ระวัง! 'ไทยชนะ' ของปลอม หลอกโหลดดึงข้อมูลส่วนตัว

ระวัง! 'ไทยชนะ' ของปลอม หลอกโหลดดึงข้อมูลส่วนตัว

ศบค.เผยรอบ 7 วันคนใช้ไทยชนะกว่า 11 ล้านคน กิจการลงทะเบียนราว 1 แสนร้าน เตือน “แอพไทยชนะ” ปลอม หลอกให้ดาวน์โหลด หวังดึงข้อมูลส่วนบุคคลผู้ใช้ ย้ำของจริงไม่ต้องโหลดใดๆ

     เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า มีผู้ป่วยรายใหม่ 2 ราย และเสียชีวิต 1 ราย ผู้เสียชีวิตเป็นหญิงไทยอายุ 68 ปี มีโรคประจำเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ เข้ารักษาที่รพ.แห่งหนึ่งในจ.ชุมพร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2563 ต่อมามีอาการไข้ หอบเหนี่อย จึงย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤติ ห้อองแยกความดันลบ ตรวจหาเชื้อพบติดโควิด-19 อาการแย่ลงแพทย์ใส่เครื่องช่วยหายใจ แต่อาการไม่ดีขึ้น
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2563 เสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน


      ส่วนผู้ป่วยรายใหม่ รายแรกเป็นหญิงชาวจีน อายุ 46 ปี ภรรยาของชายชาวอิตาลีที่รายงานการติดเชื้อไปก่อนหน้านี้ โดยเข้ามาในจ.ภูเก็ตตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2563 พร้อมครอบครัว รวม 5 คน ต่อมา 30 มีนาคม 2563 ย้ายมาพักที่ต.เชิงทะเลเพราะยังไม่สามารถกลับประเทศได้ ตรวจพบเชื้อ 24 พฤษภาคม 2563 โดยไม่มีอาการ แต่ได้รับการตรวจเนื่องจากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจากการที่ตรวจพบสามีติดเชื้อ และรายที่ 2 หญิงไทย อายุ 55 ปี อาชีพพนักงานนวด เดินทางกลับจากประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 เข้าพักในสถานที่ที่รัฐจัดให้ที่จ.ชลบุรี ตรวจพบเชื้อวันที่ 24 พฤษภาคม 2563 โดยไม่มีอาการใดๆ ภาพรวมประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,042 ราย รักษาหายแล้ว 2,928 ราย ยังรักษาในรพ. 57 ราย และเสียชีวิตสะสม 57 ราย


      

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า สำหรับไทม์ไลน์จากการสอบสวนโรคผู้ป่วยโควิด-19 ชายไทยอายุ 72 ปี พื้นที่กรุงเทพฯที่รายงานก่อนหน้านี้ โดยมีการสอบสวนโรคย้อนหลังถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 พบว่า 30 เมษายน ไปรับยาเคมีบำบัดที่รพ.รัฐแห่งหนึ่ง 7 พฤษภาคมไปทำสแกนกระดูกที่รพ.รัฐแห่งที่สอง 8 พฤษภาคมไปรับผลสแกนกระดูกที่รพ.รัฐแห่งที่สอง นำไปลไปให้แพทย์ที่รพ.รัฐแห่งที่หนึ่ง 12 พฤษภาคม ไปเจาะเลือดที่รพ.รับแห่งที่หนึ่ง 14 พฤษภาคม ไปทำซีทีที่รพ.รัฐแห่งที่หนึ่ง โดบสวมหน้ากากตลอดเวลา ยกเว้นช่วงดื่มcontrast 

 15 พฤษภาคม ไปตลาดแห่งหนึ่งในจ.นนทบุรี 16 พฤษภาคม ไปตรวจที่รพ.เอกชนแห่งหนึ่งช่วงเช้า 17 พฤษภาคม เริ่มมีอาการหนาวสั่น อ่อนเพลีย 18 พฤษภาคม ช่วงเช้าตรวจรับยารพ.เอกชนแห่งที่หนึ่ง รับประทานอาหารร้านแห่งหนึ่ง ไปร้านตัดผม ช่วงบ่ายเข้าตรวจที่รพ.เอกชนแห่งที่หนึ่ง23.30 น.เริ่มมีอาการไข้ หนาวสั่น ไอ เรียกรถพยาบาลรพ.เอกชนแห่งที่สองรับที่บ้าน และ20 พฤษภาคม ย้ายไปรับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์จักรีนฤบดินทร์


 ผลการสอบสวนโรคพบว่า ในการหาต้นทางของการติดเชื้อของผู้ป่วยนั้น เป็นไปไปทั้งที่รพ.แห่งที่ 1 และรพ.แห่งที่ 2 ซึ่งมีรพ.เป็นพื้นที่ที่มีเชื้อโรคอื่นๆด้วยอยู่แล้ว รวมถึงโรคโควิด-19 ก็มีความเสี่ยง ส่วนการสอบสวนว่าผู้ป่วยจะแพร่เชื้อต่อให้บุคคลอื่นหรือไม่ เนื่องจากผู้ป่วยมีการป้องกันที่ดีด้วยการใส่หน้ากากตลอดเวลา 

     

ดังนั้น ในส่วนของร้านตัดผมและร้านอาหาร ทีมสอบสวนโรคมีความมั่นใจระดับหนึ่งว่าจะไม่แพร่เชื้อให้กับผู้อื่น แต่ได้มีการเฝ้าระวังด้วยการให้พนักงานร้านที่ถือเป็นผู้สัมผัสผู้ป่วยกักตัวเองอย่างน้อย 14 วันเพื่อสังเกตอาการ ทั้งนี้ ประชาชนที่พบว่าตนเองอาจมีส่วนเชื่อมโยงกับการใช้บริการต่างๆร่วมกับผู้ป่วยรายนี้ สามารถไปขอรับการตรวจที่รพ.ได้ฟรี โดยระบุถึงการเชื่อมโยงกับผู้ป่วยรายนี้ รวมถึง ประชาชนทั่วไปที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจเพียงเล้กน้อยก็ไปตรวจโควิด-19ได้ อาจจะมีหรือไม่มีไข้ก็ได้

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า สำหรับการใช้งานแพลตฟอร์มไทยชนะในรอบ 7 วัน พบว่า จำนวนกิจการ/กิจกรรมลงทะเบียน 106,235 ร้าน จำนวนผู้ใช้งาน 11,757,624 คน จำนวนการใช้งาน เช็คอิน 27,114,565 ครั้ง และเช็คเอาท์ 19,204,736 ครั้ง 

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่ามีการทำแอพพลิเคชั่นไทยชนะของปลอมขึ้น โดยของจริงจะเป็นแพลตฟอร์มไทยชนะ ที่เป็นเว็บไซต์ เพื่อใช้ในการควบคุมและป้องกันโรค ชื่อเว็บ www.ไทยชนะ.com และ www.thaichana.com ซึ่งผู้ใช้งานผ่านเว็บไม่ต้องทำการโหลดแอพใดๆ และมีแถบหน้าจอ 3 แถบ เหลือง ส้ม ฟ้า ขณะที่ของปลอม ใช้ชื่อเว็บ thaichana.pro thai-chana.asia thaichana.asia เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้จะต้องทำการดาวน์โหลดก่อนใช้งาน และมีแถบหน้าจอเพียงแถบเดียวคือสีเหลือง และก่อนเข้าระบบผู้ใช้ต้องตอบคำถามมากมาย อันนี้เป็นของปลอมที่หลอกล่อให้คนโหลดเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

159038735263