"Power" Sector (12 มี.ค.63)

"Power" Sector (12 มี.ค.63)

หลายปัจจัยลบฉุดกำไรใน 1H63

Event

อัพเดตแนวโน้มกลุ่มโรงไฟฟ้า

Impact

ภัยแล้งในภาคตะวันออกยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักใน 1H63

ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำหลักทุกแห่งในภาคตะวันออกของไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำอย่างวิกฤติ และมีพอป้อนให้นิคมอุตสาหกรรม (WHA Corporation (WHA.BK/WHA TB)*, นิคมแหลมฉบัง, นิคมมาบตาพุด ฯลฯ) ในจังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทราไปถึงแค่อาทิตย์ที่สามของเดือนพฤษภาคม 2563
เท่านั้น ถ้าหากไม่มีน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่ม ซึ่งตามที่ระบุไว้ในบทวิเคราะห์กลุ่มโรงไฟฟ้า เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบของภัยแล้งต่อโรงไฟฟ้า SPP ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เรามองว่ากำไรของโรงไฟฟ้า SPP ในภาคตะวันออกจะมี downside อยู่ในช่วง 0.9% ถึง 4.6%

กำไรของกลุ่มในปี นี้ยังมี downside อีกจากการชะลอตัวของ GDP

นักเศรษฐศาสตร์ของ KGI ปรับลดประมาณการ GDP ปี 2563 ของไทยลงเหลือ +0.1% YoY จาก +2.4%ในปี 2562 เนื่องจากปัจจัยลบหลายประการ (ภัยแล้ง ผลกระทบจาก COVID-19 ฯลฯ) ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่อ่อนแอลงจะกระทบกับอุปสงค์การใช้ไฟฟ้าของประเทศ และโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPPs) จะถูกกระทบจากการที่อุปสงค์การใช้ไฟฟ้าจาก กฟผ. และผู้ใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม (IUs) ลดลง เราใช้สมมติฐานผลกระทบของ GDP ที่ชะลอตัวลงต่อการผลิตไฟฟ้าของ SPP จะตามหลังประมาณหนึ่งเดือน ทั้งนี้ เราใช้สมมติฐานว่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ SPP ส่งให้ กฟผ. จะลดลง 1.7% ในขณะที่ปริมาณ
กระแสไฟฟ้าและไอน้ำที่ส่งให้ IU จะลดลง 4.1% ส่วนโรงไฟฟ้า IPP จะไม่ถูกกระทบเพราะค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment หรือ AP) ไม่ได้อิงกับ dispatch factor

ปรับลดประมาณการกำไรจากธุรกิจหลักของกลุ่มในปี 2563-64 ลง 5.5% และ 0.9%

เราปรับลดประมาณการกำไรจากธุรกิจหลักของกลุ่มโรงไฟฟ้าในปี 2563-64 ลงเพื่อสะท้อนถึง i) การที่ SPP ผลิตไฟฟ้าส่งให้กับ กฟผ. และลูกค้าอุตสาหกรรม (IUs) ลดลง (ส่งกระแสไฟฟ้าให้ กฟผ. ลดลง 1.7% ในขณะที่ส่งไฟฟ้าและไอน้ำให้ IUs ลดลง 4.1%) ii) อัตราค่าไฟฟ้าที่คิดจาก กฟภ. ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 ลดลง 3% จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวกับการลดต้นทุนค่าไฟฟ้า ในขณะที่ค่าไฟที่คิดจาก IU ก็ผูกอยู่กับค่าไฟที่คิดจาก กฟภ. iii) การผลิตไฟฟ้าของโครงการ NN2 ลดลง 22.2% เนื่องจากมีการประกาศว่าเป็นปี ที่ประสบภาวะภัยแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบกับ CK Power (CKP.BK/CKP TB)* ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าของ XPCL ก็ลดลง 13.0% ซึ่งส่งผลกระทบกับ Global Power Synergies (GPSC.BK/GPSC TB)* iv) การปรับสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนปี 2563 จาก 33.0 บาท/ดอลลาร์ เป็น 31.9 บาท/ดอลลาร์ และเป็น 32.0 บาท/ดอลลาร์ในปี 2564 ซึ่งจะส่งผลกระทบกับ capacity payment ของโรงไฟฟ้า SPP (อิงกับสกุล US$)

Valuation & Action

เรายังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ Neutral โดยเลือก Electricity Generating (EGCO.BK/EGCO TB)* เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มโรงไฟฟ้าแบบ conventional เนื่องจาก i) ผลการดำเนินงานยังเป็นปกติแม้จะเกิดภาวะภัยแล้ง และมีการระบาดของ COVID-19 ii) มีเงินสดเต็มมือ (2.05 หมื่นล้านบาท) สำหรับใช้ลงทุนในโครงการใหม่ ๆ (M&A หรือ green field) และ BCPG (BCPG.BK/BCPG TB)*เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มพลังงานหมุนเวียนเนื่องจากมีแผนขยายกิจการเชิงรุก (ตั้งงบ CAPEX ไว้ที่ 4.5 หมื่นล้านบาทในปี 2563-2568)

Risk

ความล่าช้าในการจัดสรรกำลังการผลิตใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ของทางการ โรงไฟฟ้าหยุดผลิตไฟฟ้า และความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการใหม่