“กรมชลประทาน” ชูแผนพัฒนาแหล่งน้ำสตูล สร้างความมั่นคงภาคใต้ฝั่งอันดามัน

“กรมชลประทาน” ชูแผนพัฒนาแหล่งน้ำสตูล สร้างความมั่นคงภาคใต้ฝั่งอันดามัน

“กรมชลประทาน” ชูแผนพัฒนาแหล่งน้ำสตูล สร้างความมั่นคงภาคใต้ฝั่งอันดามัน

"สตูล" เป็นอีกจังหวัด ที่เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก สาเหตุหลักเกิดจากปริมาณฝนตกหนักและอิทธิพลน้ำขึ้นน้ำลงของทะเลอันดามัน ขณะที่ปัญหาน้ำแล้งจากฝนทิ้งช่วงและการขยายตัวของชุมชน ทำให้น้ำประปาไม่เพียงพอ ขาดแหล่งน้ำต้นทุน โดยกรมชลประทานเล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้วางแผนพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ สร้างอาคารบังคับน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายในลำน้ำ และป้องกันน้ำท่วมชุมชนสำคัญ

การดำเนินการดังกล่าวมีโครงการที่สำคัญ อาทิ โครงการอ่างเก็บน้ำคลองช้าง ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง โดยมีแนวทางพิจารณาในการพัฒนาโครงการ 3 ทางเลือก ประกอบด้วย การสร้างอ่างเก็บน้ำ ความจุ 36.46 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) และปรับปรุงประสิทธิภาพระบบชลประทาน หรือการก่อสร้างฝายแบบขั้นบันไดและปรับปรุงประสิทธิภาพระบบชลประทาน หรือการก่อสร้างคลองส่งน้ำสายซอยแยกจากคลองสายใหญ่โครงการดุสนและสระพักน้ำเป็นระยะการศึกษาทางเลือกตำแหน่งที่ตั้งเขื่อน 3 ทางเลือก ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับ จะช่วยให้สามารถส่งน้ำต้นทุนเสริม เพิ่มพื้นที่ชลประทาน ให้กับโครงการชลประทานฝายคลองดุสน จาก 26,500 ไร่ เป็น 32,600 ไร่ และโครงการชลประทานฝายคลองการะเกต จาก 3,125 ไร่ เป็น 7,200 ไร่ และยังช่วยส่งน้ำดิบให้ประปาตำบลหมู่บ้านและการประปาส่วนภูมิภาค สร้างเสถียรภาพด้านการผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภคบริโภค ให้แก่อำเภอควนกาหลง อำเภอควนโดน และอำเภอเมืองสตูล อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้มีความมั่นคงและส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างของบประมาณดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในปี 2568

“กรมชลประทาน” ชูแผนพัฒนาแหล่งน้ำสตูล สร้างความมั่นคงภาคใต้ฝั่งอันดามัน

โครงการอ่างเก็บน้ำเขาไคร 2 บ้านปาล์ม 7 ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้ 10.23 ล้าน ลบ.ม. ไว้ใช้เสริมการเพาะปลูก ในระยะฝนทิ้งช่วงให้กับพื้นที่เกษตรประมาณ  4,500 ไร่ และเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคกว่า 3,000 ครัวเรือน ซึ่งอยู่ระหว่างเข้าแผนศึกษาความเหมาะสมและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในปี 2569

 

นอกจากนี้ยังมีโครงการคลองผันน้ำคลองดุสน-คลองวังประ ตำบลควนโดน อำเภอเมืองสตูล ซึ่งจะช่วยระบายน้ำลงสู่ทะเลอันดามันได้อย่างรวดเร็ว ลดผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งตลอดแนวคลองดุสน และสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้ ช่วยเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมให้กับเกษตรกรตลอดแนวคลองผันน้ำ ประชาชนจะได้รับประโยชน์กว่า 14,650 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรกรรมกว่า 15,000 ไร่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างเข้าแผนศึกษาวางโครงการในปี 2568 และจะเข้าแผนศึกษาความเหมาะสมฯ ในปี 2569

 

และอีกหนึ่งโครงการสำคัญ คือ โครงการคลองระบายน้ำคลองละงู-คลองน้ำเค็ม ตำบลละงู อำเภอละงู ที่จะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่อำเภอละงู และพื้นที่ใกล้เคียง อีกทั้งยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตร และสามารถใช้ถนนคันคลอง เพิ่มความสะดวกในการสัญจรของคนในพื้นที่ด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างเข้าแผนงานก่อสร้าง ในปี 2568

“กรมชลประทาน” ชูแผนพัฒนาแหล่งน้ำสตูล สร้างความมั่นคงภาคใต้ฝั่งอันดามัน

“กรมชลประทาน” ชูแผนพัฒนาแหล่งน้ำสตูล สร้างความมั่นคงภาคใต้ฝั่งอันดามัน

สำหรับแผนพัฒนาที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2567 โครงการชลประทานสตูล

มีโครงการปรับปรุงงานชลประทาน อาทิ การปรับปรุงคันกั้นน้ำเค็มคำแป ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู, การปรับปรุงอาคารอัดน้ำปลายคลองระบายสายใหญ่ (ท่าแพร) ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล เป็นต้น รวมถึงมีโครงการจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ด้วยโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านนาข่า ตำบลเขาขาว และโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านโกตา ตำบลกำแพง ในพื้นที่ของอำเภอละงูด้วย

 

แนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนางานชลประทาน กรมชลประทาน ได้ให้ความสำคัญในทุกกระบวนการสร้างการรับรู้และความเข้าใจ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน เพื่อให้แผนงานต่าง ๆ มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์หรือบริบทที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่ยังคงไว้ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือ การสร้างความมั่นคงด้านน้ำ ทั้งด้านอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน