‘พลังงาน’ จับมือ ‘สหราชอาณาจักร’ พัฒนาแบบจำลอง 2050 Calculator ของประเทศไทย

‘พลังงาน’ จับมือ ‘สหราชอาณาจักร’ พัฒนาแบบจำลอง 2050 Calculator ของประเทศไทย

สนพ.จับมือ รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร ร่วมลงนามพัฒนาแบบจำลอง 2050 Calculator ของประเทศไทย หวัวใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศสาขาพลังงาน

นายวัฒนพงษ์  คุโรวาทผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงานและ H.E. Brian Davidson  เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(Memorandum of Understanding: MoU) ในการ พัฒนาแบบจำลอง2050 Calculator ของประเทศไทย เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กระทรวงพลังงานและThe United Kingdom Department for Business, Energy and Industrial Strategy (BEIS) ของรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรซึ่งจะสนับสนุนงบประมาณสำหรับการพัฒนาแบบจำลอง2050 Calculator ให้กับประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกระทรวงพลังงาน

160212091277

กระทรวงพลังงาน โดยคณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้สนพ. เป็นหน่วยประสานงานในการดำเนินงานรายงานการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการพลังงานและคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติได้มอบหมายให้สนพ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการจัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศสาขาพลังงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ตามNDC Roadmap (Thailand’s Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021 -2030) ซึ่งสนพ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี.. 2564 – 2573 สาขาพลังงานแล้วเสร็จในปี2561 และได้นำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติเมื่อวันที่19 พฤศจิกายน2561 ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการดังกล่าวและมอบหมายให้สนพ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการดังกล่าวต่อไป

160212095980

ทั้งนี้ แบบจำลอง2050 Calculator ของประเทศไทย ที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรจะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสนพ. ทั้งในส่วนของการติดตามและประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการภาคพลังงานรวมทั้งจะสามารถนำมาเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาการจัดทำนโยบายเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในอนาคตและช่วยเพิ่มศักยภาพบุคลากรของสนพ. ให้มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลอุปสงค์และอุปทานด้านพลังงานเชื่อมโยงกับงานด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงการพัฒนาปรับปรุงแบบจำลองให้สอดคล้องและรองรับกับบริบทที่เปลี่ยนไปได้