นักท่องเที่ยวหด 50% ฉุดอาเซียนขาดดุลงบประมาณ

นักท่องเที่ยวหด 50% ฉุดอาเซียนขาดดุลงบประมาณ

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเผชิญหน้ากับการขาดดุลงบประมาณ ถ้าจำนวนนักท่องเที่ยวหดหายไป 50% ขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ กำลังเล่นงานเศรษฐกิจที่ต้องพึ่่งพารายได้การท่องเที่ยวของประเทศในภูมิภาคนี้

หลังจากองค์การอนามัยโลก(ดับบลิวเอชโอ) ประกาศยืนยันว่า สถานการณ์ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 ถือเป็น “ภาวะการแพร่ระบาดใหญ่ระดับโลก” หรือ pandemic เพราะมีการติดต่อระหว่างบุคคลแพร่กระจายไปในหลายพื้นที่ทั่วโลก การเดินทางข้ามพรมแดนก็เริ่มชะลอตัวลง โดยนิกเคอิ ประเมินว่าสมาชิกอาซียน 8 ประเทศจากทั้งหมดที่มีอยู่ 10 ประเทศจะประสบปัญหาขาดดุลงบประมาณหากว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงประมาณ 50% ในปีนี้

ภูมิภาคอาเซียนที่ทุกวันนี้กำลังต่อสู้ดิ้นรนกับปัญหาค่าเงินอ่อน และนักท่องเที่ยวลดลง กำลังจะมีปัญหาเพิ่มขึ้นนั่นคือหนี้จากภายนอกที่จะเพิ่มพูนขึ้น ตอกย้ำอันตรายของประเทศเศรษฐกิจที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวมากเกินไป

“ปีนี้นักท่องเที่ยวชาวจีนลดลงประมาณ 60-70% เมื่อเทียบกับปีอื่นๆ” พนักงานขับรถนำเที่ยวรอบพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพฯ หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของไทย กล่าว

ตามปกติ ในเส้นทางต่างๆ รอบพระบรมมหาราชวังจะคราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว แต่ช่วงนี้ไม่มีนักท่องเที่ยวเลยทำให้ร้านขายของที่ระลึกและร้านขายเครื่องดื่มจำนวนมากพากันปิดกิจการ ในส่วนของไทยนั้น รายได้จากการท่องเที่ยวในเดือนม.ก.ลดลง 4% จากปีก่อนหน้านี้ ส่วนไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งบริหารโรงแรมในกรุงเทพ ก็เจอปัญหาอัตราการจองห้องพักลดลงมากสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนก.พ.โดยลดลงมากถึง 50% และคาดว่ารายได้ในไตรมาสแรกของปีนี้จะต่ำกว่าปีที่แล้วอย่างมาก

ในส่วนของไทยนั้น รายได้จากการท่องเที่ยวในเดือนม.ก.ลดลง 4% จากปีก่อนหน้านี้ ส่วนไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งบริหารโรงแรมในกรุงเทพ ก็เจอปัญหาอัตราการจองห้องพักลดลงมากสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนก.พ.โดยลดลงมากถึง 50% และคาดว่ารายได้ในไตรมาสแรกของปีนี้จะต่ำกว่าปีที่แล้วอย่างมาก

สภาการท่องเที่ยวและเดินทางโลก(ดับเบิลยูทีทีซี) ระบุว่า เศรษฐกิจของชาติสมาชิกอาเซียนพึ่งพาการใช้จ่ายภายในประเทศและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งมีสัดส่วนถึง 13% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ทั้งภูมิภาคในปี2561 สัดส่วนสูงเป็นอันดับ 2 รองจากแคริเบียน

ขณะที่ธุรกิจการบริการสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติสร้างรายได้ให้แก่ภูมิภาคเมื่อปี 2561 เป็นเงิน 220,000 ล้านดอลลาร์ มากกว่าอุตสาหกรรมการผลิตรถซึ่งทำรายได้ 50,000 ล้านดอลลาร์และการผลิตน้ำมันและถ่านหินซึ่งทำรายได้ที่ 160,000 ล้านดอลลาร์

158467222860

158467226256

นิกเคอิ ประเมินว่า 10 ชาติสมาชิกอาเซียนจะเผชิญหน้ากับปัญหาขาดดุลงบประมาณเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ ถ้าหากว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติร่วงลงไป 50% ในปี 2563 จากปี2561 

และถ้าสถานการณ์เลวร้ายกว่านั้น นักท่องเที่ยวหายไปเหลือ 0% ประเทศอาเซียนจะขาดดุลงบประมาณสูงถึง 150,000 ล้านดอลลาร์ โดยภูมิภาคแห่งนี้เคยเจอปัญหาขาดดุลงบประมาณครั้งล่าสุดเมื่อปี 2540 ที่เกิดวิกฤติการเงินในเอเชีย

นิกเคอิ ประเมินว่า 10 ชาติสมาชิกอาเซียนจะเผชิญหน้ากับปัญหาขาดดุลงบประมาณเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ ถ้าหากว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติร่วงลงไป 50% ในปี 2563

การขาดดุลงบประมาณจะบีบบังคับให้ประเทศต่างๆ หันไปพึ่งพาเงินทุนจากต่างชาติแต่ถ้าค่าเงินในประเทศอ่อนค่ามากเกินไป จะยิ่งถูกกดดันมากขึ้นจากบรรดานักเก็งกำไรค่าเงินและท้ายที่สุดจะไปจบลงที่ปริมาณหนี้สินจากภายนอกเพิ่มขึ้น

ทุกวันนี้ ปริมาณหนี้สินจากภายนอกของมาเลเซียมีสัดส่วนกว่า 60% ของจีดีพี และมากกว่าสองเท่าของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ส่วนอินโดนีเซีย มีปริมาณหนี้จากภายนอกมากกว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสามเท่า เพิ่มขึ้น 20% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ที่ผ่านมา รัฐบาลมาเลเซียประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 2 หมื่นล้านริงกิต (4.7 พันล้านดอลลาร์) เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ รวมถึงการลดหย่อนภาษี, การช่วยเหลือบริษัทในภาคธุรกิจต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ อาทิ ภาคการท่องเที่ยว, การจัดหาเงินกู้สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงการจัดวนนเงินสดให้กับประชาชน

158467225043

ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจของมาเลเซีย ซึ่งนอกจากเจอการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19แล้ว ยังเผชิญกับภาวะปั่นป่วนทางการเมืองในประเทศด้วยนั้น จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในกรอบ 3.2-4.2% ในปีนี้ ลดลงจากตัวเลขประมาณการณ์ครั้งก่อนของรัฐบาลที่ราว 4.8%

ช่วงเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 มาเลเซีย ได้ประกาศเพิ่มความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการช่วยเหลือการเงินแก่พนักงานที่ออกจากงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างจำนวน 33,000 คน และยังประกาศลดค่าไฟเป็นเวลา 6 เดือน และช่วยเหลือเงินแก่ครอบครัวที่มีรายได้น้อย ซึ่งเงินทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 2 หมื่นล้านริงกิต หรือประมาณ 4.7 พันล้านดอลลาร์

การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวฯ ตัดสินใจเลื่อนการจัดงาน MATTA Fairs ทั้งหมด ทั้งที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ และในเมืองต่างๆ ทั่วทั้งประเทศ รวมไปถึงงาน Cuti-Cuti Malaysia ในวันที่ 4-5 เม.ย. และงาน MATTA Fair Kuala Lumpur วันที่ 1-3 พ.ค. จะถูกเลื่อนออกไปจนกว่าประเทศจะกลับสู่สภาวะปกติ