นักวิจัยยังระบุไม่ได้ ยาต้านมาลาเรียช่วยรักษาโควิด-19 ได้หรือไม่

นักวิจัยยังระบุไม่ได้ ยาต้านมาลาเรียช่วยรักษาโควิด-19 ได้หรือไม่

การศึกษาใหม่ในสหรัฐฯ ระบุ อัตราการตายของผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านมาลาเรียร่วมรักษาโควิด-19 กลับสูงกว่าในรายที่ไม่ได้ใช้

ยาต้านมาลาเรียซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัล ทรัมป์ชูว่าช่วยรักษาโรคโควิด ไม่ได้แสดงว่ามีประโยชน์ในการช่วยรักษาแต่อย่างใด ในการศึกษาวิเคราะห์ในผู้ป่วยล่าสุดที่รับการรักษาในโรงพยาบาลทหารผ่านศึกของสหรัฐฯ

นักวิจัยรายงานว่า อัตราการตายในผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านมาลาเรีย ไฮโดรคลอโรควิน ร่วมในการรักษาโรคโควิด-19 กลับสูงกว่าผู้ที่รับการรักษาแบบปกติ

การศึกษาล่าสุดในผู้ป่วย 368 ราย นับเป็นการศึกษาการใช้ยาต้านมาลาเรียร่วมในการรักษาโควิดที่มากที่สุดในสหรัฐฯ แล้ว แต่การศึกษาดังกล่าว ยังเป็นการรายงานเบื้องต้นที่ยังไม่ได้ผ่านการรีวิวจากนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ

การศึกษาได้รับการสนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียและสถาบันสุขภาพแห่งชาติ

นักวิจัยได้วิเคราะห์การให้ยาในผู้ป่วยจำนวนดังกล่าวที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมีทั้งที่เสียชีวิตและรอดชีวิตจากโควิดจนถึงวันที่ 11เมษายน พบว่า 28% ที่เสียชีวิต ได้รับการให้ยาต้านมาลาเรียด้วย ในขณะที่อีก 11% เป็นผู้ที่รักษาตามปกติ

อีก22% ได้รับยาปฏิชีวินะ อซิโธรมัยซิน (azithromycin) ด้วย แต่มันไม่ได้ให้นัยยะอะไรที่ต่างไปจากการรักษาปกติ

ยาต้านมาลาเรียก็ไม่ได้ช่วยทำให้การรักษามีนัยยะอะไรกับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

นักวิจัยไม่ได้ดูไปถึงผลข้างเคียงของการใช้ยา แต่ก็โน้ตไว้ว่ายาต้านมาลา
เรียอาจส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ

เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่ายามีผลข้างเคียงที่อันตราย รวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจที่อาจทำให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้

ต้นเดือนที่ผ่านมา นักวิจัยชาวบราซิลได้หยุดการศึกษาการใช้ยาต้านมาลาเรียอีกตัวคือ คลอโรควิน หลังพบว่า มันส่งผลต่ออัตรการเต้นขอ งหัวใจหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยในการศึกษาที่ให้ยาไปสองเม็ด

ในวันอังคารที่ผ่านมา สถาบันฯได้ ออกข้อแนะนำการใช้ยาต้านมาลาเรียว่า มันยังไม่มีหลักฐานมากพอที่แนะนำให้ใช้หรือไม่ให้ใช้ยาตัวนี้ในผู้ป่วยโรคโควิด แต่สถาบันแนะนำไม่ให้ใช้ยาต้านมาลาเรียร่วมกับยาวปฏิชีวนะเพราะมีโอกาสเกิดผลข้างดคียงได้

แพทย์หลายคนต่างระวังที่จะใช้ยาตัวนี้

ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน, ดร นาเซีย ซาฟดาร์ ผู้อำนวยการแผนกการควบคุมและการป้องกันโรคระบาด ซึ่งร่วมในการวิจัยนี้กล่าวว่า “ฉันคิดว่าพวกเราค่อนข้างสะทกสะท้อนเมื่อเห็นผู้ป่วยที่ใช้มันไป ผู้ป่วยถามถึงมันหลังจากที่ปธน.เริ่มโปรโมทมัน แต่ตอนนี้ฉันคิดว่าคนเริ่มเข้าใจแล้วว่าไม่รู้มันจะได้ผลหรือไม่ และยังต้องการการศึกษามากกว่านี้เพื่อยืนยันประสิทธิภาพ”ซาฟดาร์ กล่าว