ลุ้น! ศาลปกครอง ชี้ชะตาดีล 'ซีพี'ควบ 'โลตัส'

ลุ้น! ศาลปกครอง ชี้ชะตาดีล 'ซีพี'ควบ 'โลตัส'

ประธานบอร์ดแข่งขันทางการค้า เผย เลขา กขค.ได้เข้าชี้แจงศาลปกครองปมควบรวมซีพีโลตัสแล้ว รอคำตัดสิน พร้อมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลปกครอง

นายสกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอีก 36 องค์กรผู้บริโภค ยื่นฟ้องศาลปกครอง กรณีคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า(กขค.) มีมติอนุมัติให้บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวล ลอปเม้นท์ จำกัด ควบรวมกิจการกับ บริษัท เทสโก้ สโตร์ส จำกัด ที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ว่า ภายหลังที่สำนักงานได้มีหนังสือขอขยายเวลาการชี้แจงต่อศาลปกครองกรณีให้มีความคุ้มครองนั้นออกไปเป็นวันที่ 22 เม.ย. 2564 และคำชี้แจงถึงมติของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าที่อนุญาตให้กลุ่มซีพีควบรวมเทสโก้โลตัสได้อาจไม่ชอบด้วยกฏหมาย ได้ขอขยายเวลาออกไปเป็นวันที่ 15 พ.ค.64 

ล่าสุด สัปดาห์ที่ผ่านมานายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้เข้าชี้แจงต่อศาลปกครองพร้อมกับเอกสารประกอบคำชี้แจงตามประเด็นที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอีก 36 องค์กรผู้บริโภคยื่นฟ้อง คือการขอทุเลาคำสั่งการควบรวมกิจการ และ2 . เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าที่มีมติให้ควบรวมกิจการได้

162262654732

“ยืนยันว่า กขค.พิจารณากรณีการควบรวมเป็นไปตามกฎหมาย ขณะนี้คงต้องรอผลการพิจารณาของศาลปกครองว่าจะมีคำสั่งอย่างไร คาดว่า จะมีคำสั่งเร็วๆนี้ เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจและมีผลกระทบต่อสังคม ซึ่งผลจะเป็นอย่างไรทางกขค.พร้อมปฏิบัติตาม

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่าน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ36 องค์กรผู้บริโภคในฐานะผู้ฟ้องคดี ได้ส่งคําชี้แจงที่ระบุถึงเหตุผลที่ขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยระบุว่าหากศาลไม่คุ้มครองชั่วคราวจะทำให้เกิดการผูกขาดจนยากต่อการแก้ไขเยียวยาภายหลัง

รายงานข่าวแจ้งว่า หากศาลปกครองมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา หากฝ่ายใดเห็นต่างในคำสั่งของศาลปกครองก็สามารถที่จะอุทธรณ์ดคีดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุดได้

162262650892

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2563 กขค. เสียงข้างมากอนุญาตให้รวมธุรกิจระหว่างบริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัดได้ โดยเห็นว่า การรวมธุรกิจดังกล่าวแม้จะทำให้มีอำนาจตลาดเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่เป็นการผูกขาด และการรวมธุรกิจดังกล่าวมีความจำเป็นตามควรทางธุรกิจและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมการประกอบธุรกิจเพิ่มมากขึ้น และอาจส่งผลให้การแข่งขันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง เป็นต้น