ไม่แนะนำ! บุคลากรฯ ด่านหน้า 3 กลุ่มฉีด 'วัคซีนไฟเซอร์'

ไม่แนะนำ! บุคลากรฯ ด่านหน้า 3 กลุ่มฉีด 'วัคซีนไฟเซอร์'

สธ.เผยเกณฑ์จัดสรรวัคซีนไฟเซอร์หบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า  เน้น  4 กลุ่ม ไม่แนะนำใน 3 กลุ่มเหตุภูมคุ้มกันยังสูง-ยังไร้ข้อมูลวิชาการสนับสนุน

          เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 2 ส.ค. 2564 ในแถลงข่าว เรื่อง “การจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์” นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะทำงานด้านบริหารจัดการการให้วัคซีนโควิด19(ไฟเซอร์)กล่าวว่า  ในส่วนของวัคซีนไฟเซอร์ที่รับบริจาคมาราว 1.5 ล้านโดส มีการจัดสรรเป็น 4 ก้อน คือ   1.บุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด19ทั่วประเทศ จำนวน 7 แสนโดส   2. ฉีดในผู้สูงอายุ  ผู้ที่มี 7 กลุ่มโรคเรื้อรังอายุตั้งแต่ 12ปีขึ้นไป  และหญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งหมายถึง 13 จังหวัด ณ วันที่จัดสรร ได้แก่   กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส จำนวน 645,000 โดส

3. ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย โดยเป็น ผู้ที่มี 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง  หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ และคนไทยผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศที่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เช่น นักเรียน  นักศึกษา เป็นต้น จำนวน 150,000 โดส และ 4  ทำการศึกษาวิจัย จำนวน 5,000 โดส   นอกจากนี้ เก็บไว้ประมาณ 3,450 โดส สำหรับควบคุมการระบาดของสายพันธุ์เบตา ที่อาจจะใช้วัคซีนตัวอื่นได้ยาก

  " ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มอื่นๆที่คิดว่าจะมีปัญหาว่า ตัวเองตกหล่นหรือไม่นั้น หน่วยบริการทุกหน่วยสามารถเสนอมาทางนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ส่งมายังกรมควบคุมโรคกรณีส่งเพิ่มเติม ส่วนที่สอง ใน 13 จังหวัดรวมกทม.ที่มีความเสี่ยงสูงให้ติดต่อทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) โดย สสจ.จะกระจายวัคซีนไปตามหน่วยฉีดที่สำคัญที่เป็นจุดฉีดของจังหวัด เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมาฉีด มีการนัดหมายล่วงหน้า หากคิดว่าจะตกหล่นอย่างไรให้ประสานสสจ. โดยในส่วนกทม. คือ สำนักอนามัย ในการรับประสานเรื่องนี้"นพ.สุระกล่าว

   

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับวัคซีนไฟเซอร์จากการบริจาคของประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 1,503,450 โดส ซึ่งเป็นตัวเลขทางการจากสถานทูตสหรัฐอเมริกา  ทั้งนี้ จากการประชุมของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติการฉีดวัคซีนของประเทศได้ออกคำแนะนำการให้วัคซีนไฟเซอรให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า  โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทุกคนที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยโควิดจากการปฏิบัติงานทั่วประเทศ หมายรวมถึง นักศึกษาหรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานหรือการเรียนการสอนที่ต้องปฏิบัติงานจริง เช่น แผนกผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน คลินิกทางเดินหายใจ ห้องฉุกเฉิน แผนกผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสนาม เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สอบสวนโรค เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่กักัน หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 อื่นๆ ตามการพิจารณาของสถานพยาบาล หน่วยงานต้นสังกัด  

