ชี้เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข ส่งผลเด็กมาโรงเรียนเพิ่ม

ชี้เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข ส่งผลเด็กมาโรงเรียนเพิ่ม

สพฐ.- กสศ. เดินหน้าช่วยเด็กนักเรียนทุนเสมอภาคมากกว่า 9 แสนคนฝ่าวิกฤตโควิด-19 ป้องกันหลุดระบบการศึกษา พร้อมปรับกระบวนการทำงานลดภาระครู พบผลสัมฤทธิ์เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข ส่งผลเด็กมาโรงเรียนเพิ่ม มีน้ำหนัก ส่วนสูง และคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา  รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวภายหลังประชุมชี้แจงการดำเนินงานการขอรับเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ให้แก่เขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขต และครูโรงเรียนในสังกัด สพฐ.กว่า 27,000 แห่งทั่วประเทศ ผ่านระบบ Teleconference เมื่อวันที่ 27 ..2563 ที่ผ่านมา จัดโดย สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.)

ว่าที่ร้อยตรีธนุ  กล่าวว่า  ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านมา สพฐ. ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และได้รับความร่วมมือจากเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน คุณครูผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ จำนวนกว่า 4 แสนคน ระดมความร่วมมือช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ แม้ต้องดำเนินการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ตาม ทำให้ สพฐ.มีเครื่องมือการคัดกรองและฐานข้อมูลเพื่อช่วยเหลือนักเรียนยากจนได้จำนวนกว่า 1.8 ล้านคน รวมทั้งได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจาก กสศ.อีกคนละ3,000 บาท/คน/ปี จำนวน 968,139 คน ครอบคลุมโรงเรียน  27,871 โรงเรียน

ทั้งนี้ ในภาคเรียนที่ 1/2563 มีสถานศึกษาอีกจำนวนหนึ่ง ที่ดำเนินการรับรองข้อมูลนักเรียนเพื่อขอรับเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขไม่ทันตามกำหนดเวลา ส่งผลให้นักเรียนเสียสิทธิ์ ดังนั้นขอความร่วมมือเขตพื้นที่การศึกษาช่วยกำกับติดตามให้สถานศึกษาที่ดำเนินการรับรองข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วนในภาคเรียนนี้อีกครั้ง

รองเลขาธิการ สพฐ. กล่าวว่า ในช่วงเดือนที่ผ่านมา สพฐ.และ กสศ.พบว่าจุดที่จะต้องเร่งรัดให้สถานศึกษาดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขของ กสศ. คือ เรื่องการติดตามการบันทึกใบสำคัญรับเงิน (นร.06) กรณีที่นักเรียนรับเงินสดผ่านสถานศึกษา การใช้จ่ายเงินในส่วนของสถานที่คงเหลือ รวมไปถึงการบันทึกเงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนฯ คือ การบันทึกการมาเรียน และน้ำหนักส่วนสูง จึงขอความร่วมมือในการติดตามของเขตพื้นที่อีกครั้ง

ในภาคเรียนที่ 2/2563 สพฐ. และ กสศ. ได้ขยายผลพัฒนาและบูรณาการเชื่อมโยงฐานข้อมูลนักเรียนรายบุคคลระหว่างระบบ DMC ของ สพฐ. และ ระบบ CCT ของ กสศ. เพื่อตรวจสอบข้อมูลและการปรับปรุงข้อมูลนักเรียนให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบันและตรวจสอบได้ รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฏร์ กระทรวงมหาดไทยนอกจากนี้ยังบูรณาการการเยี่ยมบ้านซึ่งเป็นนโยบายของ สพฐ. ที่ให้ครูได้เยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคน 100%

โดยต่อจากนี้ไปครูทุกคนจะลงพื้นที่เยี่ยมบ้านก็สามารถทำงานทั้งระบบดูแลช่วยเหลือเด็กและระบบการคัดกรองนักเรียนยากจนได้พร้อมกันในครั้งเดียว เพื่อลดภาระการทำงานด้านข้อมูลของครู คืนเวลาครูสู่ห้องเรียนอย่างเต็มที่ โดยปรับปฏิทินการเยี่ยมบ้านเป็นช่วงเวลาเดียวกันและพัฒนาระบบสารสนเทศการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนำร่อง เพื่อขยายผลต่อในอนาคต  พัฒนากลไกเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขตพื้นที่เพื่อส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งการติดตามสถานศึกษาโดยใช้ แอพพลิเคชั่น CCT MONITOR ติดตามการตรวจสอบ

