‘กัญชาทางการแพทย์’ โอกาส & ความท้าทายของไทย

‘กัญชาทางการแพทย์’ โอกาส & ความท้าทายของไทย

จากรายงาน The Global Cannabis Report ของ Prohibition Partners คาดว่า มูลค่าตลาดกัญชาทั่วโลกจะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 103.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2567

ตลาดกัญชาเพื่อการแพทย์มีสัดส่วนราวร้อยละ 60 ของมูลค่าตลาดกัญชาทั้งหมด และอีกร้อยละ 40 เป็นตลาดกัญชาเพื่อการสันทนาการ

ขณะที่ประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกร ระบุว่า ปัจจุบัน ตลาดกัญชาถูกกฎหมายของไทยยังมีมูลค่าที่ไม่ได้สูงมากนักและส่วนใหญ่เป็นเพียงส่วนผสมอยู่ในตำรับยาไทย เพราะต่อให้มีการปลดล็อคใช้กัญชาอย่างถูกกฎหมาย ตั้งแต่ออกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) .. 2562 นำไปสู่การนิรโทษกรรมการ ครอบครองกัญชาตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข จนถึงการนำร่องเปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์ใน โรงพยาบาล คลินิกบริการกัญชาการแพทย์แผนปัจจุบัน และการแพทย์แผนไทย เป็นจำนวนมากก็ตาม แต่ยังถูกจำกัดในหลายเรื่อง และเป็นการนำมาใช้เพื่อทางการแพทย์กับผู้ป่วยโดยต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานภาครัฐ

ปัจจุบันจึงส่งผลให้มีผู้ครอบครองกัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์อีกจำนวนมากที่ไม่ได้จดแจ้งการขอครอบครอง หรือไม่สามารถเข้าถึงกัญชาสำหรับการรักษาโรคจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขได้

จากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใน โครงการศึกษาสถานการณ์การใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย โดย.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (..) และคณะ ร่วมกับ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ(มสช.) โดยการสนับสนุนของ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พบว่า ภาพรวมของผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ของไทยนั้น เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย ส่วนใหญ่อยู่ใน กลุ่มอายุผู้ใหญ่ตอนปลาย (45-65 ปี) มากถึง ร้อยละ 61 และ 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเจ้าของกิจการรองลงมาคือรับราชการโดยมีระยะเวลาในการใช้เฉลี่ย 10 เดือน

สำหรับกลุ่มอาการป่วยที่มีการใช้กัญชาทางการแพทย์มากที่สุด คือกลุ่มโรคมะเร็ง รองลงมา คือโรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก อาทิ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดประจำเดือน ข้อเข่า ข้อสะโพกเสื่อม ออฟฟิศซินโดรมไมเกรน ไปจนถึง กระดูกทับเส้นประสาท นอกจากนี้ ยังมีการใช้กัญชาใน กลุ่มโรคทางจิตประสาท และกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพิ่มเติมอีกด้วย

161149294833

ในอดีตการใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โดยตำรับยา ดั้งเดิมที่มีกัญชาเป็นส่วนผสมมีกว่า60 ตำรับ จนเมื่อวันที่ 11 เมษายน  2562 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสม โดยคำแนะนำของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก และสภาการแพทย์แผนไทย ได้เป็นตำรับยาอนุญาตภายใต้โครงการศึกษาวิจัยที่ได้รับ อนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั้งสิ้น 16 ตำรับ ส่วนใหญ่ใช้รักษาเรื่องลม การนอนหลับ แก้ปวด รับประทานอาหารได้ เน้นการส่งเสริมสุขภาพ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

"กัญชาการแพทย์เสรีทำให้มีคลินิกกัญชาการแพทย์ให้บริการทั้งสิ้น 255 แห่ง ทั่วประเทศ แต่ขณะเดียวกันในจำนวนนี้ มีคลินิกกัญชาที่ให้บริการแต่ไม่มีผู้ป่วยเข้ามารับยาทั้งใน รูปแบบยากัญชาแบบแพทย์แผนปัจจุบัน หรือกัญชาแบบแพทย์แผนไทยมากถึง 134 แห่ง

ถึงแม้ว่ากัญชาจะมีประโยชน์ทางการแพทย์มากมาย แต่การเสพกัญชาก็ทำให้เกิดอันตรายหลายอย่าง โดยเฉพาะความเสี่ยงในการติดสารเสพติดชนิดอื่น และสัมพันธ์กับการเกิดโรคทางจิตเวชได้หลายชนิด ผลสำรวจครัวเรือนระดับชาติเพื่อประมาณการจำนวนผู้ใช้สารเสพติดในปี 2562 พบว่า มีผู้ ใช้สารเสพติดสะสมมีจำนวน 3,749,618 คนโดยสารเสพติดที่เคยใช้สูงสุด 5 ลำดับแรก คือ กัญชา ยาบ้า พืชกระท่อม ไอซ์ และน้ำต้มกระท่อม

ภาพสะท้อนเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยในช่วงปีแรกของการ ประกาศใช้กัญชาทางการแพทย์แบบถูกกฎหมาย จากโครงการศึกษาสถานการณ์การใช้กัญชาทาง การแพทย์ในประเทศไทยนั้น จะเห็นได้ว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็ยังได้รับผลิตภัณฑ์กัญชาจากแหล่งนอกระบบ สาธารณสุข และใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยหลายชนิดที่อยู่นอกเหนือข้อแนะนำของ กระทรวงสาธารณสุข หรือไม่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนประสิทธิผล นอกจากนี้ผู้ใช้ส่วนใหญ่กลับมองเห็นเฉพาะด้านบวกของกัญชา และผลของการใช้กัญชา เพื่อรักษาโรค เนื่องจากประชาชนจำนวนมากใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคอยู่แล้ว

ดังนั้น การช่วยให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ การเพิ่มการ เข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ในระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะจากคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ทั้งแผนไทยและแผนปัจจุบัน ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข และการทบทวนข้อบ่งชี้ของ การสั่งใช้ยากัญชาให้ทันสมัยตามหลักฐานวิชาการโดยคำนึงถึงความจำเป็นของผู้ป่วย จึงเป็นเรื่องที่ จำเป็นและเร่งด่วน รวมทั้งยังผูกโยงไปถึงความท้าทายทางนโยบายอันต่อเนื่องของประเทศไทย ในเรื่องกัญชา ทางการแพทย์อีกด้วย