       โดยมีหลักการให้วัคซีน ดังนี้ 1.บุคลากรที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค หรือซิโนฟาร์ม ครบ 2 เข็ม พิจาณาให้วัคซีนไฟเซอร์กระตุ้น 1 เข็ม  2.บุคลากรที่ได้รับวัคซีนใดๆมาแล้วเพียง 1 เข็ม พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 โดยกำหนดระยะห่างระหว่างโดสตามชนิดของวัคซีนเข็มที่ 1 เป็นหลัก  3.บุคลากรที่ไม่เคยได้วัคซีนใดๆมาก่อน พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ และ 4.บุคลากรที่เคยติดเชื้อโควิดและไม่เคยได้รับวัคซีน พิจารณาให้วัคซีนไฟเซอร์ 1 เข็ม โดยมีระยะห่างจากวันที่พบการติดเชื้ออย่างน้อย 1 เดือน

     “วัคซีนโควดิ 19 ยังเป็นการใช้ในภาวะฉุกเฉินจึงมีข้อมูลใหม่ๆออกมาตลอดเวลาทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย เพราะมีการฉีดมาไม่ถึงปี เพราะฉะนั้นภูมิต้านทานลดลงในช่วงไหน ต้องมีข้อมูลวิชาการมากำหนดว่าต้องฉีดวัคซีนอย่างไร เช่น หลังมีการะบาดของสายพันธุ์กลายพันธฺเดลตา ทำให้ภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนไปเกือบทุกชนิดลดลง จึงจะต้องเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดกระตุ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อโรคสูง เช่น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า เพื่อให้ด่านหน้ามีภูมิคุ้มกันไม่เจ็บป่วย สามารถช่วยเหลือประชาชนต่อไปได้ และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมั่นใจ การดูแลประชาชนไม่ลดหย่อนลง แต่หลักการให้ยังยึดเหมือนเดิมคือเป็นไปตามความสมัครใจ”นพ.โอภาสกล่าว

นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า คณะอนุกรรมการฯที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชายสาขาต่างๆ เช่น กุมารแพทยื อายุรแพทย์ ระบาดวิทยา วัคซีน และเวชศาสตร์ป้องกัน มีคำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เคยได้รับวัคซีนดังต่อไปนี้   วัคซีนซิโนแวคเข็มแรกและแอสตร้าเซนเนกาเข็มที่ 2 หรือวัคซีนแอสตร้าฯ  2 เข็ม หรือ วัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม และได้รับเข็มกระตุ้นด้วยแอสตร้าฯ 1 เข็ม  ไม่แนะนำให้วัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มกระตุ้น เพราะบุคลากรดังกล่าวยังมีภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับที่สูงเพียงพอเนื่องจากเพิ่งฉีดวัคซีน และยังไม่มีข้อมูลวิชาการสนับสนุนว่าจะฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อไหร่ อย่างไรก็ตาม ให้ขึ้นทะเบียนไว้ และให้ติดตามอย่างต่อเนื่องตามหลักฐานข้อมูลวิชาการและวัคซีนเข้าเพิ่มในระยะต่อไป

เมื่อสอบถามถึงกำหนดการกระจายวัคซีนไปฉีดตามพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย นพ.โอภาส กล่าวว่า จะเริ่มทยอยส่งในสัปดาห์นี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการซักซ้อม และสอบถามความพร้อมของพื้นที่ปลายทางทั้งเรื่องของการจัดเก็บ และความพร้อมในการฉีดวัคซีน เพราะอย่างที่แจ้งให้ทราบว่าการเก็บวัคซีนไฟเซอร์ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้ได้ ดังนั้นหากพื้นที่ไหนพร้อมก็จะจัดส่งไปให้ ไม่ได้กระจายพร้อมกัน

     พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสถา กล่าวว่า เชื่อว่าบุคลกรด่านหน้าได้วัคซีนส่วนใหญ่และมีข้อมูลวิชากฟารสนับสนุนชัดเจน  ส่วนอีก 3 กลุ่มที่ยังไม่ได้ไฟเซอร์ก็จะมีการติดตาม และหากมีข้อมูลวิชาการมาสนับสนุนก็จะได้วัคซีนไฟเซอร์นแน่นอนถ้ามีหลักข้อมูลทางวิชาการและความปลอดภัย