ผันผวน..รอปัจจัยใหม่

ผันผวน..รอปัจจัยใหม่

ติดตามตัวเลขการส่งออกในวันนี้ซึ่ง consensus คาดการณ์ว่าจะพลิกเป็น -2.3% หลังจาก +4.28% เมื่อเดือนทีแล้ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กดดันต่อทิศทางการลงทุนได้

ตลาดหุ้นวานนี้

SET Index ปรับตัวลงแรง -13.48 จุด (-0.81%) ปิดที่ระดับ 1,641 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่กระตุ้นการลงทุน รวมถึงมีแรงขายลดความเสี่ยงหลัง Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ตามคาดแต่ไม่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยในช่วงถัดไปส่งผลให้ทิศทาง Fund Flow ไม่แน่นอน ทั้งนี้เป็นแรงขายในกลุ่ม Food ICT และ Energ ในส่วนนักลงทุนต่างชาติพลิกเป็นซื้อสุทธิเล็กน้อย 398 ล้านบาท รวมถึงเป็นฝั่งขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 3,111 ล้านบาท แต่ Net Short TFEX จำนวน 2,197 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้

เรามีมุมมองเป็นกลางคาด SET แกว่งตัว 1,630 – 1,650 จุด โดยแม้ว่าภาวะตลาดจะได้ sentiment บวกจากราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นตัวขึ้น รวมถึงแรงเก็งกำไร FTSE rebalance รอบใหม่ที่จะมีผลวันนี้ 20 ก.ย.ช่วงปิดตลาด อย่างไรก็ตามแรงกดดันจาก OECD ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้ลงต่ำสุดในรอบ 10 ปีสู่ระดับ 2.9% จากผลกระทบสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ประกอบกับทิศทาง Fund Flow ต่างชาติที่ไม่แนนอนหลัง FED ไม่ส่งสัญญาณการปรับลดดอกเบี้ยในช่วงถัดไป นอกจากนี้ต้องติดตามตัวเลขการส่งออกในวันนี้ซึ่ง consensus คาดการณ์ว่าจะพลิกเป็น -2.3% หลังจาก +4.28% เมื่อเดือนทีแล้ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กดดันต่อทิศทางการลงทุนได้ ดังนั้น แนะนำรอซื้อเล่นรีบาวด์ช่วงอ่อนตัว

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • หุ้นเข้าคำนวณ FTSE rebance รอบใหม่  Large cap EGCO , Mid cap KTC , BGRIM , Small cap PLANB THANI THG  , Micro cap  AMANAH
  • กลุ่มธนาคาร (BBL, KTB, KBANK, SCB) ธปท.อนุมัติให้ธนาคารนำสำรองฯส่วนเกินกลับมาเป็นรายได้หรือกำไรได้
  • กลุ่มไฟแนนซ์ (MTC, SAWAD, THANI) ได้ประโยชน์ต้นทุนลดลงจากทิศทางดอกเบี้ยขาลง
  • Defensive stock AOT, INTUCH, ADVANC, BEM, BTS, BDMS, BCH, CHG, GPSC, BGRIM, TPCH, TTW, CPALL

หุ้นแนะนำวันนี้

  • CK (ปิด 23.8 ซื้อเก็งกำไร/เป้า IAA Consensus 31 บาท)  เก็งกำไรข่าว ครม.เศรษฐกิจเตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการก่อสร้างพื้นฐาน และ ข่าว รฟท. นัดกลุ่ม CP เซ็นสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สิ้นเดือน ก.ย.นี้ คาด CK เต็งหนึ่งได้งานก่อสร้างเพราะถือหุ้นอยู่ในกลุ่ม CP อยู่แล้ว หากได้งานนี้จริงจะช่วยปลดล็อกปัญหางานในมือ (Backlog) ที่อยู่ในระดับต่ำออกไป ขณะที่ราคาหุ้นลดลงสะท้อนผลประกอบการที่อ่อนแอใน 2Q19 ไปแล้ว
  • BCH (ปิด 15.2 ซื้อ/เป้า 19 บาท) ราคาหุ้นที่ลดลงเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ เนื่องจากมองว่าผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดของปีมาแล้วและจะเริ่มเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ 3Q19 เนื่องจากเป็นช่วง High season ของธุรกิจ ขณะเดียวกันยังมี Upside จากประเด็นการขอปรับขึ้นค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคมเพราะบริษัทไม่ได้ปรับขึ้นค่ารักษาจากส่วนนี้มานานแล้ว (ขึ้นครั้งสุดท้ายคือ ก.ค.ปี 2017)

บทวิเคราะห์วันนี้

CPF (ปิด 26.25 ซื้อ /เป้า 33.5 บาท), SPRC (ปิด 9.5 ซื้อ /เป้าใหม่ 11.5 บาท จาก 13.2 บาท)

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (-) OECD มองลบปรับลดคาดการณ์ World GDP ปีนี้ลงสู่ระดับ 2.9% โตต่ำสุดในรอบ 10 ปี : องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้าลงสู่ระดับ 2.9% และ 3% จากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 3.2% และ 3.4% ตามลำดับ หลักๆมาจากการลดคาดการณ์ GPD ของสหรัฐและจีนซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าโดยตรง โดย OECD ลดคาดการณ์ GDP ของสหรัฐในปีนี้เป็น 2.4% จากเดิม 2.8% และ ลดคาดการณ์ GDP ของจีนลงเป็น 6.1% จากเดิม 6.2%
  • (-) สถานการณ์ในตะวันออกกลางยังไม่นิ่ง หลังซาอุฯ เผยผลสอบสวนการโจมตีบ่อน้ำมันเป็นฝีมือของอิหร่าน : วานนี้กระทรวงกลาโหมซาอุดีอาระเบีย นำเศษซากชิ้นส่วนอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) และขีปนาวุธนำวิถีที่ใช้โจมตีโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่งของบริษัทซาอุดี อารัมโก เมื่อวันเสาร์ที่ 14 ก.ย.19 โดยระบุว่าเศษซากชิ้นส่วนทั้งหมดมีอิหร่านเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง การเปิดเผยการสอบสวนดังกล่าวอาจจะนำไปสู่การตอบโต้ทางทหารหรือเศรษฐกิจซึ่งจะนำความรุนแรงมาสู่ภูมิภาค ปัจจัยนี้อาจจะหนุนให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นได้อีกในช่วงสั้นแต่จะเป็นลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
  • (+/-) ปัจจัยที่ต้องติดตาม วันนี้ ครม.เศรษฐกิจประชุมนัดที่ 3, และติดตามตัวเลขส่งออกนำเข้าของไทย สัปดาห์หน้าติดตามการประชุมของ กนง. : วันนี้ ครม.เศรษฐกิจจะมีการประชุมกันเป็นนัดที่ 3 เบื้องต้นคาดเน้นหารือเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน โครงการเมกะโปร์เจกต์ และโครงการค้างท่อ ซึ่งจะเป็นบวกต่อกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง นอกจากนี้ยังต้องติดตามการประกาศตัวเลขส่งออกนำเข้าของไทยเดือน ส.ค. ตลาดส่วนใหญ่คาดตัวเลขส่งออกจะพลิกเป็นหดตัว 2% เทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัว 4.28% yoy ขณะที่สัปดาห์หน้าติดตามการประชุม กนง.คาดที่ประชุมจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.5% ตามเดิม หากจะลดดอกเบี้ยอีกครั้งน่าจะอยู่ในช่วงปลายปีหรือต้นปีหน้า