อาเซียนปรับตัวรับโควิด19-ประกอบพิธีผ่าน“ออนไลน์”

อาเซียนปรับตัวรับโควิด19-ประกอบพิธีผ่าน“ออนไลน์”

หลายประเทศในอาเซียนปรับตัวรับโควิด19-ประกอบพิธีผ่าน“ออนไลน์” ขณะที่นโยบายสร้างระยะห่างทางสังคมที่หลายประเทศในภูมิภาคนำมาใช้ ทำให้ผู้เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาและผู้ให้บริการต้องรักษาระยะห่างระหว่างกัน

ทุกวันศุกร์ "เอเดรียน บุตรา" จะไปละหมาดที่มัสยิดอิสติกลัล ใจกลางกรุงจาการ์ตา ซึ่งคราคร่ำไปด้วยผู้มาสวดมนต์ เพื่อให้ได้ที่นั่งด้านในโดยไม่ต้องเจอกับอากาศร้อนด้านนอก เมื่อถึงช่วงกลางวัน แต่เขาไม่ได้ไปมัสยิดแห่งนี้นาน2สัปดาห์แล้ว หลังจากมัสยิด ที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศยกเลิกการทำพิธีละหมาดวันศุกร์ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดของผู้คน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ต้นตอโรคโควิด-19 ที่กำลังเล่นงานอินโดนีเซีย ประเทศที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดอันดับ4ของโลกอยู่ในขณะนี้

เอเดรียน วัย 33 ปี บอกว่า เป็นเรื่องที่ดีที่สุดแล้วเพราะผู้คนไม่ควรยืนกรานที่จะมารวมตัวกันเพื่อสวดมนต์หรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหลังจากผู้นำศาสนายืนยันแล้วว่า การงดเว้นไม่มาละหมาดหรือสวดมนต์ที่มัสยิดในวันศุกร์เป็นเรื่องที่ไม่ผิด และสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ก็เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า

บรรดาผู้มาสวดมนต์และประกอบพิธีละหมาดที่สุเหร่าอิสติกลัล อยู่ในกลุ่มคนหลายล้านคนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึง ชาวคริสเตียน ชาวพุทธ ชาวฮินดู และกลุ่มที่นับถือศาสนาอื่นๆที่ต้องปรับตัวให้อยู่ได้ดีท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

158569638056

องค์การอนามัยโลก (ดับบลิวเอชโอ) ระบุว่า นับจนถึงวันอาทิตย์(29มี.ค.)ที่ผ่านมา 10ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน พบผู้ติดเชื้อจำนวน 7,150ราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 จำนวน 208 ราย และมีหลายประเทศในภูมิภาคนี้ที่มีปัญหาขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข รวมทั้งเตียงคนไข้ ขณะที่นโยบายการสร้างระยะห่างทางสังคมที่หลายประเทศในภูมิภาคนำมาใช้ ทำให้บรรดาผู้เข้าร่วมในพิธีกรรมทางศาสนาและผู้ให้บริการต้องรักษาระยะห่างระหว่างกันด้วย

ตามปกติแล้ว สุเหร่าอิสติกลัลจะเต็มไปด้วยผู้คนที่มาร่วมสวดมนต์และทำพิธีละหมาดในทุกวันศุกร์แต่หลังจากประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย เรียกร้องให้ประชาชนทำงานจากที่บ้าน นักเรียนก็ให้เรียนหนังสือที่บ้าน และให้สวดมนต์ที่บ้านแทนการมาสวดมนต์รวมกันที่สุเหร่า ก็ทำให้สุเหร่าร้างราผู้คนตลอดสองศุกร์ที่ผ่านมา และวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่สุเหร่าแห่งนี้ก็มีแต่คนงานก่อสร้างไม่กี่คนที่กำลังซ่อมแซมสุหร่าเท่านั้น

แม้ไม่มีการประกาศล็อกดาวน์ทั่วประเทศในอินโดนีเซีย แต่หน่วยงานด้านศาสนาอิสลามของประเทศได้ออกฟัตวา หรอคำวินิจฉัยชี้ขาดตามกฏหมายอิสลามว่าหากชาวมุสลิมคนใดอยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19อย่างหนัก ก็ให้ชาวมุสลิมคนนั้นสวดมนต์และทำละหมาดที่บ้านแทนที่จะมาทำที่สุเหร่าได้

