"5อันดับแบรนด์" พบในขยะพลาสติกมากที่สุด

"5อันดับแบรนด์" พบในขยะพลาสติกมากที่สุด

ยุคนิวนอมัล ขยะจากบริการส่งอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จาก 5,500 ตันต่อวัน เป็น 6,300 ตันต่อวัน ทั้งนี้ ยอดคำสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในแอพพลิชันหนึ่งในบางหมวดหมู่เพิ่มขึ้นถึง 12 เท่า

เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ในสถานการณ์ปกติขยะที่นำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลมีเพียงร้อยละ 25 เท่าจากขยะทั้งหมดทั่วประเทศ กว่าปีละ 2 ล้านตัน ดังนั้น อาจจินตนาการถึงมลพิษพลาสติกที่เกิดขึ้นตอนนี้ และในอนาคตเพราะพฤติกรรมการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งจะกลายเป็น New Normal ของคนไทย

กรีนพีช ประเทศไทย ได้สำรวจแบรนด์สินค้าจากขยะพลาสติก ปี 2563 โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่บริเวณ ดอยสุเทพ.เชียงใหม่ และหาดวอนนภา .ชลบุรี พบว่า แบรนด์ในประเทศไทย 5 อันดับแรกที่พบจำนวนขยะพลาสติกมากที่สุดได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มบริษัทดัชมิลล์ โอสถสภา กลุ่มธุรกิจTCP และแลคตาซอย

160700468324

พิชามญชุ์ รักรอดหัวหน้าโครงการรณรงค์ยุติมลพิษ พลาสติก กรีนพีช ประเทศไทย กล่าวว่าผลการตรวจสอบแบรนด์สินค้าจากขยะพลาสติก หรือ Brand Audit เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ร่วมกันของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในนาม Break Free From Plastic ที่เกิดขึ้นใน 55 ประเทศทั่วโลก โดยมีอาสาสมัครนำขยะพลาสติกที่เก็บได้จาก 55 ประเทศมาตรวจสอบแบรนด์สินค้าและประเภทพลาสติก พบว่า ผู้ผลิตแบรนด์ 3 อันดับแรกที่พบมากที่สุดคือโคคา-โคล่า เป็บซี่โค และเนสท์เล่

ส่วนของประเทศไทยได้มีการตรวจสอบแบรนด์จากพลาสติก ปี 2563 ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 3 ที่ได้จัดขึ้น โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมกว่า 70 คน เก็บรวบรวมพลาสติกใน 2 พื้นที่ คือ ดอยสุเทพ .เชียงใหม่ และหาดวอนนภา .ชลบุรี ในเดือนตุลาคม 2563 พบว่ามีพลาสติกทั้งหมด 13,001 ชิ้น ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่พบมากที่สุด คือ บรรจุภัณฑ์อาหาร 8,489 ชิ้นผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน 3,273 ชิ้น ในขณะที่ประเภทพลาสติกที่พบตกค้างในสิ่งแวดล้อมมากที่สุด คือ พลาสติกอื่นๆ3,763 ชิ้น โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง(HDPE) 2,740 ชิ้น และโพลีโพรไพลีน (PP) 1,851 ชิ้น ตามลำดับพิชามญชุ์กล่าว

พิชามญชุ์ ล่าวต่อว่าผลการตรวจสอบแบรนด์สินค้า โดยจำแนกตามลักษณะการใช้งาน พบ ถุงหูหิ้ว 2,647 ชิ้นถุงขนมกรุบกรอบ 2,099 ชิ้น ขวดพลาสติก 1,137 ชิ้น หลอดน้ำดื่ม 1,063 ชิ้น ฉลาก 895 ชิ้น ฝาขวดเครื่องดื่ม 764 ชิ้นแก้ว/ถ้วยโยเกิร์ต 692 ชิ้น เศษพลาสติก 691 ชิ้น กล่องเครื่องดื่ม 670 ชิ้น และพลาสติกใต้ฝาขวด 588 ชิ้น จากจำนวนขยะพลาสติก และได้มีการจัดตรวจสอบตามแบรนด์ พบว่า 5 แบรนด์อันดับแรก ที่พบจำนวนขยะพลาสติกมากที่สุดได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มบริษัทดัชมิลล์ โอสถสภา กลุ่มธุรกิจ TCP และแลคตาซอย ซึ่งเข้าใจว่าแบรนด์เหล่านี้มีสินค้าจำนวนมาก และหลากหลาย มีผู้บริโภคใช้จำนวนมาก แต่บริษัทเหล่านี้ก็ควรจะคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย

160700470723

ขวดแก้วและขวดอลูมิเนียม เป็นขยะอีกประเภทที่ได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะขยะเหล่านี้กลับตกค้างในสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมสูญเสียไป

 ธารา บัวคำศรีผู้อำนวยการ กรีนพีซ ประเทศไทยกล่าวว่า จากผลการสำรวจดังกล่าว กรีนพีช ได้จัดทำข้อเสนอแนะความรับผิดชอบของผู้ผลิต โดยการรีไซเคิลอาจไม่เพียงพอ จะต้องมีการลดการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกขนานใหญ่ อยากเสนอให้บริษัท เปิดเผยข้อมูล พลาสติกให้สาธารณะชนเข้าถึงได้ ลดพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ลงทุนกับระบบนำกลับมาใช้ซ้ำและระบบกระจายสินค้าแบบใหม่

160700472982

รวมถึงสามารถตรวจสอบและรายงานปริมาณชนิดของพลาติกที่ใช้ นำมาใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ และการลดการใช้และการกำจัดขยะพลาสติก โดยหน่วยงานที่อิสระ จัดทำนโยบายลดพลาสติกและแผนการเปลี่ยนผ่าน สร้างความร่วมมือกับผู้ค้ารายใหญ่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างความตระหนักของลูกค้า ประชาชน

ปีที่ผ่านมาได้มีการคุยกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ พบว่ามีนโยบายเรื่องการลดขยะพลาสติก และมีความตื่นตัว แต่ไม่สามารถทำคนเดียวได้ ต้องขับเคลื่อนไปทั้งสังคม โดยในส่วนของภาคผู้ผลิตแล้ว ภาครัฐต้องต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งกรีนพีชได้เสนอโรดแมป การจัดการพลาสติกของประเทศไทย โดยต้องทบทวนแนวคิดและนิยามเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่อยู่บนพื้นฐาน การนำขยะไปเป็นพลังงาน รวมถึงจัดทำ กฎหมายจัดการและป้องกันมลพิษพลาสติก ( Break Free From Plastic Pollution Act) ให้เกิดขึ้นจริงธารา กล่าว

กฎหมายหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) เป็นกฎหมายที่ทุกประเทศทั่วโลกมีการผลักดันในเรื่องนี้ เพราะเป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิตไปยังช่วงต่างๆ ของวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ เป็นแนวทางให้ผู้ผลิตคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรตั้งแต่การออกแบบ กระจายสินค้า การรับคืน การเก็บรวบรวม การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการบำบัด

160700476055

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง”  ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่าขณะนี้ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงอาเซียน มีการจัดทำกฎหมาย EPR เรียบร้อยแล้ว ซึ่งประเทศไทยมีการผลักดันเรื่องนี้มาตลอด แต่ยังไม่มีกฎหมายมาใช้ เพราะไม่มีการเอาจริงเอาจังของรัฐบาล และกระทรวงที่เกี่ยวข้องในการผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง เนื่องจากการผลักดันกฎหมายนี้จะกระทบต่อผู้ผลิต ที่จะต้องเปลี่ยนสูตรในการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ลดการใช้พลาสติก

ดังนั้น สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำในการจัดการขยะพลาสติก หรือลดการใช้พลาสติกในประเทศ คือ การกำหนดมาตรการที่เข้มงวด มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายอย่างจริงจัง เนื่องจากรัฐบาลเน้นเรื่องระบบสมัครใจเป็นหลัก อย่างการแยกขยะ ก็ใช้เป็นความสมัครใจ แรงจูงใจของคนๆ นั้นเป็นหลัก ทำให้ไม่เกิดการแยกขยะอย่างจริงจัง

160700477927

ตอนนี้ที่มีการจัดทำกฎหมายใหม่ ก็เน้นกฎหมายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ควรจะมีการกำหนดกฎหมาย EPR เฉพาะ เพราะเรื่องของพลาสติกส่งผลกระทบกว่าขยะ เชื่อว่า หากรัฐบาลมีการออกกฎหมาย จะทำให้การแก้ปัญหาขยะพลาสติก ที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมดีขึ้น รวมถึงอยากให้มีการส่งเสริมความรู้เรื่องการแยกขยะให้แก่คนทุกกลุ่ม เช่น กระทรวงศึกษาธิการ หรือสถาบันการศึกษาจัดทำคู่มือ การคัดแยกขยะ ที่เข้าใจง่ายตั้งแต่เด็กอนุบาล เพื่อให้พวกเขาเรียนรู้และทำเป็นนิสัย เพราะการแยกขยะ เป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำไม่ได้ง่าย ดังนั้นทุกฝ่ายต้องปลูกฝังให้เป็นนิสัยอย่างแท้จริงเพ็ญโฉมกล่าว