.2564 และเข็มที่ 2 ในวันที่ 21 มี.ค.2564 ซึ่งเว้นห่าง 3 สัปดาห์ระหว่างเข็ม  เพื่อใช้ในกรณีบุคคลที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศ ที่เรียกว่า “สมุดเล่มเหลือง”
   
     อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะออก “วัคซีนพาสปอร์ต”ให้แล้ว แต่ประเทศปลายทางที่จะเดินทางไปนั้นจะยอมรับหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องของแต่ละประเทศจะพิจารณา 
161554625577
“บับเบิ้ลวัคซีนพาสปอร์ต”ไทย-จีน
            
     
แต่สำหรับกรณีประเทศไทยและประเทศจีนนั้น นายอนุทิน  บอกว่า  เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2564 นายหยาง ซิน อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ได้เข้าพบที่กระทรวงสาธารณสุข และมีการหารือในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับ “วัคซีนโควิด19โดยมีประเด็นเกี่ยวข้องกับ “บับเบิ้ลวัคซีนพาสปอร์ต”ด้วย
         ขอให้ไทยจีนให้การยอมรับ “วัคซีนพาสสปอร์ต”ซึ่งกันและกัน ทั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้ผ่านการเข้าเมืองอย่างไม่ยุ่งยาก ในลักษณะบับเบิ้ล จะเป็นการช่วยให้การกลับคืนภาวะปกติได้เร็วยิ่งขึ้น เศรษฐกิจเริ่มมีการหมุนเวียน มีการสัญจรไปมาของคนมากขึ้น ต้องรีบทำก่อนที่คนอื่นจะทำ เพื่อให้คนท่องเที่ยวและประกอบธุรกิจเดินหน้า หากชาติอื่นๆ ประสงค์อยากจะทำเช่นนี้ก็ได้หมด เรายินดี
ต้องมาหารือกัน


เข้าไทย”ลดวันกักตัว”ยังไม่ใช้ “วัคซีนพาสปอร์ตโควิด19”

          ส่วนผู้ที่เดินทางเข้าไทยนั้น ไม่ได้ระบุว่าจะต้องมี “วัคซีนพาสปอร์ต” แต่จะมีการลดวันกักตัวในกรณีที่มีใบรับรองการฉีด “วัคซีนโควิด19” ครบโดสแล้ว เว้นผู้ที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกาใต้ ยังคงให้กักตัว 14 วันเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลว่าวัคซีนป้องกันไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ในแอฟริกาใต้  โดยแบ่งเป็น 3 กรณี

1.ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย  แต่มีเอกสารรับรองการฉีด “วัคซีนโควิด19ครบถ้วน อย่างน้อย 14 วัน แต่ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนเดินทาง และมีใบตรวจยืนยันปลอดโควิด19 ให้ลดวันกักตัวเหลือ  7 วัน ฃ
2. ผู้ที่มีสัญชาติไทย มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนโควิด19ครบถ้วน อย่างน้อย 14 วันและไม่เกิน 3 เดือน ก่อนเดินทาง  แต่ไม่มีเอกสารรับรองการปลอดโควิด19 ให้ลดวันกักตัวเหลือ  7 วัน
3.ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย ไม่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนโควิด19ครบถ้วน แต่มีเอกสารรับรองการปลอดโควิด19 ให้ลดวันกักตัวเหลือ 10 วัน
          คาดว่าจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2564 โดยจะเข้าสู่การพิจารณาของศบค.ชุดใหญ่ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในวันที่ 19 มี.ค.นี้อีกครั้ง
161554627530

