กระทรวงมหาดไทยร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินความจำเป็น (Needs assessment) การดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก

กระทรวงมหาดไทยร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินความจำเป็น (Needs assessment) การดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก

กระทรวงมหาดไทยร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินความจำเป็น (Needs assessment) การดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก มุ่งบูรณาการขับเคลื่อนการขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ สร้างสังคมไทยให้ปลอดภัยจากพิษภัยของบุหรี่อย่างยั่งยืน

วานนี้ (13 มิ.ย. 2566) เวลา 14.00 ที่ห้องประชุมดำรงธรรม ชั้น 2 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานการประชุมและร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินความจำเป็น (Needs assessment) เกี่ยวกับการดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก โดยมี Dr. Adriana Blanco Marquizo หัวหน้าสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ นายแพทย์นิติ เหตานุรักษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ว่าที่ ร.ต.ขรรค์ไชย ทันธิมา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

กระทรวงมหาดไทยร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินความจำเป็น (Needs assessment) การดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก

นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหายาสูบและปัญหาอันเกิดจากควันบุหรี่ ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศในการเพิ่มขึ้นของภาระค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุขเพื่อรักษาและเยียวยา และยังเป็นส่วนหนึ่งของงานด้านสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชนโดยเฉพาะมิติด้านการลดรายจ่ายของประชาชนในระดับครัวเรือนและมิติคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เพื่อลดปัญหาดังกล่าวโดยได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยแบ่งออกเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในส่วนของการดำเนินงานแก้ปัญหาเรื่องยาสูบก็เช่นกัน ในระดับชาติส่วนกลางมีคณะกรรมการที่ทางกระทรวงสาธารณสุขเป็นเลขานุการและกระทรวงมหาดไทยได้เข้าไปเป็นคณะกรรมการร่วมด้วย ซึ่งได้นำผลจากการประชุมมาขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ในส่วนภูมิภาคที่เรียกว่าจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการและมีภาคส่วนต่าง ๆ เป็นกรรมการ เพื่อประสานงานในพื้นที่ทั้งหมด จึงจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาร่วมกับฝ่ายปกครอง ซึ่งมีกำนันผู้ใหญ่บ้านในแต่ละพื้นที่รับนโยบายจากคณะกรรมการชุดนี้ไปปฏิบัติ โดยมีส่วนกลางและส่วนภูมิภาคประสานงานกันในการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ เช่น เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า เรื่องบุหรี่ที่ไม่ถูกกฏหมาย เป็นต้น

กระทรวงมหาดไทยร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินความจำเป็น (Needs assessment) การดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก

กระทรวงมหาดไทยร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินความจำเป็น (Needs assessment) การดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก

Dr. Adriana Blanco Marquizo หัวหน้าสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ขอชื่นชมกระทรวงมหาดไทยที่มีการดำเนินงานอย่างดีมากที่เข้าใจในบทบาทของท้องถิ่นว่าต้องดำเนินการอย่างไรที่จะควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบให้ได้ และประเทศไทยน่าจะเป็นตัวอย่างการถอดบทเรียนที่ดีสำหรับอีกหลาย ๆ ประเทศ เนื่องด้วยการดำเนินงานในครั้งนี้เป็นการดำเนินงานที่รากฐานอย่างแท้จริง ทำให้เห็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานระดับชาติไปสู่ระดับท้องถิ่น ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ได้ส่งความห่วงใยในเรื่องความท้าทาย ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินงาน การบังคับใช้กฎหมายและการควบคุมยาสูบ รวมทั้งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนที่เป็นเจ้าหน้าที่ปกครองและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ต้องทำงานร่วมกันในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการออกนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ แนวทางเพื่อการควบคุมยาสูบของประเทศ รวมถึงการตรากฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบภายในประเทศ เพื่อควบคุมและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนให้ปลอดภัยจากโทษพิษภัย และผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกรูปแบบ การมาเยือนประเทศไทยในครั้งนี้ เพื่อร่วมทบทวนกฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบาย มาตรการควบคุมยาสูบของประเทศไทย และประเมินความจำเป็น (Needs Assessment) ทั้งด้านวิชาการและการเงิน รวมถึงได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อให้ประเทศไทยสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ประกอบการพิจารณาพัฒนา ปรับปรุง และยกระดับการดำเนินการให้สอดคล้องตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกต่อไป

