สสว.ดันเอสเอ็มอีแสนราย เข้าโปรเจคจัดซื้อภาครัฐ

สสว.ดันเอสเอ็มอีแสนราย  เข้าโปรเจคจัดซื้อภาครัฐ

ตลาดจัดซื้อจัดจ้างเป็นช่องทางสำคัญสำหรับเอสเอ็มอีในการสร้างโอกาสทางธูรกิจ ซึ่งหน่วยงานผู้ซื้อหรือผู้ขายต้องขึ้นทะเบียนในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP) กับกรมบัญชีกลาง

ตลาดจัดซื้อจัดจ้างเป็นช่องทางสำคัญสำหรับเอสเอ็มอีในการสร้างโอกาสทางธูรกิจ ซึ่งหน่วยงานผู้ซื้อหรือผู้ขายต้องขึ้นทะเบียนในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP) กับกรมบัญชีกลาง ซึ่งปัจจุบันผู้ซื้อภาครัฐมีจำนวนไม่น้อยกว่า 64,000 หน่วยงาน คิดเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดังกล่าวมากกว่า 114,000 หน่วย ที่ซื้อสินค้าและบริการมูลค่าไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านล้านบาทต่อปี

วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ​สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า เอสเอ็มอีสนใจโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐจำนวนมาก โดยล่าสุดเอสเอ็มอีลงทะเบียนแล้ว 4 หมื่นราย มีสินค้ากว่า 2 แสนรายการ ซึ่งมั่นใจว่าจะถึงเป้าหมาย 1 แสนรายในปี 2564 เพราะเอสเอ็มอีเข้าใจโครงการมากขึ้น และเอสเอ็มอีเดิมที่ค้าขายกับภาครัฐ 6 หมื่นราย เข้ามาลงทะเบียน เพื่อรับสิทธิ์แต้มต่อเสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดได้ไม่เกิน 10% จะได้รับคัดเลือกอัตโนมัติ 

รวมทั้งกำหนดให้ภาครัฐจะต้องซื้อสินค้าและบริการจากเอสเอ็มอีในท้องถิ่นไม่ต่ำกว่า 30% และต้องคัดเลือกเอสเอ็มอีในจังหวัดก่อนอย่างน้อย 3 ราย ซึ่งทำให้มีเม็ดเงินภาครัฐลงไปถึงเอสเอ็มอี 1.3 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ หลังจากออกกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563 ให้สิทธิประโยชน์เอสเอ็มอีที่ขึ้นทะเบียนกับ สสว.ในระบบ THAI SME-GP เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2563 โดยให้เอสเอ็มอีทุกรายแม้เคยขึ้นทะเบียนในระบบ e-GP แล้วต้องขึ้นบัญชีรายการสินค้าและบริการ และบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการกับ สสว. ใน www.thaismegp.com หรือTHAI SME-GP เพื่อรับสิทธิประโยชน์ และเอสเอ็มอีที่สนใจติดต่อข้อมูลคอลเซ็นเตอร์ 1301 หรือศูนย์ให้บริการเอสเอ็มอีครบวงจร (OSS) ทั่วประเทศ

162376225494

“สสว.เตรียมต่อยอดสู่การจัดซื้อจัดจ้างภาคเอกชนอีกด้วย ซึ่งกำลังทำแพ็กเกจส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าร่วม เช่น การนำเงินที่ซื้อสินค้าและบริการเอสเอ็มอีในโครงการนี้เข้ามาหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า เหมือนการบริจากการกุศล และมาตรการอื่นเสนอให้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาภายในเดือน ก.ย.นี้ ซึ่งอาจจะเป็นโครงการชั่วคราวเพื่อกระตุ้นยอดซื้อให้กับเอสเอ็มอีช่วง 3 เดือนไตรมาส 4 ปีนี้ จะเพิ่มรายได้ให้เอสเอ็มอีในช่วงโควิด-19 หรืออาจจะเป็นมาตรการระยะยาวก็ได้”

นอกจากนี้ สสว.เตรียมหารือกับธนาคาร 14 แห่ง ที่มีสาขาทั่วประเทศ ให้สนับสนุนเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการให้นำใบคำสั่งซื้อจากภาครัฐไปยื่นขอสินเชื่อนำเงินมาลงทุนซื้อสินค้าหรือผลิตให้กับภาครัฐได้ เพราะถือว่าการจัดซื้อของรัฐมีความน่าเชื่อถือสูง และเอสเอ็มอีกลุ่มนี้ได้รับการพัฒนาและดูแลอย่างใกล้ชิดจาก สสว. จึงควรได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน

สำหรับโครงการนี้ จะทำให้ สสว.มีฐานข้อมูลใหญ่มากทั้งตัวกิจการ ผู้ประกอบการและสินค้า ซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำ e-catalog ที่ใหญ่ที่สุดของไทย ซึ่งหากเอสเอ็มอีที่จดทะเบียนนิติบุคคลกับกระทรวงพาณิชย์เข้ามาลงทะเบียนร่วมโครงการ และแต่ละรายมีสินค้าเฉลี่ย 4-5 รายการ ก็จะทำให้มีข้อมูลผู้ค้าเอสเอ็มอีและจำนวนสินค้าให้เลือกกว่า 3 รานรายการ ทำให้เป็นฐานชข้อมูลการซื้อสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดของอาเซียน 

รวมทั้งผู้ซื้อต่างประเทศเข้ามาเลือกซื้อสินค้าได้อย่างง่ายดายและสะดวก ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการขยายฐานลูกค้าให้กัยเอสเอ็มอีไทย สสว. มั่นใจว่าจะไปถึงเป้าหมายนี้ได้ เพราะการขึ้นทะเบียนโครงการนี้ได้รวมไปถึงเอสเอ็มอีที่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล แต่จดทะเบียนการค้าซึ่งมีอีกเป็นจำนวนมากที่จะเข้าร่วมโครงการ