ยังไม่ได้เงินช่วยเหลือชาวนา โอดน้ำท่วม-ภัยแล้งข้าวเสียหาย ธ.ก.ส. มีคำตอบ

เกษตรกรโอด เจอทั้งน้ำท่วม-ภัยแล้งข้าวเสียหาย ยังไม่ได้เงินช่วยเหลือชาวนา ยังรอความหวัง โครงการประกันรายได้เกษตรกร นำมาจ่ายหนี้ค่ารถเกี่ยวข้าว ตรวจสอบ ธ.ก.ส. มีคำตอบ เงินไร่ละ 1,000 บาท และ เงินประกันราคาข้าว

อัพเดทต่อเนื่อง เกษตรกรโอด เจอทั้งน้ำท่วม-ภัยแล้ง ทำให้ข้าวเสียหาย แต่ยังไม่ได้ เงินช่วยเหลือชาวนา โดยยังรอความหวัง โครงการประกันรายได้เกษตรกร นำมาจ่ายหนี้สิน ตรวจสอบ ธ.ก.ส. มีคำตอบ เงินไร่ละ 1,000 บาท และ เงินประกันราคาข้าว

วันนี้ (10 ธันวาคม 2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา หลังจากประสบกับสถานการณ์ภัยแล้ง เมื่อเริ่มต้นฤดูเพาะปลูกในปี 2564 ต่อเนื่องด้วยอุทกภัยเมื่อข้าวถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้นาข้าวของเกษตรกรหลายรายได้รับความเสียหาย ได้ผลผลิตไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ประกอบกับสถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

จากการลงพื้นที่ นายสมชาย วิชัยรัตน์ ชาวนาบ้านหัวตลาด ตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ที่นาของตนเองประมาณ 50 ไร่ ได้ถูกภัยธรรมชาติเล่นงานทั้งภัยแล้งและถูกน้ำท่วมขัง ทำให้ต้นข้าวได้รับความเสียหาย ซึ่งเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวตนเองก็ต้องว่าจ้างรถเกี่ยวข้าว เพื่อนำมาเก็บเกี่ยวเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้เพาะปลูกในปีถัดไปด้วย ซึ่งที่นา 50 ไร่ของตนเองในปีนี้เก็บเกี่ยวข้าวได้เพียง 1-2 ตันเท่านั้น ทำให้ไม่มีข้าวเพียงพอจะนำไปขาย ก็ได้แต่เพียงหวังพึ่งเงินประกันราคาข้าวที่รัฐบาลจะช่วยเหลือเพื่อนำเงินในส่วนนี้ไปจ่ายค่ารถเกี่ยวข้าวที่ติดค้างเอาไว้

ยังไม่ได้เงินช่วยเหลือชาวนา โอดน้ำท่วม-ภัยแล้งข้าวเสียหาย ธ.ก.ส. มีคำตอบ

ขณะที่ ป้าแจ๋ว อยู่เย็น ก็ประสบเหตุในลักษณะคล้ายคลึงกัน ที่ต้องรอเงินประกันราคาข้าวเปลือกเพื่อนำไปจ่ายให้กับค่ารถเกี่ยวข้าวประมาณ 10,000 – 20,000 บาท ซึ่งก็ยังไม่คุ้มค่ากันกับผลผลิตข้าวเปลือกที่ได้ พร้อมอยากให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับชาวนาที่ถูกผลกระทบกับน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา เพื่อที่ชาวนาจะได้ไม่ต้องรับภาระหนักจนเกินไป

ยังไม่ได้เงินช่วยเหลือชาวนา โอดน้ำท่วม-ภัยแล้งข้าวเสียหาย ธ.ก.ส. มีคำตอบ

กรุงเทพธุรกิจ ได้รายงานความคืบหน้า โครงการประกันรายได้เกษตรกร  อย่างต่อเนื่อง นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. เปิดเผยล่าสุดว่า ตามที่ ธ.ก.ส. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 ตามกรอบการอนุมัติวงเงินงบประมาณเพิ่มเติมจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564  และคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564  จำนวน 74,569 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกร 4.69 ล้านครัวเรือน

เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ให้ได้รับผลตอบแทนจากการผลิตที่เหมาะสม เป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน และช่วยแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และอุทกภัย โดยที่กลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติ

ยังไม่ได้เงินช่วยเหลือชาวนา โอดน้ำท่วม-ภัยแล้งข้าวเสียหาย ธ.ก.ส. มีคำตอบ

โดยประกันรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่

  1. ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน
  2. ข้าวเปลือกหอมมะลินอกเขต ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
  3. ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน  
  4. ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน
  5. ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรโดยตรง ตามข้อมูลที่ได้รับจากกรมส่งเสริมการเกษตร และผ่านการประชุมของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงฯ งวดที่ 3 - 7 ในช่วงระหว่างวันที่ 9 – 13 ธันวาคม 2564 รวมทั้งสิ้น 3.58 ล้านครัวเรือน เป็นเงินจำนวนกว่า 64,000 ล้านบาท 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :



เกษตรกร สามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect  รวมถึงสามารถเบิกถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ

ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการยกระดับราคาข้าวเปลือก ธ.ก.ส. ยังได้ดำเนินมาตรการคู่ขนานผ่านโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 เพื่อให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนระหว่างชะลอการขายข้าว ไม่ต้องเร่งขายข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากและราคาตกต่ำ วงเงินสินเชื่อรวมกว่า 20,000 ล้านบาท โดยไม่คิดดอกเบี้ยกับเกษตรกร เป็นระยะเวลา 5 เดือน ตั้งเป้าดูดซับปริมาณข้าวเปลือก 2 ล้านตัน

ยังไม่ได้เงินช่วยเหลือชาวนา โอดน้ำท่วม-ภัยแล้งข้าวเสียหาย ธ.ก.ส. มีคำตอบ

ประกอบด้วย
ชนิดข้าวเปลือกหอมมะลิในเขต 23 จังหวัด ได้แก่

  • จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด
  • ภาคเหนือ 3 จังหวัด (เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา)

    ข้าวเปลือกหอมมะลินอกเขต 23 จังหวัด ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 และข้าวเปลือกเหนียว

คุณสมบัติข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการ

  • ต้องเป็นข้าวเปลือกที่มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 สิ่งเจือปนไม่เกินร้อยละ 2 และสีได้ต้นข้าวไม่ต่ำกว่า 20 กรัม โดยในส่วนข้าวหอมมะลิจะมีเมล็ดข้าวแดงได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 (ไม่เกิน 22 เมล็ดใน 100 กรัม)
  • กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อตัน ดังนี้
    ข้าวเปลือกหอมมะลิในเขต 23 จังหวัด 11,000 บาท/ตัน  ข้าวหอมมะลินอกเขต 23 จังหวัด 9,500 บาท/ตัน  
    ข้าวเจ้า 5,400 บาท/ตัน  
    ข้าวหอมปทุมธานี 1  7,300 บาท/ตัน
    และข้าวเหนียว 8,600 บาท/ตัน

โดยเกษตรกร กู้ได้รายละไม่เกิน 300,000 บาท สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรแห่งละ ไม่เกิน 20 ล้านบาท และวิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท กรณีชำระคืนภายใน 5 เดือน ไม่มีดอกเบี้ย (รัฐบาลรับภาระจ่ายแทน)

นอกจากนี้รัฐบาลยังช่วยเหลือค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือก 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรเก็บข้าวเอง ได้รับ 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรฝากข้าวกับสถาบันเกษตรกร เกษตรกรจะได้รับ 500 บาทต่อตัน และสถาบันฯจะได้รับ 1,000 บาทต่อตัน ระยะเวลาจัดทำสัญญาตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 กรณีภาคใต้ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2565 

และสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65 วงเงินสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท สำหรับสหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชนที่ประกอบธุรกิจรวบรวมข้าวจากเกษตรกรสมาชิก เกษตรกรทั่วไป เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพ เช่น การลดความชื้น การแปรรูปผลผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม วงเงินกู้สำหรับสหกรณ์การเกษตร    แห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรแห่งละไม่เกิน 20 ล้านบาท และวิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งคิดจากสถาบันฯ เพียงร้อยละ 1 ต่อปี ส่วนที่เหลือรัฐบาล รับภาระแทน ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อ ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 กันยายน 2565.

ขณะที่ นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.นี้ เป็นต้นไป ธนาคารจะเริ่มทยอยโอนจ่ายเงินค่าบริหารจัดการและพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน เป็นเงินกว่า 5.4 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ การจ่ายเงินดังกล่าวถือเป็นเงินช่วยเหลือต้นทุนแก่เกษตรกรในการบริหารจัดการการปลูกข้าว โดยจะให้เพิ่มเติมจากเงินประกันรายได้ เงินช่วยเหลือชาวนา ซึ่งจะจ่ายให้ไร่ละ 1 พันบาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ โดยฐานรายชื่อผู้ที่ได้เงินช่วยเหลือดังกล่าวจะเป็นฐานเดียวกันกับฐานการจ่ายเงินประกันรายได้

ข้อมูลจาก กระทรวงการคลัง , ธ.ก.ส. และกรุงเทพธุรกิจ

ตรวจสอบ "ช่วยเหลือเกษตรกร" ตรวจสอบผลการรับการสนับสนุนตามโครงการรัฐ ได้ที่นี่ 

เข้าสู่เวบไซต์ chongkho.inbaac.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

กรอกเลขประจำตัวประชาชน เพื่อใช้ในการเช็คเงินเกษตรกร การเช็คเงินเกษตรกร 2564 สามารถทราบผลได้ทันที หลังจากกรอกเลขบัตรประชาชน โดยจะมีรายละเอียดของบัญชี จำนวนเงิน และโครงการของเงินช่วยเหลือที่ได้รับ

ยังไม่ได้เงินช่วยเหลือชาวนา โอดน้ำท่วม-ภัยแล้งข้าวเสียหาย ธ.ก.ส. มีคำตอบ