'อดีต กรธ.' ระบุ 'อนค.' อย่ามั่วขับ ส.ส.พ้นพรรค ต้องนำคะแนนคำนวณ ส.ส.ใหม่

'อดีต กรธ.' ระบุ 'อนค.' อย่ามั่วขับ ส.ส.พ้นพรรค ต้องนำคะแนนคำนวณ ส.ส.ใหม่

"อุดม" อดีตโฆษก กรธ. ระบุ "อนค." อย่ามั่วขับ ส.ส.พ้นพรรค ต้องนำคะแนนคำนวณ ส.ส.ในพรรคใหม่ ชี้คนละเหตุที่ต้องคำนวณใหม่ ให้ 4 ส.ส.อนค. พิจารณาฟ้องกลับพรรค ปมขัด รธน. มองลงมติสวนพรรคไม่ใช่ขับออกเพราะลงโทษ แต่คือการทำงานร่วมกันไม่ได้

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 62 นายอุดม รัฐอมฤต อดีตโฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ต่อประเด็นที่การประชุมสมัยวิสามัญของสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ ลงมติขับ 4 ส.ส. ได้แก่ น.ส.ศรีนวล บุญลือ ส.ส.เชียงใหม่ พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา ส.ส.จันทบุรี นายจารึก ศรีอ่อน ส.ส.จันทบุรี และ น.ส.กวินนาถ ตาคีย์ ส.ส.ชลบุรี ออกจากพรรค ว่า การเปลี่ยนแปลง ส.ส.ภายในพรรคที่มาจากการลงมติไล่ให้ออกจากพรรคนั้น เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 พรรคสามารถมีมติให้ ส.ส.พ้นจากการสังกัดพรรคการเมืองได้ และให้สิทธิ์ ส.ส.ที่ถูกลงมติให้พ้นพรรคนั้นหาสังกัดใหม่ได้ภายใน 30 วัน แต่จะไม่มีผลให้พรรคได้การเติมเต็ม ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ เพราะการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อใหม่นั้นจะใช้เฉพาะกรณีเดียวคือ การกระทำที่ทุจริตการเลือกตั้ง ภายใน 1 ปีนับจากวันเลือกตั้งทั่วไป ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 94 กำหนดเท่านั้น

“เมื่อคุณไล่ ส.ส.ออกจากพรรค จะอ้างสิทธิ์ให้คำนวณ ส.ส.บัญชีใหม่ของพรรคไม่ได้ เพราะคุณไปไล่เขาออก ไม่ใช่การทุจริตเลือกตั้ง เมื่อ ส.ส.ถูกขับให้พ้นพรรคไม่มีผลอะไรที่ทำให้คะแนนที่เคยได้พรรคหนึ่งยังคงพรรคเดิมหรือเปลี่ยนพรรคใหม่ไม่มีผลทั้งสิ้น อีกทั้งคะแนนที่ประชาชนในเขตเลือกตั้ง ซึ่งทำให้ได้ส.ส. ไม่ได้บอกว่าเป็นคะแนนของพรรค ดังนั้น อย่านำเรื่องการขับ ส.ส.ออก หรือการย้ายพรรค และทำให้เกิดการคำนวณคะแนนใหม่มาปนกัน หรือหาก ส.ส.ทั้ง 4 ไม่สามารถหาพรรคใหม่สังกัดใหม่ได้ทัน 30 วัน ต้องพ้นจาก ส.ส.และให้มีการเลือกตั้งใหม่ เช่นเดียวกับกรณีที่เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ หากใครถูกมติพรรคขับออก และหาสังกัดใหม่ไม่ทัน พรรคที่มีมติขับนั้นไม่สามารถอ้างสิทธิ์เลื่อนบัญชีรายชื่อของพรรคได้เช่นกัน” นายอุดม กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีมติพรรคที่ขับ ส.ส.ออกด้วยเหตุการลงมติในสภาฯ ที่ใช้ความเป็นอิสระปราศจากการครอบงำ ถือว่าพรรคทำผิดรัฐธรรมนูญและเอาผิดได้หรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า ต้องให้ ส.ส.ที่ถูกมติพิจารณา และอาจฟ้องร้องได้หากพบเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่กรณีที่เกิดขึ้นตนมองว่าต้องพิจารณาถึงวินัยของพรรคด้วย ว่าความเห็นในสภาฯ จะมีมติร่วมกันอย่างไร ทั้งนี้ ตนเข้าใจว่าเหตุผลที่ไล่ไม่ใช่การแหกมติ แต่คือไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ อีกทั้งประเด็นที่เกิดขึ้นไม่ใช่การลงโทษเพราะความเห็นต่างจากพรรค การใช้เสรีภาพต่อการลงคะแนนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด พึงพิจารณาถึงวินัยของพรรคด้วย เพื่อคำนึงถึงการอยู่ร่วมกัน