6 วิกฤติน้ำมันถึงหุ้นไทย ฉุดบรรยากาศลงทุนผันผวน

ข่าวการตอบโตด้วยขีปนาวุธจากอิหร่านไปยังฐานทัพสหรัฐที่อิรัก ยิ่งทำให้อุณภูมิความไม่สงบในโลกตะวันออกลางร้อนระอุมากยิ่งขึ้น เพราะหากมีการตอบโต้กลับจากสหรัฐซึ่งถือว่ามีแสนยานุภาพด้านการทหารและยุทธูปกรเหนือกว่าหลายเท่าตัว ทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความ
เหตุการณ์ระหว่างสหรัฐ กับ อิหร่าน และอิรัก เรียกได้ว่าพึ่งเริ่มต้น จากการเริ่มโจมตีและมีการตอบโต้ ซึ่งหากจำกัดอยู่เพียงแค่ 3 ประเทศทำให้คาดการณ์ผลกระทบตามมาได้ว่ามีด้านไหน แต่หากศึกษากลุ่มโลกตะวันออกกลางจะพบปัญหาร้าวลึกของแต่ละประเทศหนักหน่วงไม่แพ้กัน
โดยมีสหรัฐเข้าไปให้การสนับสนุนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในหลายประเทศในภูมิภาคนี้ จนทำให้ประเทศที่รายล้อมอิหร่านเกือบทุกประเทศแทบจะมีฐานทัพของสหรัฐอยู่เต็มไปหมด
เมื่อพูดถึงโลกตะวันออกกลางแล้วสิ่งที่เป็นเส้นเลือดสำคัญที่สร้างให้โลกอาหรับยิ่งใหญ่ หนีไม่พ้นแหล่งน้ำมันที่เป็นขุมทองให้หลายประเทศในแถบนี้ และยังใช้ต่อรองทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการรวมกลุ่มผู้ค้าน้ำมัน หรือที่เรียก ว่า โอเปก (OPEC)
ปัจจุบันโอเปคผลิตน้ำมันป้อนโลกอยู่ที่ 29.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน (หรือประมาณ 30% ของการผลิตน้ำมันทั่วโลก ) มีผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกคือซาอุดิอาราเบีย จากปริมาณการผลิต น้ำมันดิบของประเทศอยู่ที่ 11.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์หรือวิกฤติในตะวันออกกลางจึงสะเทือนไปยังราคาน้ำมันโลกตามมาเป็นโดมิโนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางและกระทบราคาน้ำมันดิบครั้งใหญ่มีถึง 6 เหตุการณ์ด้วยกัน
จากการเก็บข้อมูล บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โนมูระ พัฒนสิน พบว่าเหตุการณ์สงครามอ่าวเปอร์เซีย ในปี 2533 (1990) เกิดขึ้นระหว่างอิรักกับคูเวตมีฉนวนมาแย่งชิงแหล่งน้ำมัน ทำให้เกิดความขัดแย้งจนอิรักปิดล้อมคูเวตกลายเป็นสงครามอ่าวกับกองกำลังผสม 34 ชาตินำโดยสหรัฐ ซึ่งราคาน้ำมันได้รับผลกระทบปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดช่วง 1 เดือน 37.2 % จากซัพพรายที่หายไปถึง 4.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน
หลังจากนั้นนำไปสู่เหตุการณ์วุ่นวายในอิรักทำให้มีการหยุดชะงักชั่วคราวในการส่งออกน้ำมัน ปี 2544 (2001) ส่งผลทำให้ซัพพรายน้ำมันดิบหายไป 2.1ล้านบาร์เรลต่อวัน และราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในช่วงแรก 1.4 %แต่หลังจาก 1 เดือน ราคาปรับตัวลดลง 11.8 %
ปีถัดมา 2545 (2002) เกิดเหตุกาณ์ประท้วงในเวเนซุเอลาหลังบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศปลดพนักงานจนเกิดการประท้วง กระทบซัพรายน้ำมันหายไป 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน และราคาน้ำมันดิบ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ต่อทันทีปี 2546 (2003) สงครามอ่าวเปอร์เซีย 2 เกิดขึ้นระหว่างอิรักกับสหรัฐหลังเหตุการณ์ 911 กลุ่มอัลกออิดะห์จี้เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิลด์ เทรดเซนเตอร์ ทำให้เกิดความขัดแย้งจนเป็นสงคราม ซึ่งมีสหรัฐเข้ามาร่วมด้วยและถือว่าเป็นการแผ่ขยายฐานทัพของสหรัฐในภูมิภาคนี้ ซึ่งราคาน้ำมันกลับไม่ได้รับผลกระทบจากช่วง 1 เดือนราคาปรับตัวลดลง 4.8 %
ความขัดแย้งในภูมิภาคนี้เว้นว่างไปจนปี 2554 (2011) เกิดสงครามกลางเมืองซีเรียและการประท้วงลิเบีย จากความขัดแย้งกองกำลังติดอาวุธหลายฝ่ายจนนำไปสู่การเข้าร่วมของต่างชาติ และขยายวงกว้างไปยังชาติอาหรับจนกลายเป็น ‘ อาหรับสปริง ‘ มีผลต่อซัพรายน้ำมันน้อยมาก แต่ราคาน้ำมันดิบกลับปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจาก 1 เดือนถึง 7.6 %
และถึงคราวพี่ใหญ่ในกลุ่มโอเปคซาอุฯ ที่ถูกโดรนโจมตีโรงน้ำมันขนาดใหญ่ 2 แห่งกระทบซัพพรายหายไปมากถึง 5.7 ล้านบาร์เรลต่อวันปี 2562 (2019) ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นทันทีในช่วงแรกเกือบ 15 % ก่อนราคาปรับตัวลง 1 เดือน 1.4 %
ปี 2563 (2020) การเปิดฉากโจมตีของสหรัฐในอิรักจนนายพลอิหร่านและผู้บัญชาการอิรักเสียชีวิต ทำให้เกิดความไม่พอใจและโจมตีตอบโต้ ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นมาแล้ว 7.59 % ราคาสูงสุด (Brent) 71.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ยังไม่มีใครตอบได้ว่าสถานการณ์จะรุนแรงมากขึ้นหรือคลี่คลายเร็ววัน นั้นจึงทำให้ดัชนีหุ้นไทยยังผันผวนหนักและยังปรับตัวขึ้นได้จำกัดตามไปด้วย
‘เราชนะ’ ลุ้นวันนี้! เงื่อนไขสำคัญ ลงทะเบียน www.เราชนะ.com รับเงินเยียวยาโควิดรอบใหม่
'คนละครึ่ง' ลงทะเบียน 20 ม.ค.นี้ ใครไม่มีสิทธิ์รับเงิน 3,500 บาทบ้าง?
ด่วน! ครม.อนุมัติ 'เราชนะ' จ่ายเยียวยา 3,500 บาท ลงทะเบียน 29 ม.ค.นี้
‘เราชนะ’ วันนี้ลุ้น! ครม. อนุมัติหลักเกณฑ์จ่าย 'เงินเยียวยา' 31 ล้านคน
'เราชนะ' สรุปใครได้ 3,500 บาท 2 เดือนบ้าง? ลงทะเบียนอย่างไร เช็คที่นี่!
'คนละครึ่งเฟส 2' รอบเก็บตก เคยถูกตัดสิทธิ 14 วัน ลงได้อีกหรือไม่?