158569639399

ที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซีย เร่งสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่และเปลี่ยนสถานที่แข่งกีฬา เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว เพื่อรองรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 เป็นหนึ่งในความพยายามที่จะควบคุมการระบาดทั่วประเทศที่เต็มไปด้วยเกาะห่างไกลแห่งนี้

โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลเฟสแรกจะแล้วเสร็จใน 3 วัน มีเตียงผู้ป่วย 340 เตียงและห้องแยกผู้ป่วยฉุกเฉินอีก 20 ห้อง ส่วนในเมืองเบกาซี ทางตะวันออกของกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย รัฐบาลท้องถิ่น ได้เปลี่ยนสนามกีฬาแห่งหนึ่งเป็นโรงพยาบาลชั่วคราว ติดตั้งเตียงและจุดตรวจคัดกรองในเวลาอันรวดเร็ว ในกรณีที่สำนักงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่น ไม่สามารถรับมือการแพร่ระบาดไหว

ขณะที่การศึกษาของศูนย์แบบเชิงคณิตศาสตร์เกี่ยวกับโรคระบาด ที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ประเมินว่า มีการรายงานผู้ติดเชื้อในอินโดนีเซียไม่ถึง 2 % ซึ่งตัวเลขที่แท้จริง อาจมีผู้ติดเชื้อสูงถึง 34,300 ราย มากกว่าอิหร่านด้วยซ้ำ

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ในอินโดนีเซีย ส่วนหนึ่งมาจากผู้ไปร่วมพิธีทางศาสนาที่สุเหร่าแห่งหนึ่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ระหว่างวันที่ 27 ก.พ. - 2 มี.ค. ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนกว่า 10,000 คน และปรากฏว่า มีผู้ติดเชื้อโควิด-19ในกลุ่มนี้ จากนั้นก็พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ตามมาอีกจำนวนมาก

ต่อมาที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ของมาเลเซีย มีมติเห็นชอบขยายเวลาบังคับใช้คำสั่งควบคุมการเคลื่อนไหวที่มีผลตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค. ออกไปอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือไปจนถึงวันที่ 14 เม.ย.นี้ เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวนอกเคหะสถานของประชาชน ห้ามพลเมืองออกจากราชอาณาจักร และปิดพรมแดนจากชาวต่างชาติ เนื่องจากเป็นวิธีเหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์ปัจจุบันของมาเลเซีย

มติ ครม.ครั้งนี้ เป็นไปตามข้อเสนอแนะจากกระทรวงสาธารณสุขและสภาความมั่นคงแห่งชาติของมาเลเซีย ซึ่งให้คำแนะนำไปในทิศทางเดียวกันว่า ถ้ายังพบผู้ป่วยใหม่จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ก็ควรดำเนินการเช่นนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าจะสามารถจัดการยุติสถานการณ์แพร่ระบาดได้

ส่วนในฟิลิปปินส์ ซึ่งประชากร 80% เป็นคาธอลิก ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เตได้ประกาศล็อกดาวน์เกาะลูซอน ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงมะนิลาและเป็นที่อยู่ของประชากร 57 ล้านคนเมื่อกลางเดือนมี.ค.ซึ่งคำสั่งนี้ มีผลให้โบถส์ต่างๆงดประกอบพิธีมิสซาชั่วคราว และมีโบถส์หลายแห่งเลือกวิธีประกอบพิธีกรรมทางศาสนาบนเฟซบุ๊ค

“มาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลทำให้ประชาชนออกจากบ้านไปไหนไม่ได้ถ้าไม่ใช่เรื่องจำเป็น เช่นออกไปซื้ออาหาร หรือยา โดยจะไปสิ้นสุดในวันอาทิตย์อีสเตอร์12 เม.ย.”ชาร์ลส์ คาลูซา เจ้าหน้าที่บริษัทโลจิสติกแห่งหนึ่งในมะนิลา วัย 22 ปีกล่าว

158569650584