ไต่เขา เลาะโค้ง เติมอารมณ์สปอร์ตให้ “ซีแอลเอส”

ไต่เขา เลาะโค้ง เติมอารมณ์สปอร์ตให้ “ซีแอลเอส”

เมอร์เซเดส-เบนซ์ เปิดตัว CLS 300 d AMG Premium เครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร เสริมตลาดกลุ่ม “ดรีม คาร์” ไปแล้วในงาน บางกอก อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์

      ไต่เขา เลาะโค้ง เติมอารมณ์สปอร์ตให้ “ซีแอลเอส”

     เจ้าคูเป้ ซีดาน เจนเนอเรชันที่ 3 นี้ หน้าตาดูแตกต่างไปจากเดิมพอควร นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงภาษาการออกแบบใหม่ โดยเฉพาะรูปทรงของไฟหน้า ที่แนวคิดการออกแบบเดิมที่คุ้นตาผู้คนมานาน ที่ประกอบไปด้วยเส้นตรงและเส้นโค้งไล่ระดับขึ้นไป มาเป็นลักษณะก้อนเดียว มีขนาดเล็กลง ด้านในตัดเป็นเส้นตรง รับกับกระจังหน้าทรง สี่เหลี่ยมคางหมู ซึ่งคล้ายๆ รุ่นเดิม แต่ต่างกันที่เปลี่ยนด้านยาวมาไว้ด้านล่างแทน และลดบางอย่างออกไปให้ดูเรียบง่ายมากขึ้น เช่น เส้นลากผ่านกระจังหน้าที่เพรียวขึ้น เส้นด้านล่างของช่องดักลม ก็เหลือเส้นเดียว รูปทรงด้านข้างเหมือนจะดึงกลับมาทางซีดานมากขึ้น แต่ก็ยังมีเส้นสายที่เป็นเหมือนคูเป้ 4 ประตู

ไต่เขา เลาะโค้ง เติมอารมณ์สปอร์ตให้ “ซีแอลเอส”

       แฟนเบนซ์อาจจะยังไม่คุ้นตา แต่ผมว่ามันดูดี กระชับ ให้อารมณ์สปอร์ต แต่ก็ยังไม่ทิ้งความหรูด้วยกระจังหน้าแบบไดมอนด์ กริลล์ เช่นเดียวกับด้านหลัง ก็ดูเรียบๆ แต่คมด้วยเส้นสายต่างๆ สรุปสั้นๆ ว่าผมชอบกับแนวทางการออกแบบใหม่ครับ ดูสปอร์ต และมีบุคลิกที่ชัดเจนมากขึ้น

       ภายในกว้างขวาง นั่งสบาย รวมถึงเบาะหลัง แม้หลังคาจะลาดลงแต่ก็มีพื้นที่โปร่งโล่งเหนือศีรษะเหลือเฟือ พื้นที่วางเท้ากว้างเหยียดขานั่งสบาย

       ตามสเปคแล้วรุ่นนี้ใหญ่กว่ารุ่นเดิมทุกมิติ แต่ดูไม่เทอะทะ   

ไต่เขา เลาะโค้ง เติมอารมณ์สปอร์ตให้ “ซีแอลเอส”

       เพิ่มลูกเล่นกับการออกแบบภายในด้วยช่องแอร์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเครื่องยนต์เจ็ท พร้อมเติมแสงไฟเข้าไป เพื่อเพิ่มอุณหภูมิจะเป็นสีแดง ถ้าลดจะเป็นสีน้ำเงิน ส่วนไฟสร้างอารมณ์ในห้องโดยสารนั้นมีถึง 64 เฉดสีเลยทีเดียว

ไต่เขา เลาะโค้ง เติมอารมณ์สปอร์ตให้ “ซีแอลเอส”

       ซีแอลเอส เป็นรถที่สร้างขึ้นจากพื้นฐาน อี-คลาส ให้เป็นรถในรูปแบบ 4 ประตู คูเป้ และสำหรับเจเนอเรชันที่ 3 นี้ เมอร์เซเดส-เบนซ์ บอกว่า มีรูปลักษณ์ที่เรียบง่าย และพยายามรวมความสะดวกสบายของรถแบบซาลูน กับ คูเป้ โดยมีหลักปรัชญาการออกแบบคือ Sensual Purity

