'พ.ร.บ.โลกร้อน' ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ สู่การลงทุนสีเขียว

'พ.ร.บ.โลกร้อน' ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ สู่การลงทุนสีเขียว

พ.ร.บ.โลกร้อน ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมทางด้านการเงินการลงทุนในไทยสู่การลงทุนสีเขียวเพื่อเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ที่ปรึกษาเครือข่าย TCNN กล่าวในงานสัมมนาเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย"การบริหารจัดการ ก๊าซเรือนกระจกด้วยนโยบาย การเงิน การคลัง"ว่า การไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือเรียกว่าเป้าหมายในการที่ประเทศไทยจะไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ แต่ว่าต้องเกิดเครือข่ายแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การเรือนกระจกด้วยนโยบายการเงินการคลังในเรื่องของเครื่องมือต่างๆ ที่เปลี่ยนผ่านด้วย

ซึ่งแม้ว่าจะเป็นภาครัฐเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายแล้วก็ส่งเสริมแต่ที่สำคัญคือ ภาคธุรกิจซึ่งมีทั้งบริษัทใหญ่ และกลุ่มที่เหมือนกับว่าจะต้องเปลี่ยนผ่านการปล่อยก๊าซตัวเอง ซึ่งต้องเริ่มจากการวัดแล้วก็พยามลดแล้วก็หาทางชดเชยแล้วถ้ากลุ่มไหนก็ตามที่ถูกกฎหมายบังคับก็จะต้องจัดการกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ ขณะเดียวกันก็มีโอกาสที่จะลงทุนเพิ่มตัวทำให้คนอื่นแล้วก็ทำเครดิตหรือทำการลงทุนใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ทางทีมเลขาฯหรือทีมคณะทำงานต่างๆ ในแต่ละกลุ่มก็พยามจะสร้างโปรแกรมในการพัฒนาศักยภาพ และมีความสามารถเป็นพิเศษก็จะเป็นคนเอาข้อมูลมาแชร์กับภาครัฐก็จะแชร์ในส่วนของตัวเอง

ในส่วนนี้ได้พัฒนาไปทุกอย่างทั้งภาครัฐจึงกำลังจะปรับเรื่องกฎหมายเรื่องกระบวนการส่งเสริมเรื่องกระบวนการควบคุมกระบวนการวัดจึงเกี่ยวข้องกับขนาดที่ต้องส่งเสริมในส่วนของภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบต้องปรับตัว จะต้องทำยังไงถึงให้อยู่รอดได้ในสังคม 


 

เรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งใน พ.ร.บ.โลกร้อน แบ่งแยกเรื่องสิ่งแวดล้อมออกจากเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแก๊สเรือนกระจกซึ่งจะแยกออกจากมลพิษแยกจากมลพิษต่างๆ ถูกนิยามใหม่ในกฎหมายถือว่าเป็นตัวสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดการสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้การปรับตัวว่าถ้าเกิดไม่สามารถไปจัดการกับต้นต่อได้เราต้องปรับตัวแล้ว และมีมาตรการส่งเสริมไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคาร์บอนเครดิตที่ทำให้การลงทุนใหม่ จะคุ้มทุนมากขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การคาร์บอนในรูปแบบต่างๆ

ซึ่งตัวกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.โลกร้อน เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมทางด้านการเงินการลงทุน ต้องเกี่ยวข้องกับมาตรการที่ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปล่อยแล้วก็มีมาตรการส่งเสริมผู้ลงทุนใหม่ ซึ่งสุดท้ายก็พยามจะให้มันเกิดโครงการใหม่เกิดขึ้นโครงการใหม่เกิดขึ้น

เรื่องของต่างประเทศจำเป็นที่จะต้องทำแบบไทย และมีต้นทุนมากกว่า จึงเกิดโอกาสเหมือนกันที่ต่างประเทศจะมาลงทุนในประเทศ ซึ่งหลายประเทศเนี่ยก็ไม่อยากจะผลิตสินค้าในประเทศตัวเองแล้วก็ต้องหาทางดิ้นรนไปอยู่ที่ประเทศอื่นแล้ว

 

โดยเป้าหมายประเทศไทยคือ ในพ.ร.บ.นั้นเขียนเป้าไว้ชัดเจน คือ ประเทศที่ได้รับผลกระทบเยอะที่สุดถ้าเทียบกับถ้าเทียบกับยุโรป และอเมริกา แต่ขณะเดียวกันได้สนับสนุนการลงทุนรูปแบบใหม่ เอาการลงทุนตัวนี้เป็นจุดดึงดูด เกิดโอกาสใหม่ แต่ต้องการ การลงทุนใหม่ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และเกิดธุรกิจหรือเกิดเศรษฐศาสตร์ใหม่ในประเทศเป็นเป้าหมายสำคัญของกฎหมายด้วยจึจะเติบโตอย่างยั่งยืน

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์ \'พ.ร.บ.โลกร้อน\' ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ สู่การลงทุนสีเขียว