"ความร่วมมือกันระหว่างสพฐ.และกสศ.ในการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาศมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาก เห็นได้จากสถิติตัวเลขที่เพิ่มขึ้น ในปี 2561 คัดกรองนักเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 4 แสนกว่าราย และเพิ่มเป็น 9.8 แสนรายในปี 2563 นอกจากนี้ผลสัมฤทธิ์จากเงินอุดหนุนดังกล่าว ส่งผลให้นักเรียนมาเรียนเพิ่มขึ้น มีน้ำหนัก ส่วนสูงและคุณภาพชีวิตดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตามผลงานวิจัยของกสศ.เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนางานของสพฐ. อาทิ กระบวนการคัดกรอง กระบวนการตรวจสอบเด็กนักเรียน ระบบติดตามกำกับช่วยเหลือ การวางแผนการช่วยเหลือเด็ก เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยให้สพฐ.เข้าถึงนักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริงรองเลขาธิการ สพฐ.กล่าว

ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า กสศ. ได้ติดตามเฝ้าระวังผลกระทบจากสถานการณ์โควิท-19 ต่อครัวเรือนนักเรียนยากจนพิเศษหรือนักเรียนทุนเสมอภาคมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน เมษายน ที่ผ่านมา และได้มีการปรับปรุงรูปแบบการทำงาน และกระบวนการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง 

โดยกสศ. ได้ปรับแผนการดำเนินงานเพื่อสามารถจัดสรรค่าอาหารกลางวันฉุกเฉินให้แก่นักเรียนทุนเสมอภาคที่ได้รับผลกระทบจากการเลื่อนเปิดเทอมช่วงเดือน ..-.. ที่ผ่านมา และจากการวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดจากการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านของครูทั่วประเทศในช่วงเดือน ..- .. ที่ผ่านมาที่พบว่ารายได้เฉลี่ยต่อคนต่อวันของครัวเรือนนักเรียนทุนเสมอภาคลดลงเหลือเพียงวันละ 36 บาท และมีอัตราการว่างงานเฉลี่ยในครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ44 เป็นร้อยละ73

กสศ. จึงปรับรูปแบบการจัดสรรทุนเสมอภาคเป็นการจ่ายตรงเป็นเงินค่าครองชีพทางการศึกษาตรงไปยังครัวเรือนนักเรียนทุนเสมอภาค 2,000 บาท เพิ่มขึ้นจากอัตราปกติมากกว่าร้อยละ 30 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในยามวิกฤตนี้ และช่วยป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษาของนักเรียนทุนเสมอภาค โดยในปีการศึกษา2/2563 นี้ ทาง กสศ. จะจัดสรรทุนเสมอภาคในส่วนที่เหลืออีก 1,000 บาทตรงให้แก่ครอบครัวนักเรียนทุนเสมอภาคเช่นเดิม โดยส่งเสริมให้ผู้ปกครองเปิดบัญชี 0 บาทร่วมกับธนาคารที่ให้การสนับสนุน สพฐ. และ กสศ. 3 ธนาคารได้แก่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทุกสาขาทั่วประเทศ

 สำหรับสถานศึกษาที่รับรองข้อมูลนักเรียนไม่ทันตามกำหนดระยะเวลา สามารถดำเนินการได้ในช่วงเปิดเทอมภาคเรียนที่ 2/2563 เมื่อผ่านกระบวนการรับรองตามเวลาที่กำหนด จะได้รับเงินอุดหนุนทันในภาคเรียนที่ 2 อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามเชื่อว่าในเทอม 2 นี้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะยังส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนที่ด้อยโอกาส ทำให้เกิดสถานะความยากจนที่ต่ำกว่าเส้นความยากจน ดังนั้น กสศ.พร้อมดูแลเยียวยานักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าว และขอให้ครูรีบส่งข้อมูลเข้ามาขอรับเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขได้ภายในเทอม 2 นี้รองผู้จัดการกสศ. กล่าว   

นายณพล เพ็ชราภรณ์ ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายราชการสัมพันธ์ 2 ธนาคารกรุงไทย  กล่าวว่าธนาคารกรุงไทยได้ร่วมสนับสนุนการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขของ กสศ. เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้เด็กด้อยโอกาสตามโครงการของกสศ. ด้วยการยกเว้นค่ารักษาบัญชีธนาคารให้กับเด็กที่เข้าร่วมโครงการนอกจากนี้ยังมีการเปิดบัญชี 0 บาท โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม พร้อมพัฒนาระบบของธนาคารที่สามารถเช็คSystem ID เพื่อดูสถานะการโอนเงินให้ถูกต้องตามบัญชีและตัวบุคคล ซึ่งระบบดังกล่าวช่วยอำนวยความสะดวกและช่วยลดขั้นตอนการรับเงินช่วยเหลือเด็ก ที่สำคัญช่วยลดภาระการทำงานของคุณครูและเด็กจะได้รับเงินอย่างรวดเร็วเพียงไม่กี่ชั่วโมงด้วย ในอนาคตหาก กสศ. มีโครงการอื่นๆที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน ทางธนาคารกรุงไทยยินดีเข้าร่วมโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกดังกล่าวต่อไป