5 กระทรวง 16 องค์กร ผนึกกำลังลดก๊าซเรือนกระจก คุมอุณภูมิโลก

5 กระทรวง 16 องค์กร ผนึกกำลังลดก๊าซเรือนกระจก คุมอุณภูมิโลก

5 กระทรวง 16 หน่วยงาน จากภาครัฐ, ภาควิชาชีพ, ภาคอุตสาหกรรม และ ภาคการศึกษา ลงนามภายใต้แนวคิด “Together for our world” ในการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

จากผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Climate Change ) อันเกิดจากภาวะก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas ) ที่เป็นผลพ่วงมาจากโลกของเรามีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดถูกนำออกมาใช้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกใบนี้ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากตามกาลเวลา ฤดูหนาวที่เคยหนาวก็กลับกลายเป็นฤดูร้อน , อากาศบริสุทธิ์ที่ใช้หายใจก็เต็มไปด้วยมลพิษ และ ฝุ่น PM 2.5  แทน ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ชาติทั่วโลก

ที่ผ่านมาจึงก่อให้เกิดความร่วมมือของชาติต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลกเพื่อให้เกิด ข้อตกลงปารีส หรือ Paris Agreement หรืออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC ) ที่จะร่วมมือกันควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุปัญหาลดโลกร้อน ( Global Warming )

159928629897

ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในภาคีสมาชิกร่วมกับประชาคมโลกในข้อตกลงปารีสเพื่อแสดงเจตจำนงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 20-25 ภายในปี 2573  เมื่อวันที่ 30 กันยายน ปี 2558 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้วเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการกำหนดให้เป็นนโยบายสำคัญของประเทศ  และเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ปี 2560 ได้อนุมัติแผนที่นำทางลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี 2564-2573 ( Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021-2030: NDC) ที่จะครอบคุลมไปถึงสาขาพลังงานและคมนาคมขนส่ง, สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และ สาขาจัดการของเสีย

เพราะจากข้อมูลบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ที่ต้องรายงานต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทุก 2 ปี พบว่าในปี 2559 ทุกภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากสุด คือ ภาคพลังงาน ร้อยละ 71.65 รองลงมา คือ ภาคเกษตร ร้อยละ 14.72 ตามมาด้วย ภาคกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 8.90 โดยการผลิตปูนซีเมนต์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สูงถึง 17,829.34 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ คิดเป็นอันดับ 7 จากสาขาย่อยทั้งหมดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย

 

ดังนั้นการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกให้บรรลุเป้าหมาย ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่จะร่วมมือกันควบคุมการเพิ่มขึ้นอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก มีนโยบายดำเนินงานให้ความสำคัญกับการลดความรุนแรงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะสิ่งนี้นำมาซึ่งการสร้างความเติบโตต่อสิ่งแวดล้อมและการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

159928630131

 

ล่าสุด ภายใต้แผนนำทางลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี 2564-2573 หรือ NDC นำโดย สภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย, สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จับมือร่วมกับ 5 กระทรวง อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงคมนาคม, กระทรวงมหาดไทย และ 16 หน่วยงาน จากภาครัฐ, ภาควิชาชีพ, ภาคอุตสาหกรรม และ ภาคการศึกษา ในการลงนามบันทึกร่วมกันภายใต้แนวคิด “Together for our world” ในการร่วมมือกันจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์

แผนงานการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ หนึ่งในมาตรการหลักที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม คือ มาตรการทดแทนปูนเม็ด  เนื่องจากผลิตปูนซีเมนต์

 

ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เล่าให้ฟังว่า จะมีกระบวนการเผาวัตถุดิบเพื่อเปลี่ยนให้เป็นปูนเม็ดซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามาก และด้วยการขับเคลื่อนสินค้าที่ต้องการเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม และแผนการร่วมมือ “Together for our world” จึงเกิดการพัฒนาสินค้าที่มีชื่อว่า “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” (HYDRAULIC CEMENT) ขึ้นมา เป็นปูนซีเมนต์ที่มีวิธีการผลิตเช่นเดียวกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เพียงแต่มีความแตกต่างในส่วนประกอบมากกว่าการควบคุมลักษณะเคมี

159928630150

“มาตรการทดแทนปูนเม็ด”  จึงก่อให้เกิดการช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ไม่น้อยกว่า 300,000 ตันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2565 ผ่านการสนับสนุน ส่งเสริม เพิ่มการใช้งานปูนซีเมนต์ในอุตสาหกรรมก่อสร้างต่างๆ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่สุดของประเทศไทย นับเป็นแนวทางดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพสูง และใน ปี 2573 วางเป้าหมายว่าจะสามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 850,000  ตัน

นับว่าเป็นเรื่องท้าทายระดับโลกเพราะประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ลำดับที่ 12 ของโลกในประเภทของประเทศที่มีความเสี่ยงสูง และ เป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในระยะยาว ดังนั้นความร่วมมือทุกภาคส่วนในทุกระดับจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะลดความเสี่ยงภัยของประเทศจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่ประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาอย่างเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยั่งยืน

  • ปรากฏการณ์เรือนกระจก วิกฤตการณ์ของโลก

"ปรากฏการณ์เรือนกระจก” ถือเป็นวิกฤตการณ์ของโลก เกิดจากการรวมตัวหนาแน่นของก๊าซประเภทต่างๆ อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากกิจกรรมพลังงาน/คมนาคมขนส่ง/อุตสาหกรรม และกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ หรือแม้แต่ก๊าซมีเทนจากธรรมชาติ ล้วนส่งผลกระทบ

ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และความร้อนดังกล่าวจะไปละลายน้ำแข็งที่ขั้วโลก ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นส่งผลต่อประเทศที่เป็นหมู่เกาะและชายฝั่งของทวีป ตลอดจนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ใช้สำหรับเป็นที่ผลิตอาหารและอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เกิดปัญหาน้ำท่วม และภัยพิบัติทางธรรมชาติจะรุนแรงมากขึ้น

กอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ‘มาตรการทดแทนปูนเม็ด’ เป็นหนึ่งในมาตรการหลักภายใต้แผนปฏิบัติการของสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ผลักดันให้เกิดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

 

สำหรับปูนซีเมนต์ที่มีสัดส่วนปริมาณปูนเม็ดที่ต่ำลง และผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่นำปูนซีเมนต์ชนิดดังกล่าวไปเป็นส่วนประกอบการผลิต ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ซีเมนต์ไฮดรอลิก (มอก.2594-2556) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จฉบับใหม่ (มอก.213-2560)

159928630363