       สำหรับอุปกรณ์สำคัญที่ใส่เข้าไป เอาเฉพาะที่ขายในบ้านเราก็แล้วกันคือ 300d AMG Premium เช่น หลังคาซันรูฟ ควบคุมด้วยไฟฟ้า, กันชนหน้า หลัง และสเกิร์ต แบบสปอร์ตจาก AMG, สัญลักษณ์ Mercedes-Benz บนคาลิปเปอร์เบรก, ล้ออัลลอยสปอร์ตจาก AMG แบบ 5 ก้านคู่ ขนาด 19 นิ้ว ไฟหน้าแบบมัลติ บีม แอลอีดี และไฟท้ายแอลอีดี พร้อมเทคโนโลยีไฟเบอร์ออพติก

        แผงหน้าปัดสำหรับผู้ขับขี่แบบดิจิทัล ผู้ขับขี่สามารถเลือกรูปแบบการแสดงผล 3 แบบ เพื่อให้เหมาะกับความรู้สึกขณะขับ ประกอบด้วยแบบคลาสสิก สปอร์ต และโปรเกรสซีฟ โดยแบบคลาสสิกและแบบสปอร์ตจะมีมาตรวัดจำนวน 2 ตัว ในขณะที่แบบโปรเกรสซีฟจะมีมาตร ขนาดใหญ่ตรงกลางและมีมาตรวัดขนาดเล็กอยู่ด้านใน

ไต่เขา เลาะโค้ง เติมอารมณ์สปอร์ตให้ “ซีแอลเอส”

       เบาะหลังพับลงแบบ 40/20/40 เบาะคู่หน้าปรับระดับด้วยระบบไฟฟ้า พร้อมหน่วยบันทึกความจำ พวงมาลัยพาวเวอร์ มัลติฟังก์ชั่น แบบสปอร์ต 3 ก้านท้าย ปุ่มควบคุมแบบทัช คอนโทรล ระบบ ออดิโอ 20 จีพีเอส และหน้าจอแสดงผลข้อมูลแบบกว้าง ขนาด 12.3 นิ้ว ต่อกัน 2 กาบบันไดเรืองแสง ชุดคันเร่งและแป้นเบรกแบบสปอร์ต

       ระบบกุญแจคีย์เลส-โก ระบบแสดงผลข้อมูลการขับขี่บนกระจกบังลมหน้า ระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ ระบบปรับไฟสูงอัตโนมัติ ระบบปรับโคมไฟหน้ารถตามการเลี้ยวของพวงมาลัย ระบบช่วยการนำรถเข้าจอดอัตโนมัติ ระบบช่วยรักษาระยะห่างจากรถที่อยู่ด้านหน้า ระบบนำทาง ระบบเสียงรอบทิศทาง Burmester ฟังก์ชันเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ แอปเปิล คาร์เพลย์ และแอนดรอยด์ ออโต้ ระบบลูทูธ

       แต่ที่บาร์เซโลน่า ไม่มี 300d แต่ไม่เป็นไรครับ ได้ลองรุ่นอื่นๆ ซึ่งก็มีอารมณ์ร่วมบางอย่างที่คล้ายกัน ซึ่งรุ่นที่ผมขับประกอบไปด้วย CLS 350d 4MATIC , CLS 400d 4MATIC และ AMG CLS 53 4MATIC+

       เส้นทางเริ่มต้นจากสนามบิน ห่างออกไป 136 กม. ที่ เอล เซอร์รัต เดล ฟิกาโร คือเป้าหมายทานสเต๊กมื้อเที่ยง ก่อนที่จะมุ่งหน้ากลับเข้าเมืองอีก 78 กม.

ไต่เขา เลาะโค้ง เติมอารมณ์สปอร์ตให้ “ซีแอลเอส”

       เส้นทางหลากหลาย มีทั้งทางด่วน ทางชนบท ทางภูเขา และขับกันฟรีสไตล์ ลงทะเบียนรับกุญแจแล้วต่างคนต่างไปตามรูปแบบการจัดงานของยุโรป จะจอดจะแวะที่ไหนก็ช่าง ขอให้ถึงที่หมายในกรอบเวลากำหนดเป็นพอ

