ตลท.ผนึก3บิ๊ก 'กองทุน' ระดับชาติ ปลุกคนไทยออมเพิ่มมีเงินมั่งคั่ง

ตลท.ผนึก3บิ๊ก 'กองทุน' ระดับชาติ ปลุกคนไทยออมเพิ่มมีเงินมั่งคั่ง

ตลท. เปิดตัวโครงการ “Happy Money สุขเงิน สร้างได้ พลังความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูและสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงินสำหรับคนไทย” ผนึก3 "กองทุน"ระดับชาติ กบข. - กอช. - กยศ. และเสวนาในหัวข้อ “ปฏิบัติการรวมพลัง สร้างคนไทยใส่ใจเรื่องการเงิน” ที่ผ่านมานั้น  

กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการ ตลท. กล่าวว่า  นช่วงโควิด-19 เป็นโอกาสฟื้นฟู “ความมั่นคงทางการเงิน” ของคนไทย ด้วยกระบวนการสร้างความสุขทางการเงินมี 3 ขั้นตอนร่วมมือกับทั้ง 3 องค์กรหลัก คือ 1.Education ให้ความรู้วางแผนการเงินและการลงทุน 2.Happy Money Trainers พัฒนาเทคนิคการเป็นพี่เลี้ยงทางการเงิน และ 3.Consultation ให้คำปรึกษาและติดตามผลลูกค้าจริง เพื่อมุ่งเปลี่ยนทัศนคติ และปรับพฤติกรรมทางการเงิน เพื่อให้ค่าใช้จ่าย และหนี้สินลดลง รวมถึงมีเงินออมที่เพิ่มขึ้น 

สำหรับคนในช่วงวัยแรงงานในปัจจุบันจำเป็นต้องออมเงินเพื่อสามารถใช้ชีวิตในวัยเกษียณอย่างยั่งยืนหลังโควิด-19 โดยอาศัยชุดความรู้และทักษะขั้นพื้นฐาน เพื่อขจัดปัญหาการการเงิน ได้แก่ 1.หมดหนี้มีออม 2.ลงทุนเพิ่มค่า และ3. วางแผนก่อนแก่และสร้างความสุขทางการเงินอย่างยั่งยืน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือแรงงานในระบบ 14 ล้านคน แรงงานนอกระบบ 24 ล้านคน นักศึกษา 1.7 ล้านคน และประชาชนทั่วๆ ไป

ทั้งนี้ จากผลการสำรวจการออมภาคครัวเรือนของไทยในไตรมาส 3 ปี 2561 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า 5.8 ล้านครัวเรือนไทย หรือ 27.1% ไม่มีเงินออม ส่วนครัวเรือนที่มีการออมมี 15.7 ล้านครัวเรือน หรือ 72.9%  อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาวิธีการออม คนไทย 38.9% มีพฤติกรรมใช้ก่อนออม และ 38.5% มีพฤติกรรมออมเงินแบบไม่แน่นอน ที่เหลืออีก 22.6% คือคนไทยที่มีพฤติกรรมออมก่อนใช้ 

 

ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. กล่าวว่า พื่อให้สมาชิกบรรลุเป้าหมายมีเงินออมยามเกษียณที่เพียงพอ กบข.มุ่งผลักดันให้สมาชิกออมเพิ่ม เน้นดูมูลค่าสินทรัพย์ (NAV) มากกว่าผลตอบแทนรายปี แม้ปีที่ต้องออกมีผลตอบแทนขาดทุนก็ยังออมต่อได้และออกเมื่อผลตอบแทนเพิ่มขึ้น

อีกทั้งมุ่งให้สมาชิกปรับแผนการลงทุนให้มีเงินพอใช้หลังเกษียณและนำเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นแบ่งมา 1% ลองออมเพิ่มในแผนที่ให้ผลตอบแทนเพิ่ม เช่น การลงทุนต่างประเทศ กองรีท หากได้ผลตอบแทนเป็นไปตามเป้าให้ทยอยเพิ่มสัดส่วนตามความเสี่ยงที่รับได้ นอกจากนี้ กบข. มีแผนเตรียมออกเครื่องมือการลงทุนประเภททองคำ เพื่อเป็นอีกทางเลือกการลงทุนให้สมาชิกมีโอกาสได้รับผลตอบแทนและกระจายความเสี่ยง

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการลงทุน คือ ให้ความรู้เรื่องการลงทุนที่ "ไม่ให้ความสำคัญกับสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งมากเกินไป"  เพราะไม่มีสินทรัพย์ชนิดไหนที่จะสร้างผลตอบรับเท่ากันทุก

จารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ กอช. กล่าวว่า  กอช. ผลักดันให้เด็กอายุ 15 ปีขึ้นไป เข้ามาออมในกองทุน เพื่อสร้างระบบการออมขั้นพื้นฐาน โดยเริ่มวางแผนการออมเพียงวันละ 1 บาท และเมื่อครบ 50 บาท ก็นำมาออมที่กองทุนได้ โดยรัฐบาลจะสมทบเงินเพิ่มให้ 50-100% ตามช่วงอายุ

ยิ่งเริ่มออมตั้งแต่อายุยังน้อย ก็มีสิทธิรับเงินบำนาญขั้นต่ำเดือนละ 600 บาทตลอดชีพแล้ว รือถ้าปีไหนเรามีรายได้มากขึ้น จะส่งเงินออมให้มากขึ้น ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสรับเงินบำนาญจำนวนที่มากขึ้น สูงสุดถึง 7,000 กว่าบาทต่อเดือน เป็นผลลัพธ์การคำนวณที่สมมติอัตราผลตอบแทนประมาณ 3.5% 

ชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุน กยศ. กล่าวว่า กองทุนมีระบบ e-Learning ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำมาให้ มีหลักสูตร  SET e-Learning ให้เลือกเรียนกว่า 15 หลักสูตร ปัจจุบันมีผู้กู้ยืมเข้าเรียนหลักสูตรนี้แล้วกว่า 5.6 แสนราย โดยกองทุนคาดว่า หากผู้กู้ยืมเงินมีความรู้ทางการเงิน จะสามารถบริหารจัดการรายได้ ทรัพย์สินและหนี้สินของตนเองได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถชำระคืนเงินกู้ยืมให้กองทุนตามกำหนด 

ปัจจุบันกยศ.พยายามให้นักเรียน นักศึกษาสามารถเข้าถึงการกู้เงินเพื่อการเรียนได้ง่ายและมากขึ้น เพื่อให้สามารถมีความรู้ในการประกอบอาชีพและมีเงินออมเพื่อเลี้ยงตนเองได้ในอนาคต ดังนั้นภายใต้สถานการณ์โควิด-19  ยังได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมทั้งลดเบี้ยปรับ 100%, ลดเบี้ยปรับ 80%, ลดเงินต้น 5% และลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี ด้วย