แกว่งตัวผันผวน

แกว่งตัวผันผวน

ดัชนีวานนี้ปิดลดลง 6.14 จุด โดยแกว่งตัวในกรอบแคบตลอดบวกสลับลบตลอดช่วงการซื้อขาย โดยมีปัจจัยบวกจากความคืบหน้าของวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19

ประกอบกับการเผย GDP 2/2563 ออกมาหดตัว 12.2% ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาดว่าจะหดตัว 13-17% อย่างไรก็ดี ดัชนีได้รับแรงกดดันจากกลุ่มแบงก์ จาก NPL ทั้งระบบที่สูงขึ้น ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,320.91 จุด (-6.14 จุด) Volume 4.8 หมื่นลบ. ต่างชาติ +0.26 ลบ. TFEX Net +3,988 สัญญา ตราสารหนี้ +5,177 ลบ.

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

-ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 86.11 จุด -0.31% ได้รับแรงกดดันจากการขายหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มอุตสาหกรรม แต่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดในแดนบวกจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

+ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดเพิ่มขึ้น 88 เซนต์ +2.1% ปิดที่ 42.89 ดอลลาร์/บาร์เรล ขานรับข่าวจีนวางแผนนำเข้าน้ำมันดิบจากสหรัฐในเดือนส.ค.-ก.ย. ประกอบกับกลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตรปฎิบัติตามข้อตกลงปรับลดการผลิตมากถึง 97% ในเดือนก.ค.

+สหรัฐเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

+ ก.คลังเตรียมเสนอมาตรการกระตุ้นศก.ชุดใหม่ 19 ส.ค.นี้

-สื่อตีข่าวสหรัฐเล็งกีดกัน "หัวเว่ย" เพิ่มอีก คาดปิดช่องทางเข้าถึงชิป-เทคโนโลยี

-สภาพัฒน์ เผย GDP ไตรมาส 2/63 หด -12.2% และลดคาดการณ์ทั้งปีหดตัวเพิ่มเป็น -7.5% จากเดิมคาด -6 ถึง -5%

-สภาพัฒน์เผย Q1/63 หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 80.1% ต่อ GDP สูงสุดในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ Q2/59

-ธปท.เผย NPL ระบบธนาคารพาณิชย์ Q2 อยู่ที่ 3.09% เพิ่มขึ้นจากธุรกิจสายการบิน

+ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดพุ่งขึ้น 78.70 จุด +2.34%

-ดัชนีนิกเกอิปิดลดลง 192.61 จุด -0.83% เช้าเปิดทรงตัว

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD 2.35 แสนลบ. ค่าเงินบาท 31.14 บาท/US

*จับตาการประชุมครม. ส่วนสหรัฐเผยตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.ค.

 

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นมีโอกาสปรับตัวผันผวน โดยมีแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวขึ้นแรงหนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน ขณะที่ปัจจัยกดดันหลักอยู่ที่ประเด็นการเมืองในประเทศ ประกอบกับ GDP ของไทยงวด 2Q20 หดตัว -12.2% ถ่วงตลาด คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,306-1,328 จุด

หุ้นรายงานพิเศษ

ETC เข้าซื้อขายวันแรก (ราคา IPO 2.60 บาท)

  • ผู้ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะโดยมีโรงไฟฟ้า 3 แห่ง ได้แก่ 1) โครงการ ETC กำลังการผลิตขนาด 4 เมกะวัตต์ 2) โครงการ AVA มีกำลังการผลิตติดตั้งขนาด 4.0 เมกะวัตต์ และ 3) โรงไฟฟ้าของ RH มีกำลังการผลิตติดตั้งขนาด 7.0 เมกะวัตต์ ซึ่งดำเนินการแล้วทั้ง 3 โครงการ
  • รายงานงวด 2Q63 มีกำไรเท่ากับ 62 ลบ. +170%YoY +203%QoQ จากการเริ่มรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าขยะครบทั้ง 3 แห่ง ที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 16.50MW จากเดิมในปีที่แล้ว รับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าเพียงแห่งเดียวที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 8MW
  • มีโอกาสเติบโตตามแผน PDP 2018 มีเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมเท่ากับ 900MW และ 75MW ภายในปี 2580 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ณ เดือนเมษายน 2563 มีกำลังผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมเพียง 333MW และ 31MW ตามลำดับ ดังนั้น ยังมีโรงไฟฟ้าจากขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายไฟกับภาครัฐอีก 568MW และ 44MW ตามลำดับ
  • ราคา IPO ซื้อขายที่ PE ratio 85.82 เท่า มีเงื่อนไขการซื้อเพื่อส่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกิน (Greenshoe option) 60 ล้านหุ้น ช่วงเวลาซื้อ 18 ส.ค. – 16 ก.ย. 2563

 

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นที่ผลประกอบการดีกว่าตลาดคาด (VCOM BGRIM CHG TSR)
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จากความคืบหน้าด้านวัคซีน (AOT MINT ERW CENTEL VRANDA SPA SHR)
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์หลังจีนพบไก่แช่แข็งนำเข้าจากบราซิลปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 (GFPT CPF TFG)

