'เงินเฟ้อ' 'เงินฝืด' ส่งผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าประชาชนอย่างไรบ้าง?

'เงินเฟ้อ' 'เงินฝืด' ส่งผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าประชาชนอย่างไรบ้าง?

"เงินเฟ้อ" "เงินฝืด" สำคัญอย่างไรในมิติทางเศรษฐกิจของประเทศ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเงินในกระเป๋าของประชาชนมากน้อยแค่ไหน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศสถานการณ์ "เงินเฟ้อ" เดือน พ.ค. 63 ติดลบต่ำสุดรอบ 10 ปี ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่ากำลังเข้าสู่สภาวะ "เงินฝืด" ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในมิติต่างๆ รวมถึงเงินในกระเป๋าของประชาชน

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จะพาไปดูความแตกต่างของ "เงินเฟ้อ" และ "เงินฝืด" ว่ามีลักษณะอย่างไร มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร ที่สำคัญที่สุดคือสภาวะเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต หรือเงินในกระเป๋าของประชาชนทั่วไปอย่างเราๆ อย่างไรบ้าง

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

ธปท. ชี้ เงินเฟ้อ พ.ค. ติดลบต่ำสุดรอบ 10 ปี ยังไม่เข้าข่าย เงินฝืด!

159159546247

 "เงินเฟ้อ" คืออะไร 

เงินเฟ้อ (Inflation) หรือภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน 

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ หลักๆ ได้แก่ 

1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (เรียกว่า DemandPull Inflation) ประกอบกับสินค้าและบริการน้ันๆ ในตลาดไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงข้ึน

2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (เรียกว่า CostPush Inflation) กล่าวคือ หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย

 ผลกระทบของ "เงินเฟ้อ" ในมิติต่างๆ 

  •  ผลต่อประชาชน 

- รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทําให้ประชาชนมีอํานาจซื้อน้อยลง และมีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการได้น้อยลง ซึ่งอาจทําให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ

- อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูงจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะมีค่าลดลงไปด้วย เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง ยกตัวอย่าง กรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 1.5% ต่อปี แต่หากอัตราเงินเฟ้อหรือราคาเพิ่มขึ้นมา 1% อาจกล่าวได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ อยู่ที่ 0.5% ต่อปีเท่านั้น

แต่หากปีต่อไปอัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังเท่าเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปอยู่ที่ 2% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะกลายเป็น 0.5% ต่อปี ซึ่งถือว่ากําลังซื้อของผู้ฝากเงินลดลง การฝากเงินทําให้ได้รับผลตอบแทนจริงๆ ติดลบ

ทําให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคํา อสังหาริมทรัพย์ และหุ้น เป็นต้น ซึ่งก็จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหารจัดการ ก็อาจทําให้เกิดเป็น ภาระหนี้สินได้

159159566457

  • ผลต่อผู้ประกอบการ / นักธุรกิจ

- เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกันต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทําให้มีคนตกงานมากขึ้น

- ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่นๆ

  • ผลต่อประเทศ

- ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทําให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย

- ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทําให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งกําไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ (asset price bubble) และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้ เช่น หนี้ครัวเรือน

 "เงินฝืด" คืออะไร 

เงินฝืด (Deflation) ภาวะเงินฝืด หมายถึงภาวะที่ราคาสินค้าและบริการลดต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากปริมาณสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผลิตออกมามีมากกว่าความต้องการซื้อสินค้าของคนในประเทศ 

โดยสาเหตุของเงินฝืด เกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งเกิดจากความเชื่อมั่นของผู้ซื้อลดลง ไม่กล้าใช้จ่ายเงิน เนื่องจากปัจจัยที่เข้ามากระทบ เช่น ภัยธรรมชาติ หรือเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง รวมไปถึงปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจไม่เพียงพอ เช่น เงินตราไหลออกนอกประเทศมากเกินไป เป็นต้น

159159540917

อย่างไรก็ดี ธปท. ได้ยืนยันว่าสภาวะที่กำลังเกิดขึ้น ณ เวลานี้ ยังไม่เข้าข่าย "เงินฝืด" ตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงิน เนื่องจากนิยามภาวะเงินฝืดของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบีต้องเข้าเงื่อนไข 4 ข้อดังนี้

1. อัตราเงินเฟ้อติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (prolonged period)
2. อัตราเงินเฟ้อติดลบกระจายในหลายๆ หมวดสินค้าและบริการ
3. การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว (ปกติดูที่ระยะ 5 ปี) ต่ำกว่าเป้าหมายระยะปานกลางอย่างมีนัยสำคัญ
4. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบ และอัตราว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม หาก "ภาวะเงินฝืด" เกิดขึ้นจริง ย่อมมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน และระบบเศรษฐกิจของประเทศในมิติต่างๆ ดังต่อไปนี้

159159581036

 ผลกระทบของ "เงินฝืด" ในมิติต่างๆ 

  • ผลต่อผู้ประกอบการ / ผู้ผลิต 

ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลง เพราะหากผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้ไม่หมด ผลที่ตามมาคือ การจ้างงานและการซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตก็จะลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว

  • ผลต่อประชาชน 

อัตราการว่างงานสูงขึ้น เนื่องจากภาคเอกชนขายสินค้าและบริการได้น้อย จึงไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตทำให้ไม่เกิดการจ้างงานเพิ่ม แต่บางกิจการอาจมีผลกระทบมากจนต้องลดกำลังการผลิตเพื่อรักษากิจการให้สามารถอยู่รอดได้ในภาวะเงินฝืด จึงจะต้องลดพนักงานทำให้ประชาชนตกงานเพิ่มขึ้น

  • ผลต่อระบบเศรษฐกิจ

หากราคาที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากความต้องการสินค้าและบริการของประชาชนลดลง คนก็จะลดการจับจ่ายใช้สอย เมื่อคนไม่ซื้อสินค้ากันมากๆ ผู้ผลิตก็ขายสินค้าไม่ได้ เป็นวงจรวนไปไม่รู้จบ ท้ายที่สุดก็จะกระทบกับภาคการผลิตและการจ้างงาน ทําให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในที่สุด ดังนั้น ภาวะเงินฝืดจึงเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์สําหรับระบบเศรษฐกิจ

ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย