ส่งออก ส.ค.ติดลบ 4% สรท.ปรับคาดการณ์ส่งออกไทยปี 2562 หดตัว 1.5%

ส่งออก ส.ค.ติดลบ 4% จับตานำเข้าติดลบพุ่ง 14.6% ปมสงครามการค้า –เงินบาทแข็งค่าหลอนไม่เลิก ทำ สรท.ปรับคาดการณ์ส่งออกไทยปี 2562 หดตัว 1.5% คาดปีหน้าโต 0-1%”
นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข่าว การส่งออกเดือนส.ค.2562 มีมูลค่า 21,914 ล้านดอลลาร์ หดตัว 4.0 % เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 670,452 ล้านบาท หดตัว 11.4%
ในขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 19,862.4 ล้านดอลลาร์ หดตัว 14.6% และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 616,736ล้านบาท หดตัว 21.1% ส่งผลให้ ส.ค.ประเทศไทยเกินดุลการค้า 2,053 ล้านดอลลาร์ และ 54,076 ล้านบาท
ขณะที่ภาพรวมเดือนม.ค.- ส.ค. ปี 2562 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 166,091 ล้านดอลลาร์ หดตัว 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และคิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทที่ 5,206,697 ล้านบาท หดตัว 3.7%
การนำเข้ามีมูลค่า 159,984 ล้านดอลลาร์ หดตัว 3.6% หรือคิดเป็นมูลค่า 5,089,258 ล้านบาท หดตัว 5.0% ส่งผลให้ช่วงเดือนม.ค.- ส.ค. 2562 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 6,106 ล้านดอลลาร์และ 117,439 ล้านบาท
ทั้งนี้ สรท. ปรับคาดการณ์การส่งออกในปี 2562 หดตัว 1.5% บนสมมติฐานค่าเงินบาท 33 (±0.5) บาทต่อดอลลาร์ และคาดการณ์การส่งออกปี 2563 เติบโต 0-1% บนสมมติฐานค่าเงินบาท 30.5 บาทต่อดอลลาร์
“ทิศทางการค้าระหว่างประเทศได้รับปัจจัยจากสงครามการค้าที่เริ่มมีท่าทีที่ผ่อนคลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นเห็นได้จาก สหรัฐเลื่อนการขึ้นภาษีอัตรา30% และจีน ประกาศงดเว้นภาษีสินค้าสหรัฐในกลุ่ม ยา น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์” อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญประกอบด้วย อัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากท่าทีการดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายของประเทศต่างๆ เช่น สหภาพยุโรป ที่ดำเนินมาตรการซื้อพันธบัตรมูลค่า 200,000 ล้านยูโรต่อเดือน และ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ของ FED จาก 2.00-2.25% สู่ระดับ 1.75-2.00%
สินค้าเกษตรได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลงโดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งและปริมาณสต๊อกสินค้าที่มีอยู่มากในตลาดโลก ทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันปริมาณการส่งออกของไทยจึงชะลอตัวลง
การโจมตีโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง ของบริษัทพลังงานแห่งชาติประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งกระทบต่อปริมาณอุปทานของน้ำมันดิบทั่วโลกกระทบต่อราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 8 ในช่วงวันที่ 14–16 กันยาที่ผ่านมา ส่งผลต่อความผันผวนและไม่แน่นอน
เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวทั่วโลกจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้า และสถานการณ์ Brexit ที่ยังคลุมเครือต่อทิศทางของอังกฤษ ส่งผลต่อคำสั่งซื้อที่ลดลงและปริมาณการส่งออกที่ลดลง และ สถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศ ได้แก่ น้ำท่วมที่ภาคะวันออกเฉียงเหนือซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงแก่ผลผลิตทางการเกษตรในระยะสั้นและระยะยาวในภาคการผลิตเพื่อส่งออกของไทย
'คนละครึ่ง' ลงทะเบียน 20 ม.ค.นี้ ใครไม่มีสิทธิ์รับเงิน 3,500 บาทบ้าง?
‘เราชนะ’ วันนี้ลุ้น! ครม. อนุมัติหลักเกณฑ์จ่าย 'เงินเยียวยา' 31 ล้านคน
'คนละครึ่งเฟส 2' รอบเก็บตก เคยถูกตัดสิทธิ 14 วัน ลงได้อีกหรือไม่?
'ทรัมป์' ร่วง รีพับลิกันล่ม ประชาธิปไตยรุ่ง
"Weekly Oil" report 18 January 2021
'ตลาดหุ้น' ที่ไหนจะรุ่ง ที่ไหนจะร่วง ในปี 2021