หุ้นมีข่าว

CRC Conference Call (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 37.90 บาท) รายงาน 2Q63 พลิกขาดทุน 2,519 ล้านบาท -243%yoy 1H63 ขาดทุน 1,629 ล้านบาท เนื่องจากธุรกิจทั้งในประเทศไทย เวียดนาม และอิตาลีอยู่ในช่วง lockdown ที่ยาวนานกว่าในช่วง 1Q63 ส่งผลให้ยอดขายลดลง อย่างไรก็ดี ยอดขายในช่องทาง OMNI channel มีอัตราการเติบโตที่ดี ทำให้มีสัดส่วนต่อยอดขายรวมเพิ่มเป็น 13% ใน 2Q63 จากระดับ 4.9% ใน 1Q63 และสัดส่วนในงวด 1H63 อยู่ที่ 8%  อย่างไรก็ดี หลังผ่อนคลาย lockdown และกลับมาเปิดขายแล้วทำให้ EBITDA พลิกเป็นบวกในเดือนมิ.ย. 63

ความเห็น คาดจะเห็นผลประกอบฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยยังมีปัจจัยกดดันจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจชะลอตัว และกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง การฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยวเป็นไปอย่างช้าๆ ขณะที่ CRC มีจุดแข็งจากการเป็นผู้ประกอบการร้านค้าปลีกรายใหญ่ที่มีสาขาทั่วประเทศ และยังเดินหน้าแผนขยายสาขาในประเทศเวียดนามอนาคตต่อเนื่อง  แนะนำ ถือ

(+) BCH (Bloomberg Consensus 17.84 บาท) ประกาศงบไตรมาส 2/63 มีกำไร 278.59 ล้านบาท โต 14.23% รับแรงหนุนบริการตรวจโควิด-19 และค่าใช้จ่ายลดลง ชี้ไตรมาส 3/63 สดใส รับไฮซีซั่น-ผู้ป่วยกลับสู่ระดับปกติ ขณะที่ไตรมาส 4/63 เล็งเปิดบริการ รพ.เกษมราษฎร์ ปราจีนบุรี และเปิดบริการ รพ.เกษมราษฎร์อินเตอร์ฯ เวียงจันทน์ ต้นปี 64  (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) JKN (Bloomberg Consensus 6.28 บาท)    โชว์ไตรมาส 2/63 โกยกำไรสุทธิ 85 ล้านบาท พุ่ง 22% ดันกำไรสุทธิครึ่งปีแรก 180 ล้านบาท โต 20% หลัง ความต้องการซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์สำเร็จรูปในไทย-ต่างประเทศเพิ่ม ฟากบอร์ดอนุมัติย้ายหุ้นจาก mai ไปเทรดใน SET  (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) COM7 (Bloomberg Consensus 36.63 บาท) คาดงบครึ่งหลังดีกว่าครึ่งแรก รับกำลังซื้อลูกค้าที่มีแนวโน้มมากขึ้น มั่นใจรายได้รวมปีนี้โต 10% หลังปิดงบครึ่งปีแรกมีรายได้รวม 15,970.7 ล้านบาท เติบโต 3.7% และมีกำไรสุทธิ 562.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.32%  (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) SABINA (Bloomberg Consensus 20.87 บาท) คาดผลงานไตรมาส 3/63 ฟื้น หลังเปิดหน้าร้านปกติ ลุ้นสัดส่วนยอดขายออนไลน์ปีนี้ 15% จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เชื่อปี 64 ยอดขายกลับมาโตปกติ (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) AI (Bloomberg Consensus - บาท) ส่งสัญญาณครึ่งปีหลัง 2563 โตแรง เตรียมเพิ่มกำลังการผลิตไบโอดีเซลใน Q3/2563 จากปัจจุบันกำลังการผลิตเต็ม 100% หลังดีมานด์ล้น ส่วนความต้องการใช้ลูกถ้วยไฟฟ้ายังเติบโตดี เตรียมโกยงานเพิ่มกว่า 1,000 ล้านบาท มั่นใจผลงานปีนี้ทั้ง AI-AIE เติบโตไม่ต่ำกว่า 10%  (ที่มา ทันหุ้น)

(+) TPOLY (ราคาเหมาะสม - บาท)  คว้างานก่อสร้างอาคารกายวิภาคทางคลินิก ม.มหิดล มูลค่า 749 ล้านบาท เสริมแกร่งงานในมือ พร้อมติดเครื่องชิงเค้กงานก่อสร้างทั้งรัฐและเอกชน มูลค่ารวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท อวดผลงานไตรมาส 2/2563 รายได้โต 12% จากปีก่อน เล็งบุ๊กรายได้จากการขายไฟใหม่ 4 โครงการ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) PYLON (Bloomberg Consensus 5.62 บาท) ลุยประมูลงาน 1 พันล้านบาท ปั๊ม Backlog เพิ่มจากเดิมราว 600 ล้านบาท กินยาวปีหน้า พร้อมมองเทรนด์ก่อสร้างฟื้น หลังคลายล็อกดาวน์ ลุ้นไตรมาส 4/2563 ผลงานฟื้นตัว โบรกคาดปันผลเด่น 6.2% โอกาสรับงานใหม่หนุนอนาคตไกล เป้า 7.80 บาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) RBF (Bloomberg Consensus - บาทส่งซิกผลงานไตรมาส 3/2563 แจ่ม ออเดอร์ทั้งไทย-ต่างแดนไหลเข้าทะลัก พร้อมกดปุ่ม COD โรงงานผลิตในอินโดนีเซีย รองรับออเดอร์เติบโตต่อเนื่อง มั่นใจรายได้ปี 2563 โต 10-12% ส่วนธุรกิจโรงแรมสัญญาณฟื้นตัวจากแคมเปญเราเที่ยวด้วยกัน (ที่มา ทันหุ้น)