สื่อ 10 ภาษาชาติพันธุ์ ดูแลคนชาติพันธุ์ป้องกันโควิด-19

สื่อ 10 ภาษาชาติพันธุ์ ดูแลคนชาติพันธุ์ป้องกันโควิด-19

สสส. ผนึก ม.ธรรมศาสตร์ ม.มหิดล ดูแลคนชาติพันธุ์-ประชากรข้ามชาติ ป้องกันโควิด-19 จัดทำสื่อทุกรูปแบบ 10 ภาษาชาติพันธุ์ ไทใหญ่ ลาหู่ อาข่า สื่อสารผ่านนักสื่อสารสุขภาพชุมชนชาติพันธุ์ ลดตื่นตระหนก เข้าใจ ป้องกัน ดูแลตนเองได้ พร้อมสร้างความเข้าใจ เมียนมาร์

นางภรณี  ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ผลิตสื่อสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ ภายใต้โครงการพัฒนากลไกการเข้าถึงบริการสุขภาพและเสริมสร้างสุขภาวะผู้หญิงชาติพันธุ์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจของกลุ่มชาติพันธุ์ในสถานการณ์โควิด-19

โดยพัฒนาออกแบบเครื่องมือสื่อสารภาษาชาติพันธุ์กว่า 10 ภาษา เช่น ภาษาไทใหญ่ ลาหู่ อาข่า ม้ง เน้นสื่อออนไลน์ อินโฟกราฟฟิก คลิปวิดีโอ เฟซบุ๊ก ไลน์ สื่อเสียง/สปอตวิทยุ เผยแพร่ผ่านวิทยุชุมชนชาติพันธุ์และส่งเสริมแกนนำผู้หญิงชาติพันธุ์ ล่ามชุมชนให้เป็นนักสื่อสารสุขภาพชุมชน

1586323332100

นอกจากนี้ สสส.ยังร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ผลิตสื่อสร้างความเข้าใจเรื่องโควิด -19 กับกลุ่มประชากรข้ามชาติ 3 ภาษา ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาที่ยังอาศัยอยู่ในไทยด้วย

“การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบกับประชากรกลุ่มเฉพาะ ที่เข้าไม่ถึงข้อมูล อุปกรณ์ป้องกันโรค ทั้งหน้ากากผ้า เจลล้างมือ กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มตื่นตระหนกไม่กล้าออกจากบ้านทำสวนทำไร่ หรือบางกลุ่มกังวล ปฏิบัติตัวไม่ถูก หากต้องมีการติดต่อกับคนต่างถิ่น หรือแม้แต่การได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง(fake news)นางภรณี กล่าว

สสส.ซึ่งร่วมทำงานกับภาคีเครือข่ายมาตลอด จึงเร่งให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับแกนนำชาติพันธุ์ และนักสื่อสารสุขภาพชุมชนชาติพันธุ์ ที่เป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมประสาน ดูแล ช่วยเหลือเพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับความรู้ และบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

158632337866

ผศ.รณภูมิ สามัคคีคารย์ ผู้ช่วยคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า นอกจากการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาชาติพันธุ์ แปลภาษาชาติพันธุ์ เป็นภาษาไทยแล้ว ยังแปลภาษาทางการแพทย์ด้วย โดยดำเนินการใน  5 อำเภอ 3 จังหวัด ได้แก่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ,อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่สาย และอ.เชียงแสน จ.เชียงราย และอ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีกลุ่มผู้หญิงชาติพันธุ์เข้าร่วมกว่า 1,200 คน และมีแกนนำผู้หญิงชาติพันธุ์ ประมาณ 400  กว่าคน

“ตอนนี้ได้ผลิตสื่อไปยังกลุ่มแกนนำทุกพื้นที่ จากการประเมิน เมื่อได้รับสื่อที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทำให้เข้าใจและใช้ชีวิต รับมือกับโรคโควิด-19 ได้ดีมากขึ้น เช่น รู้ว่าต้องล้างมือ ใส่หน้ากาก และรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล”ผศ.รณภูมิ กล่าว

นอกจากนั้น ได้ร่วมกับ รพ.ในพื้นที่ อาทิ รพ.ปางมะผ้า เพื่อให้แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ได้เข้าใจภาษา วัฒนธรรม เพราะบางชนเผ่า ผู้หญิงห้ามนอนที่อื่นจะนอนได้ต้องขออนุญาตสามี ดังนั้นหากแพทย์ให้นอน รพ. พวกเขาจะหนีกลับ และยังมีปัญหาการสื่อสาร เมื่อมีสื่อ มีนักสื่อสารสุขภาพชุมชน ทำให้ รพ. เข้าใจ สื่อสารกับกลุ่มผู้หญิงชาติพันธุ์ได้ดียิ่งขึ้น

ด้านนางหน่อแอริ ทุ่งเมืองทอง แกนนำผู้หญิงชาติพันธุ์ กล่าวว่า ดีใจที่มีหน่วยงานที่สนใจสุขภาวะของกลุ่มคนชาติพันธุ์ ต้องยอมรับว่า เราไม่ได้รับการดูแล เข้าไม่ถึงการบริการ รวมถึงไม่เข้าใจภาษา ทำให้การสื่อสารหรือรับรู้ข้อมูลต่างๆ เป็นไปได้ยาก

158632337969

ยิ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ผู้หญิงชาติพันธุ์ และชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์มีความกลัว กังวล และไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรให้ถูกต้อง เมื่อเรานำสื่อไปสื่อสารกับผู้หญิงชาติพันธุ์และครอบครัวที่เข้าใจภาษากะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ ทำให้ลดความวิตกกังวล ความกลัว เข้าใจว่าโรคโควิด-19 เป็นอย่างไร ต้องปฏิบัติตัวแบบไหน หลังจากนี้จะต้องเยียวยา ดูแลกันอย่าง จึงอยากขอบคุณทางสสส. และม.ธรรมศาสตร์ด้วย

 ทั้งนี้สามารถดาว์นโหลดสื่อให้ความรู้โควิด-19 ได้ที่https://www.thaihealth.or.th/ไทยรู้สู้โควิด #สสส #thaihealth #ไทยรู้สู้โควิด #สัญญาว่าจะอยู่บ้าน #สัญญาว่าจะอยู่บ้านต้านโควิด