ห่วง4 จ.ใต้พบผู้ติดเชื้อพุ่งต่อเนื่อง เตือนปชช.คุมเข้มป้องกันตนเอง

ห่วง4 จ.ใต้พบผู้ติดเชื้อพุ่งต่อเนื่อง เตือนปชช.คุมเข้มป้องกันตนเอง

ศบค. รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ เพิ่ม 10,828 ราย เสียชีวิต 77 ราย กำลังรักษา 112,251 ราย หายป่วยกลับบ้าน 11,894 ราย หวั่น 4 จังหวัดใต้น่าห่วง รพ.ม.อ.แจ้งเตือนประชาชนคุมเข้มตนเองป้องกันโควิด-19

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ของรัฐบาล ได้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันที่ 3 ต.ค.2564 พบว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รวม 10,828 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศ 10,724 ราย ติดเชื้อในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 104 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 14 ราย ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมในช่วงการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ตั้งแต่ 1 เมษายน - 2 ตุลาคม 2564 มีจำนวน 1,608,569 ราย  ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 77 คน ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 16,920 คน

ห่วง4 จ.ใต้พบผู้ติดเชื้อพุ่งต่อเนื่อง เตือนปชช.คุมเข้มป้องกันตนเอง

  • พบผู้ป่วยรายใหม่ 10,828 ราย

ผู้ติดเชื้อสะสมนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดเมื่อต้นปี 2563 มีจำนวน 1,637,432 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 17,014 คน ทำให้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมอยู่ในอันดับที่ 28 ของโลก สำหรับผู้หายป่วยเพิ่ม 11,894 ราย ผู้หายป่วยสะสม 1,480,741 ราย และผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่างการรักษาตัว 112,251 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 3,074 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจ 712 ราย

อ่านข่าว :  อัพเดท "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม.-ปริมณฑล 2,498 จับตายะลา ระยอง ชลบุรี

 

  • 10 จังหวัดพบผู้ติดเชื้อสูงสุด

สำหรับผู้เสียชีวิตรายใหม่  77 ราย เป็นเพศชาย 42 ราย และหญิง 35 ราย เป็นคนไทย75 ราย และเมียนมา 2 ราย โดย 91% จะเป็นผู้ป่วยอายุ60ปีขึ้นไป  มีโรคเรื้อรัง  ส่วนปัจจัยเสี่ยงมีการติดเชื้อในพื้นที่ คนรู้จัก  ครอบครัว อาศัยร่วมกัน และอาชีพเสี่ยง

ห่วง4 จ.ใต้พบผู้ติดเชื้อพุ่งต่อเนื่อง เตือนปชช.คุมเข้มป้องกันตนเอง 10 จังหวัดอันดับแรกที่พบผู้ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ กทม. 1,211 ราย ยะลา 783 ราย สมุทรปราการ  760 ราย ชลบุรี 643 ราย ระยอง 533 ราย นราธิวาส 442 ราย ปัตตานี 412 ราย นครศรีธรรมราช 378 ราย ปราจีนบุรี 362 ราย และสงขลา 353 ราย

ห่วง4 จ.ใต้พบผู้ติดเชื้อพุ่งต่อเนื่อง เตือนปชช.คุมเข้มป้องกันตนเอง

 

  • 4 จังหวัดใต้น่าห่วง พบผู้ติดเชื้อสูงขึ้น

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์(ม.อ.) ได้รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผ่านเฟสบุ๊ค  “โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ - Songklanagarind Hospital” ว่า วันที่ 3 ต.ค. 2564พบ ผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันรายใหม่ 12 คน  กำลังรักษาใน รพ.ม.อ. 57 คน (อาการหนัก 18 คน) กำลังรักษาใน ส่วนขยาย รพ.ม.อ.ฯ(ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ) 269 คน มีผู้ป่วยหนักสะสม 160 คน มีผู้ป่วยรักษาหายสะสม 2,618 คน มี ผู้ป่วยเสียชีวิตสะสม (ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค.64) 29 คน มีผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันสะสม (ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.64) 2,973คน ส่วนผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการพักรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation)  กำลังรักษา 98 คน

ห่วง4 จ.ใต้พบผู้ติดเชื้อพุ่งต่อเนื่อง เตือนปชช.คุมเข้มป้องกันตนเอง

นอกจากนั้น ทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ม.อ.)ได้แจ้งเตือนประชาชนสงขลาและ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังมีตัวเลขผู้ป่วยโควิดสูง ให้คุมเข้มตัวเองเริ่มตั้งแต่มาตรการที่บ้านและ ที่ทำงาน ล้างมือ ใส่หน้ากาก เมื่อซื้อของแล้วรีบกลับ ไม่ควรไปตลาดบ่อย หากจำเป็นไม่ควรเดินเกิน 15 นาที และเลือกในที่โล่งเสมอ งดรับแขก งดกินข้าวร่วมกับคนนอกครอบครัวและเก็บตัวอยู่กับบ้านให้มากที่สุด

ทั้งนี้ สำนักงานควบคุมป้องกันโรค 12 เผยว่า ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้พบผู้ป่วยสูง 4 จังหวัด มี จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และ จ.ยะลา มาจากพฤติกรรมส่วนตัวเช่นการบริโภค พิธีกรรมศาสนาและที่สำคัญคือปฏิเสธเข้าถึงวัคซีนในสัดส่วนยังสูง

  • ฉีดวัคซีนครบ2เข็มแล้วกว่า 20ล้านคน

 

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ของรัฐบาล ได้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย ข้อมูลวันที่ 2 ต.ค.2564  เวลา 18.00 น. พบว่า ขณะนี้มีผู้รับวัคซีนเข็มที่ 1 สะสม 32,904,750 ราย คิดเป็น 45.7% ของประชากร และเข็มที่ 2 สะสม 20,531,903 ราย คิดเป็น 28.5% ของประชากร และเข็มที่ 3 สะสม 1,432,758 ราย คิดเป็น 2.0% ของประชากร

ห่วง4 จ.ใต้พบผู้ติดเชื้อพุ่งต่อเนื่อง เตือนปชช.คุมเข้มป้องกันตนเอง

ส่วนความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนจำแนกตามจังหวัด และการได้รับวัคซีนตามเป้าหมายวันที่ 3 ต.ค.2564 (ผลของการดำเนินงานถึงวันที่ 2 ต.ค.2564) พบว่า ความครอบคลุมประชากรทั้งหมด มากกว่าหรือเท่ากับ 50% ได้แก่ กทม.ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นนทบุรี  อยุธยา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก พังงา ภูเก็ต และระนอง ขณะที่ภาคใต้ 4 จังหวัด  สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ยังไม่มีจังหวัดไหนได้รับการฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรทั้งหมดมากกว่าหรือเท่ากับ 50%