"สุพัฒนพงษ์" แจง "รัฐบาล" ผลงานดี แต่ห่วง ความเห็นต่าง ฉุดดัชนีความเชื่อมั่น

"สุพัฒนพงษ์" แจง  "รัฐบาล" ผลงานดี แต่ห่วง ความเห็นต่าง ฉุดดัชนีความเชื่อมั่น

รองนายกฯ - ขุนคลัง พาเหรดแจงรัฐสภา ยัน รัฐบาลมีผลงาน กู้วิกฤตโควิด จนได้เสียงชื่นชม ยันรัฐบาลต้องทำหน้าที่ให้ดี ยอมรับความเห็นต่าง ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

      เมื่อเวลา 16.03 น. นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ชี้แจงต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภา สมัยวิสามัญ เพื่ออภิปรายทั่วไป โดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 วันที่สอง ชี้แจงว่า กรณีที่สมาชิกรัฐสภากล่าวหารัฐบาลทำงานไม่สำเร็จ ตนขอให้นึกถึงเดือนเมษายน ที่ประเทศไทยขาดแคลนหน้ากากอนามัย ต้องเว้นระยะห่าง การแสดงความรักของครอบครัวต้องห่าง แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปเพราะสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ อย่างไรก็ตามการระบาดยังเกิดขึ้นและต้องควบคุม สำหรับประเทศไทยนั้นประสบความสำเร็จ ด้านการฟื้นฟู แก้ไข เยียวยา  ทั้งนี้มีดัชนีชี้วัดที่สะท้อนความสำเร็จ เช่น ราคาสินค้าเกษตร, การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออก  แต่ปัจจุบันพบดัชนีความไม่มั่นใจของผู้บริโภค ช่วงเดือนกันยายน และเดือนตุลาคม หลังจากมีความเห็นต่าง  ทั้งนี้รัฐบาลยังทำงานและทำนหน้าที่ดีที่สุด  
       นายสุพัฒนพงษ์ ชี้แจงโดยยอมรับว่ามีประเทศภายนอกจับตาตามการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา แต่เป็นการจับตาด้วยความชื่นชม เช่น  ไอเอ็มเอฟ  ประกาศว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ได้รับการปรับอัตราการฟื้นฟูได้ดีกว่าประเทศอื่น  แม้จะติดลบระดับ 7 แต่ไม่ใช่ระดับ10 หรือเป็นประเทศที่แย่ที่สุดในอาเซียน ขณะที่ปัญหาที่รัฐบาลจับตามองอย่างใกล้ชิด คือ ภาระหนี้ ข้อมูลล่าสุด จากความร่วมมือของรัฐบาลและผู้ใหญ่ทุกๆ คน อาทิ สภาหอการค้า, สภาธุรกิจ , สภา​อุตสาหกรรม จากการรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  เปิดเผยพบว่ากลุ่มลูกค้าขนาดเล็กที่จะล้มละลาย ไม่อยู่รอด 94% กลับมาทำธุรกิจปกติ และแก้ปัญหาเพื่อเดินหน้าธุรกิจได้ มีเพียง 6%  ที่รอการแก้ไขปัญหา หรือหาตัวไม่เจอ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ ติดต่อและเข้าสู่ระบบ ไม่ทอดทิ้ง
       “เราเป็นประเทศที่คืบหน้าฟื้นฟู พัฒนา รวมถึงป้องกัน แก้ไข โควิด ได้อย่างดี ทยอยเปิดประเทศ ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย แต่น่าเสียดาย มีความเห็นต่างจากเยาวชน และผู้ชุมนุม ดัชนีบางตัวส่งสัญญาณอ่อนตัว แต่ไม่เป็นไร ภารกิจแก้ปัญหายังไม่จบ ต้องเดินหน้าต่อ รัฐบาล พยายามเต็มที่พร้อมอดทน รวมกับผู้ใหญ่พร้อมทุกภาคส่วน ทั้ง สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า และร่วมมือแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นไป คือสิ่งที่ต้องทำให้เต็มที่ด้วยความอดทน เพื่อให้เยาวชนเข้าใจและหันมาพัฒนาประเทศ เพื่อประชาชนและเยาวชนทุกคน” นายสุพัฒนพงษ์ ชี้แจง
       
       ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงด้วยว่า   โรงงานต่างๆ การใช้ไฟฟ้า เดือนกันยายน ปรับตัวดีขึ้น เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต อุตสาหกรรมอาหาร พลาสติก เหล็ก มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อไป ส่วนแนวโน้มดีขึ้นสิงหาคม - กันยายน อุตสหากรรมยานยนต์ สิ่งทอ ห้างสรรพสินค้า ไตรมาสสาม มาตรการของรัฐบาล ทำให้อัตราขยายตัวเศรษฐกิจ ขยายตัว ในไตรมาสที่สาม และสี่  ทั้งนี้รัฐบาลสามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมีมาตรการช่วยเหลือ เสริมสภาพคล่องของธุรกิจ ทั้งกลุ่มเอสเอ็มอี 
      นายอาคม ชี้แจงด้วยว่า การแก้ปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ช่วงโควิด ใช้เงินจำนวนมาก อาจกระทบต่อสภาพการคลัง แต่ผมยืนยันว่าฐานะการคลังของประเทศไทยมีความมั่นคง ส่วนการใช้เงินเพื่อแก้ปัญหานั้นจะคำนึงถึงเสถียรภาพและความมั่นคงของฐานะการคลังด้วย ทั้งนี้การบริหารความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและสุขภาพ นั้นมีนโยบายทั้งเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค  เช่น ชอปดีมีคืน , โครงการเราเที่ยวด้วยกัน, โครงการคนละครึ่ง โดยประชาชนลงทะเบียน 10 ล้านคน ร้านคาจำนว 4แสนร้านค้า เพื่อช่วยผู้ประกอบการรายย่อย หาบเร่ สามารถใช้ได้ ส่วนระยะต่อไป คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น การทำแผนงาน โครงการ ที่ต่อยอดจากแผนยุทธศาสตร์20ปี เช่น พัฒนาระบบราง,​ถนน, สนามบิน