“วัคซีนพาสปอร์ต”5 กลุ่มโรค
        
อย่างไรก็ตาม “สมุดเล่มเหลือง “หรือที่เรียกในยุคนี้ว่า “วัคซีนพาสปอร์ต”นั้น ไม่ใช่เรื่อง ใหม่ โดยมีการกำหนดบางโรคที่ผู้ต้องเดินทางไปในบางประเทศจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันในโรคที่กำหนดก่อน 
       คลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเพื่อการเดินทางไปต่างประเทศ และออกหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อระหว่างประเทศ(สมุดเล่มเหลือง)  รวมถึง ให้คำแนะนำก่อน ระหส่าง และหลังการเดินทางและประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
         มีวัคซีนที่บริการผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1.วัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง  ประเทศที่ต้องฉีดก่อนเดินไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ มี 42 ประเทศ แยกเป็น ทวีปอเมริกากลางและใต้ 13 ประเทศ คือ โบลิเวีย เอกวาดอร์ ปานามา เวเนซุเอลา บราซิล เฟรนซ์เกียนา เปรู โคลัมเบีย กายานา ซูรินาเม ตรินีแดดและโตเบโก ปรากวัย และอาร์เจนตินา
         ทวีปแอปฟริกา 29 ประเทศ คือ  แองโกลา บุรุนดี ชาด อิเควทอเรียลกินี แกมเบีย กินี-บิสเซา มาลี ไนจีเรีย เซเนกัล เซาท์ซูดาน เบนิน แคมเมอรูน คองโก เอธิโอเปีย กานา เคนยา มอริเตเนีย เซียร์ราลีโอน โตโก บูร์กินาฟาโซ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง โกตดิวัวร์ กาบอง กินี ไลบีเรีย ไนเจอร์ ยูกันดา ซูดาน และคองโก  โดยต้องฉีดก่อนการเดินทางอย่างน้อย 10 วัน และร่างกายจะมีภูมิต้านทานตลอดชีวิต 
2.วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น  ผู้ที่ต้องฉีดคือผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาในประเทศซาอุดิอาระเบีย และในแอฟริกา ตั้งแต่ประเทศแกมเบีย บูร์กินาฟาโซ เซเนกัล กินี ไล่ไปทางตะวันออกจนถึงเอธิโอเปีย หรือเข้าไปในพื้นที่ที่กำลังมีการระบาด โดยต้องฉีดก่อนการเดินทางอย่างน้อย 10 วัน และร่างกายจะมีภูมิต้านทาน 3 ปี
3.วัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรค ผู้ที่ต้องฉีดคือผู้ที่ทำงานเดินเรือระหว่างประเทศ หรือไปในพื้นที่เสี่ยง หรือมีการระบาด โดยวัคซีนนี้เป็นชนิดกิน 2 ครั้ง ห่างกัน 14-42 วัน โดยผู้ที่ต้องการรับวัคซีนนี้ ต้องงดน้ำและอาหารมาก่อนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง จากนั้นงดน้ำและอาหารหลังรับวัคซีนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยหลังรับประทานครั้งที่ 1 จะมีภูมิต้านทาน 7 วัน และเมื่อครบมีภูมิต้านทานนาน 2 ปี
4.วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่  ผู้ที่ต้องฉีดคือผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาในประเทศซาอุดิอาระเบีย หรือประเทศที่กำลังมีการระบาดของโรคนี้ โดยจะต้องฉีดก่อนการเดินทางอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ร่างกายจะมีภูมิต้านทาน 1 ปี
5.วัคซีนอื่น ๆ  เช่น คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ไข้สุกใส ตับอักเสบ เอ ตับอักเสบ บี ไข้ไทฟอยด์ เป็นต้น

การขอ “วัคซีนพาสปอร์ต”
    
กรณี “วัคซีนพาสปอร์ตโควิด19” หลังได้รับการฉีดครบทั้ง 2 เข็มแล้ว สถานพยาบาลที่ให้บริการฉีด จะออกเอกสารรับรองการฉีด “วัคซีนโควิด19”สำหรับใช้ภายในประเทศ หากต้องการ “วัคซีนพาสปอร์ต”จะต้องนำเอกสารรับรองการฉีด มาขอ “สมุดเล่มเหลือง”ที่รับรองการฉีดวัคซีนได้ที่สถานพยาบาลที่ทำการฉีด โดยมีค่าธรรมเนียมกรณีเป็นเล่มกระดาษ
50 บาท และกรณีเป็นเล่มดิจิทัล 50 บาท เบื้องต้นจะมีอายุ 1 ปี