โควิด-19 "โอมิครอน" ไม่อยากติดก็ยังติดได้ แล้วต้องทำอย่างไร?

โควิด-19 "โอมิครอน" ไม่อยากติดก็ยังติดได้ แล้วต้องทำอย่างไร?

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) โพสต์เฟซบุ๊กประเด็นโควิด-19 "โอมิครอน" ชี้ถึงไม่อยากติดก็ยังติดได้ พร้อมปัจจัยสำคัญ 5 ข้อ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็นโควิด-19 "โอมิครอน" ชี้ถึงไม่อยากติดก็ยังติดได้ พร้อมปัจจัยสำคัญ 5 ข้อ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- "อาการโอมิครอน" 5 เหตุผลที่ทำให้ความรุนแรงของโรคลดน้อยลง

- "อาการโอมิครอน" อัพเดท 8 อาการที่พบในไทย หากเข้าข่ายต้องทำอย่างไร

- ยอด โควิด-19 วันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 3,899 ราย ตาย 19 ราย ATK อีก 3,555 ราย

 

1. "โอมิครอน" พิสูจน์แล้วว่าวัคซีนมาตรฐาน 3 เข็มกันติดได้ 60-70% ระยะแรก แต่ต้องฉีด (ขอชั้นผิวหนังเพื่อปลอดภ้ยจากวัคซีนใช้ 10 ไมโครกรัมของโมเดอร์นา , ไฟเซอร์)

 

2. ฉีดทำไมในเมื่อก็ยังติดในระยะต่อมา? 

- เพราะไม่ต้องการให้ติดทันทีทันใดเป็นแสนเป็นล้านคน

 

3.เกิดอะไรขึ้นถ้าติดจำนวนมหึมาพร้อมกัน? 

- แม้ความเสี่ยงที่ต้องเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าเดลตา 30% และเสียชีวิตน้อยกว่าเดลตา 60% แต่จะมีคนสูงวัย อ้วน โรคประจำตัวที่อาจได้ผลกระทบเต็มๆ ดังนั้น การดึง หน่วงการติดเชื้อจะช่วย รพ.และบุคลากรสาธารณสุข (ที่จะค่อยๆติดเชื้อตามไปด้วย) ให้พอรับมือไหว

 

4.อะไรที่ช่วยนอกจากวินัย วัคซีน?

- ยาที่ใช้ได้เลยเมื่อรู้ว่าติดกันไม่ให้หนัก Dr V channel ยูทูป 27/12/64 (คลิกที่นี่)

 

 

5.ถ้าภายใน 6 สัปดาห์นับจากปีใหม่เป็นต้นไป ถึงสูงสุดและค่อยๆราบเรียบใน 3 เดือนแล้วจะมีอะไรต่อ?

- ประกาศอิสรภาพและภาวนาไม่ให้มีตัวใหม่ที่แพร่เร็ว และอาการหนักโดยเดลตาหนักมากแพร่ช้า โอมิครอนเบากว่ามากแพร่เร็ว

 

และจากนี้ ตามรักษาเยียวยาคนที่หายจากโควิด แต่ยังมีอาการต่อเนื่องยืดยาวหลายระบบของร่างกายไปเป็นเดือนคือ Long COVID ทั่วโลกประมาณการว่ามีถึง 30% และกระทบสมอง 8%

 

 

CR เฟซบุ๊ก : หมอธีระวัฒน์