เว็บ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ยังเข้าไม่ได้ DSI เร่งหาตัวแฮกเกอร์ รับกู้ข้อมูลคืนยาก

เว็บ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ยังเข้าไม่ได้ DSI เร่งหาตัวแฮกเกอร์ รับกู้ข้อมูลคืนยาก

กรณีที่เว็บไซต์ของสำนักงาน "ศาลรัฐธรรมนูญ" constitutionalcourt.or.th ถูกแฮกจนถึงตอนนั้นก็ยังไม่สามารถเข้าได้ ล่าสุด DSI เร่งหาตัวแฮกเกอร์ รับกู้ข้อมูลคืนยาก

กรณีที่เว็บไซต์ของสำนักงาน "ศาลรัฐธรรมนูญ" constitutionalcourt.or.th ถูกแฮกจนถึงตอนนั้นก็ยังไม่สามารถเข้าได้ ล่าสุดทาง DSI เร่งหาตัวมือแฮก พร้อมเตรียมใช้งบกองทุนดีอีเอส หนุนจัดทำระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ของภาครัฐ

 

 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- ด่วน! เว็บไซต์ "ศาลรัฐธรรมนูญ" โดนแฮก

- ชวนรู้ “ศาลรัฐธรรมนูญ” คืออะไร มีหน้าที่ตรวจสอบ-วินิจฉัยอะไรบ้าง?

 

ความคืบหน้าเกี่ยวกับการถูกแฮกของเว็บไซต์ของสำนักงาน "ศาลรัฐธรรมนูญ" ล่าสุด นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ระบุว่า จากการตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญได้จ้างบริษัทเอกชนรายหนึ่งดูแล มองว่าบริษัทอาจไม่มีมาตรการป้องกันที่เพียงพอ จนทำให้แฮกเกอร์เข้ามาแฮกข้อมูลได้ ขณะนี้ได้ปิดเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนการกู้คืนข้อมูลเว็บไซต์เป็นไปได้ยากและข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลประชาสัมพันธ์เท่านั้น

 

ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) อยู่ระหว่างเร่งสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำผิดที่เกี่ยวข้อง ต้องใช้ระยะเวลา โดยผู้กระทำผิดอาจมี 2 รูปแบบ คือ เป็นทั้งคนภายในและภายนอก โดยคนในอาจเป็นแอดมิน ที่มีทั้งชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน ส่วนคนภายนอกอาจเป็นแฮกเกอร์ที่เป็นได้ทั้งคนในและต่างประเทศ คาดว่าเร็วๆ นี้จะทราบตัวบุคคลผู้ที่กระทำผิด ฝากเตือนไปยังทุกหน่วยงานราชการ ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในมาตรการป้องกันความปลอดภัยในเว็บไซต์ข้อมูลข่าวสาร สร้างชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านที่คาดเดายาก และจ้างบริษัทที่มีความพร้อมดูแลข้อมูลอย่างมีมาตรฐาน

 

 

รมว.ดีอีเอส ยอมรับว่า ภาครัฐมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ จัดทำระบบไอทีและระบบข้อมูล บางหน่วยงานยังไม่มีความพร้อมในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ได้ หารือกับ สกมช. เพื่อจัดตั้งคณะทำงานพูดคุยกับทุกหน่วยงานที่มีข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คำแนะนำและจัดสรรงบประมาณพัฒนาระบบ ป้องกันการจู่โจมจากแฮกเกอร์ได้ เบื้องต้นอาจใช้งบจากกองทุนดีอี ที่มีงบต่อปีอยู่ที่ประมาณ 4,000 -5,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงระบบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับทุกหน่วยงานภาครัฐที่ไม่มีงบประมาณ ตั้งเป้าวางแผนไว้ในปีนี้

 

โดยเมื่อเวลา 14.00 น.ที่ผ่านมา ทีมข่าวได้เข้าไปตรวจสอบเว็บไซต์สำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ ปรากฏว่า ก็ยังไม่สามารถใช้งานได้ในขณะนี้

 

เว็บ \"ศาลรัฐธรรมนูญ\" ยังเข้าไม่ได้ DSI เร่งหาตัวแฮกเกอร์ รับกู้ข้อมูลคืนยาก