กระทรวงมหาดไทยร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินความจำเป็น (Needs assessment) การดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก

กระทรวงมหาดไทยร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินความจำเป็น (Needs assessment) การดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก

ด้านว่าที่ ร.ต.ขรรค์ไชย ทันธิมา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ดำเนินการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดบริการสาธารณะให้ได้ตามมาตรฐานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดี จึงได้มีการตกลงทำความร่วมมือกับหน่วยงานที่เป็นภาคีเครือข่าย ได้แก่ กรมควบคุมโรค กองทุนสร้างเสริมสุขภาพหรือ สสส. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายพื้นที่สาธารณะปลอดบุหรี่ตามกฎหมายและรวมถึงการสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ซึ่งได้กำหนดแนวทางนโยบายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการให้เป็นองค์กรปลอดบุหรี่ด้วยนโยบาย “5 สร้าง” คือ สร้างนโยบาย ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการ และผู้รับผิดชอบในการควบคุมยาสูบภายในหน่วยงาน มีการจัดทำฐานข้อมูลในการจัดการข้อมูลและการติดตามประมวลผล สร้างสิ่งแวดล้อม โดยการจัดให้มีสถานที่สาธารณะตามที่กฎหมายกำหนดเป็นเขตปลอดบุหรี่ มีการแสดงสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ในที่ทำงานไม่ให้เอื้อต่อการสูบบุหรี่และการเฝ้าระวังไม่มีการทำผิดกฎหมาย สร้างความเข้มแข็งในชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินการเพื่อชุมชนปลอดบุหรี่ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้มีการ “ลด ละ เลิก” บุหรี่ สร้างทักษะส่วนบุคคล เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในปัญหาของการสูบบุหรี่ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายต่างทๆ และการเฝ้าระวังไม่ให้ร้านค้าทำผิดกฎหมาย สร้างระบบบริการสุขภาพ โดยให้มีการบริการช่วยเหลือเพื่อคนที่ต้องการเลิกบุหรี่ให้มากยิ่งขึ้น

กระทรวงมหาดไทยร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินความจำเป็น (Needs assessment) การดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก

กระทรวงมหาดไทยร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินความจำเป็น (Needs assessment) การดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กล่าวว่า มีความปิติและชื่นชมการทำงานของกระทรวงมหาดไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้ทำงานนี้มา 40 ปี ซึ่งองค์การอนามัยโลกเคยมาประเมินประเทศไทยเมื่อ 15 ปีก่อน ได้ให้คำแนะนำว่า ประเทศไทยควรจะต้องมีการทำงานในส่วนภูมิภาคคือลงพื้นที่ด้วยทั้งส่วนราชการและบ้านที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งการปรับปรุงกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ได้มีกลไกการทำงานในพื้นที่ในรูปของคณะกรรมการควบคุมยาสูบจังหวัด มีผู้ว่าราชการเป็นประธานและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมทำงานด้วย วันนี้ดีใจที่เกิดกระบวนการที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในอดีต ที่ได้ขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวลงไปในทุกพื้นที่ เพื่อที่จะช่วยบูรณาการแก้ปัญหาร่วมกัน

นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวในช่วงท้ายว่า ขอบคุณทุกฝ่ายที่มาร่วมขับเคลื่อนการทำงานในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองและสังคมส่วนรวม และขอให้เชื่อมั่นว่า “คนของกระทรวงมหาดไทยพร้อมจะทำงานร่วมกับทุกภาคีเครือข่าย” เพราะงานทุกภาคีเครือข่ายคืองานของกระทรวงมหาดไทย ที่ชาวมหาดไทยมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำออกมาให้ดีที่สุด แม้ว่าจะมีข้อจำกัดที่ท้าทายต่าง ๆ ก็ต้องร่วมแก้ไขปัญหากันไป เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุขอย่างยั่งยืน

กองสารนิเทศ สป.มท.