เปิดใจ "CEO ใบยา" หญิงเก่ง ผู้ผลิต "วัคซีนเพื่อคนไทย"

 เปิดใจ "CEO ใบยา" หญิงเก่ง ผู้ผลิต "วัคซีนเพื่อคนไทย"

"ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ" CEO และ Co-founder ของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ในฐานะนักวิจัยผลิตวัคซีนโควิด-19หนึ่งในหญิงไทยหลายคนที่ควรได้รับการกล่าวถึงเนื่องในวันสตรีสากล

ขณะนี้ "บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม" จำกัด กำลังพัฒนา "วัคซีนเพื่อคนไทย" ด้วยแพลตฟอร์มผลิตโปรตีนจากใบพืชรุ่นที่สองและรุ่นต่อไป พร้อมรับการกลายพันธุ์แล้วหากมีการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย เตรียมทดสอบ"วัคซีนโควิด-19" ในมนุษย์ช่วงกลางปี 2564 นี้ โดยทีมนักวิจัยค้นคว้าหาข้อมูลจนทราบพัฒนาการของเชื้อไวรัส ทันทีที่ทราบรหัสพันธุกรรมของไวรัสที่กลายพันธุ์ นักวิจัยของใบยาฯได้ใช้เทคโนโลยีพัฒนาต้นแบบวัคซีนได้อย่างรวดเร็วใช้เวลาเพียง 9 วันเท่านั้น

CEO และ Co-founder ของ "บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม" จำกัด ในฐานะนักวิจัยผลิต"วัคซีนโควิด-19" เล่าว่าบริษัทใบยาไฟโตฟาร์มจำกัด”สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดยนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำ“วัคซีนโควิด-19”ประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ต่อมามีการสร้างทีมไทยแลนด์และหาพาร์ทเนอร์บริษัท"จินเคนไบโอเทค" จำกัด ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการทำโปรตีนบริสุทธิ์ รวมถึง องค์การเภสัชกรรมในการส่งวัคซีนที่ได้ไปบรรจุและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากโจทย์ที่ต้องการทำ "วัคซีนโควิด-19" ให้เร็วบริษัทใบยาฯจึงไม่สามารถทำทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง

161509684224

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ตั้งมูลนิธิ ซียู เอ็นเตอร์ไพรส์ ขึ้นมาเพื่อระดมทุนด้วยการเปิดรับบริจาค 500 บาทจำนวน 1 ล้านคนซึ่งเงินจำนวน 500 ล้านบาทนั้น 150 ล้านบาท จะนำไปปรับปรุงสถานที่ตึกหนึ่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะเป็นไพลอท สำหรับบริษัทให้เป็น GMP facility ที่ได้มาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดสามารถผลิตยาอื่นๆที่บริษัทพัฒนาได้ด้วย

  • รู้จัก CEO บ.ใบยาไฟโตฟาร์มจำกัด

7 ปีก่อนหลังเรียนด้านสาธารณสุขศาสตร์ ม.เท็กซัส สหรัฐอเมริกา “ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา สมัครเข้าเป็นอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควบคู่กับทำวิจัยเกี่ยวกับยา เพราะมีความตั้งมั่นว่าอยากทำให้คนไทยเข้าถึงยาได้ในราคาที่เหมาะสม เป็นสิทธิพื้นฐานที่ทุกคนควรจะได้รับ ที่ผ่านมาได้ทำงานวิจัยร่วมกับบริษัทยาทั้งในและต่างประเทศ มีโอกาสทำงานวิจัยยาในหลายชนิด และล่าสุด คือการทำ "วัคซีนโควิด-19"

CEO และ Co-founder ของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เล่าว่าอยากให้คนไทยได้ใช้วัคซีนที่ดี มียาที่ดี และไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติ ขณะนี้การผลิต"วัคซีนโควิด-19" จากพืช หรือใบยาสูบ โดยนักวิจัยเป็นผู้ปลูก ทำให้ต้นทุนไม่สูง จะสามารถลดการนำเข้าวัคซีน จากต่างประเทศ และเมื่อผลิตจำนวนมากๆ ทำให้ต้นทุนราคาถูกลงเข้าไปอีกด้วย

161509686531

  • ช่วยคนไทยได้เข้าถึงวัคซีนคุณภาพ

สำหรับวัคซีนจากใบยาครั้งนี้ คาดว่าจะราคาประมาณ 500 บาทต่อโดส แต่ถ้าผลิตในปริมาณมากราคาก็จะลดลงไปอีก ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาวัคซีนในต่างประเทศ ที่มีตั้งแต่ 150-1,000 บาทต่อโดส ถือว่าคุ้มค่าและช่วยคนไทยได้เข้าถึงวัคซีนคุณภาพ โดยกระบวนการผลิตกำลังจะเข้าสู่เฟส 3 ทดลองในมนุษย์ประมาณเดือนมิ.ย.2564 ถือว่าเป็นวัคซีนสัญชาติไทยครั้งแรกที่จะทดลองในมนุษย์

"ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา" กล่าวต่อว่าในอนาคตประเทศไทยจะไม่ได้มีเพียงวัคซีน แต่จะมีแพลตฟอร์มการวิจัยพัฒนาและผลิต "วัคซีนโควิด-19" ได้เอง สร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทย และไม่ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์ไปอย่างไร ก็สามารถปรับวัคซีนสู้ได้ทัน โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และใบยาได้ร่วมพัฒนาวัคซีน รุ่นที่ 2 ที่จะรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ได้ และตอนนี้กำลังอยู่ในกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งอยากให้ทุกคนร่วมให้กำลังใจและช่วยสนับสนุน เพราะการพัฒนาวัคซีนครั้งนี้ เป็นความหวังของนักวิจัยทุกคนที่ต้องการช่วยเหลือคนไทย

  • โค้ชดูแลนิสิตทำความฝันให้สำเร็จ

นอกจากทำวิจัยแล้ว ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา” ยังทำหน้าที่เป็นโค้ชที่คอยดูแลช่วยเหลือนิสิตนักศึกษา หาองค์ความรู้ใหม่ๆนำไปใช้ในอาชีพ พัฒนาตนเอง และทำความฝันให้สำเร็จ กล้าคิด กล้าลองทำมากขึ้น ซึ่งเป็นความฝัน และมุ่งมั่น ตั้งใจในการเป็นอาจารย์สอนหนังสือ และนักวิจัยมาโดยตลอด

161509686593

“อาจารย์ไม่ได้มองว่าตัวเองเก่ง และรู้ว่าตัวเองไม่เก่ง แต่อาจารย์จะรับทุกโอกาสที่เข้ามา ซึ่งแต่ละโอกาสให้ประสบการณ์และการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ที่สำคัญ โชคดีทีได้ทำในสิ่งที่ตัวเองใฝ่ฝัน อยากให้ผู้หญิงไทยทุกคนมุ่งมั่น ตั้งใจเดินตามเป้าหมายในการใช้ชีวิต และบางครั้งก็ต้องรู้จักเสียสละตนเองเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นร่วมด้วย เชื่อว่าสิ่งดีๆ จะตอบแทนเรา"ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวทิ้งท้ายเนื่องใน "วันสตรีสากล"