       AMG CLS 53 เป็นคันแรกที่พาผมออกจากสนามบินบาร์เซโลน่า ผ่านทางด่วนที่เรียบกริบ เชิญชวนให้เพิ่มน้ำหนักลงบนคันเร่ง ติดแต่กว่ากฎหมายเขาให้ได้ 120 กม./ชม. แต่ก็มีบางช่วงบางตอนที่ตามๆ รถท้องถิ่นไป ก็ทำให้รู้ว่าอัตราเร่งเรียกมาได้ในทุกความเร็ว การขยับขึ้นไปถึงระดับ 180 ไม่มีจังหวะสะดุดให้หงุดหงิดใจ

       มีลูกเล่นให้ลองใช้คือระบบขับขี่กึ่งอัตโนมัติใช้ง่ายแค่โดยกดปุ่มที่พวงมาลัย จากนั้นรถจะควบคุมทิศทาง ความเร็ว ระยะห่างจากคันหน้าเอง โดยให้ผู้ขับคอยจับเป็นระยะๆ ซึ่งทำงานได้แม่นยำดีทีเดียว

ไต่เขา เลาะโค้ง เติมอารมณ์สปอร์ตให้ “ซีแอลเอส”

       การขับขี่เช่นนี้ใช้โหมดคอมฟอร์ทก็สนุกได้ครับ แต่ถ้าอยากสนุกกว่านั้นก็ใช้สปอร์ตแต่ถ้าอยากได้เสียงปลายท่อเร้าใจมากขึ้นก็ขยับไปเป็นสปอร์ต พลัสแต่ในความรู้สึกส่วนตัวผมว่าใช้คอมฟอร์ทก็เพียงพอ ถ้าอยากสนุกเพิ่ม ใช้สปอร์ต แต่สปอร์ต พลัส จะกระชากกระชั้นเกินไปสำหรับท้องถนน ยกเว้นถ้าขับคนเดียวไม่มีผู้โดยสาร หรือไม่ก็เอาไปลงแทรค

       ส่วน 350d และ 400d ก็ตอบสนองได้ดีเช่นกัน ขับขี่ได้สนุก ทันอกทันใจ เรียกว่าจับคันไหนก็ได้ครับ

       นอกจากทางด่วนช่วงหนึ่งแล้ว เส้นทางที่ทีมงานกำหนดไว้ให้ส่วนใหญ่ที่ทดสอบเป็นทางลัดเลาะบนภูเขาที่สวยงาม เป็นทางเล็กๆ 2 เลน สวนทาง คดโค้ง

ไต่เขา เลาะโค้ง เติมอารมณ์สปอร์ตให้ “ซีแอลเอส”

       ทุกรุ่นจัดการกับเส้นทางแบบนี้ได้สนุก ดูเหมือนจะขับยาก ทางเล็ก โค้ง กับรถคันใหญ่ แต่เอาจริงๆ แล้วไม่ยาก เพราะช่วงล่างที่ให้อารมณ์สปอร์ต แม่นยำ การโยนตัวในโค้งแคบๆ น้อยมาก พวงมาลัยน้ำหนักดี ซึ่งหากเทียบกับซีแอลเอส รุ่นเดิม ต้องบอกว่าแตกต่างกันมาก เห็นได้ชัดเจน รุ่นเดิมยังรู้สึกว่ามีการให้ตัว การโยนตัว ให้รู้สึก

       ซีแอลเอส ยังมีตัวช่วยการขับเส้นทางนี้ โดย เอเอ็มจี เบาะเป็นแบบกึ่งบักเก็ตซีทที่ล็อกตัว กระชับ ส่วนรุ่นอื่นๆ เบาะกว้างๆ นั่งสบาย แต่เมื่อเข้าโค้งปีกเบาะฝั่งตรงข้ามจะยื่นออกมารับลำตัว เช่น โค้งขวา ปีกเบาะด้านซ้ายจะยื่นออกมา โค้งซ้าย ปีกด้านขวาจะยื่นออกมา

       โดยสรุป ซีแอลเอสใหม่ เพิ่มเติมบุคลิกไปพอควร ไม่ว่าจะเป็นความหรูหรา และอารมณ์สปอร์ต ท้ายสุดพูดได้สั้นๆ ว่า น่าใช้ครับ

ไต่เขา เลาะโค้ง เติมอารมณ์สปอร์ตให้ “ซีแอลเอส”

 

ไต่เขา เลาะโค้ง เติมอารมณ์สปอร์ตให้ “ซีแอลเอส”