หนุ่มวิศวกรทิ้งงานประจำ หันมาเลี้ยงไส้เดือนขายมูล โกยรายได้เดือนละแสน

หนุ่มวิศวกรไฟฟ้าสุพรรณบุรี ทิ้งงานประจำ หันมาเลี้ยงไส้เดือนขายมูลทำปุ๋ย เผยยอดสั่งซื้อเดือนละ 30 ตัน ราคาตันละ 10,000 บาท โกยรายได้เดือนละแสน

เมื่อวันที่ 21 เม.ย.65 ที่ จ.สุพรรณบุรี มีหนุ่มวิศวกรไฟฟ้า ยอมทิ้งงานประเดือนผันตัวมาเป็นเกษตรกรเลี้ยงไส้เดือนขายมูลทำปุ๋ยสร้างรายงามได้เดือนละกว่า 300,000 บาท จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบว่าหนุ่มวิศวกรคนดังกล่าวชื่อนายสราวุฒิ มลิชัย อายุ 33 ปี เป็นชาวตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี เป็นเจ้าของ "สติฟาร์ม" ฟาร์มเลี้ยงไส้เดือน

นายสราวุฒิ เล่าว่าตนจบวิศวกรรมศาสตร์ สาขาอิเล็คทรอนิค จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปัจจุบันเป็นเจ้าของฟาร์มไส้เดือน ชื่อ สติฟาร์ม เจ้าของตลาดต้นไม้และเจ้าของโรงงานผลิตหุ่นยนต์โรงงาน ออโตมิชั่น แรงบันดาลใจในการเลี้ยงไส้เดือนมาจากที่บ้านทำการเกษตรประกอบกับต้นทุนปุ๋ยเคมีราคาสูง ก็เลยเอาความรู้ความสามารถที่เรียนมา มาช่วยลดต้นทุน คิดว่าจะทำยังไงให้ต้นทุนการทำนาลดลง

หนุ่มวิศวกรทิ้งงานประจำ หันมาเลี้ยงไส้เดือนขายมูล โกยรายได้เดือนละแสน

เริ่มจากการศึกษาทำความรู้จัก "ไส้เดือน" ก่อน ซึ่งไส้เดือนในประเทศไทยมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่คือไส้เดือนสีเทากับไส้เดือนสีแดง ไส้เดือนสีเทาคือไส้เดือนที่นำไปแปรรูปตากแห้งขาย ไส้เดือนอีกกลุ่มก็คือไส้เดือนสีแดง ถ้าเป็นพันธุ์พื้นเมืองจะชอบอากาศเย็นแต่จะเลี้ยงยาก

ส่วนของเราเลี้ยง ไส้เดือนสายพันธุ์แอฟริกันไนท์ครอเลอร์ AF (African Night Crawler or Eudrilus eugeniae)

ข้อดีของสายพันธุ์แอฟริกันไนท์ครอเลอร์ ก็คือ ทนอากาศร้อน มีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วเหมาะกับการเลี้ยงในประเทศไทย เลี้ยงง่ายกว่าพันธุ์อื่น เพราะไส้เดือนพันธุ์นี้จะไม่ค่อยหนี

หนุ่มวิศวกรทิ้งงานประจำ หันมาเลี้ยงไส้เดือนขายมูล โกยรายได้เดือนละแสน

ส่วนพันธุ์อื่นถ้าอาหารหรือมีสภาวะที่ไม่เหมาะสม ในแปลงเลี้ยงก็จะหนี สำหรับไส้เดือนพันธุ์แอฟริกันไนท์ครอเลอร์ เลี้ยงในอะไรก็ได้ แต่ต้องมีความชื้น น้ำไม่ขังและควรจะอยู่ในร่ม ส่วนศัตรูของไส้เดือนซึ่งมีลักษณ์เหมือนหนอนอยู่ ในบ่วงโซ่ของอาหาร ดังนั้นศัตรูที่จะมากินก็จะมีหลายชนิด มีทั้งนก กิ้งก่า หนู จิ้งเหลน อึ่งอ่าง

ในแง่การตลาดนั้นเริ่มจากการมองตัวเองก่อนว่ามีเรื่องใช้ปุ๋ยหรือไม่ถ้ามีลองลดการใช้ปุ๋ยลงมาครึ่งหนึ่ง แล้วใช้มูลไส้เดือนแทนครึ่งหนึ่งให้เริ่มต้นแบบนี้ก่อน อย่าเพิ่งไปมองว่าเราจะขายอะไรที่ไหนอย่างไร มูลไส้เดือนมีการย่อยสลายที่สมบูรณ์กว่าสัตว์ชนิดอื่น เหมาะสำหรับพืชทุกประเภท ในแง่การตลาดมูลไส้เดือนใช้ได้กับพืชทุกชนิดสามารถจำหน่ายได้ทั่วไป

"ผมจะบรรจุถุงละ 1 กิโลกรัม ขายออนไลน์ไปจนถึงกระสอบละ 25 กิโล มีรถสิบล้อมารับ ลูกค้าที่มาซื้อมีทั้งเจ้าของสวนยางพารา เจ้าของสวนอินทผาลัม สวนทุเรียน ล่าสุดเจ้าของสวนอินทผาลัมที่ จังหวัดลพบุรี บอกว่าใช้มูลไส้เดือนแล้วดีมาก"

เมื่อถามถึงการเริ่มต้นนายสราวุฒิ บอกว่าตนเริ่มเลี้ยงไส้เดือนเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว เริ่มต้นการตลาดจากการฝากขายแต่ตนไม่แนะนำเรื่องการฝากขายเนื่องจากที่ผ่านมาตนได้นำไปฝากขาย ปรากฎว่าสินค้าตนขายไม่ได้เลย ตนจึงได้เขียนบทความ ประชาสัมพันธ์ และมีสื่อหนังสือพิมพ์ และทีวี มาทำรายการ ทำให้เป็นที่รู้ของคนทั่วไปขึ้นมา

"มีคนติดต่อซื้อเพิ่มขึ้นจนมาถึงปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ลูกค้าจะมารับเองเนื่องจากยอดขายมากเป็นตัน ส่วนถุงละ 1 กิโลส่วนมากเราจะขายที่ตลาดต้นไม้ของเราเองซึ่งอยู่ที่หน้าศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยงศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นหลัก และขายทางออนไลน์ อนาคตตลาดยังไปได้ เนื่องจากตอนนี้สถานการณ์ของโลกราคาปุ๋ยเคมีสูงมากแบบก้าวกระโดด ดังนั้นสิ่งที่มาทดแทนปุ๋ยเคมีจึงมีบทบาทมากขึ้นจะโตขึ้นแต่สิ่งที่ลดลงคือราคาผลผลิตของไทย ไม่ว่าข้าว หรือยางพารา นั้นสวนทางกัน"

นายสราวุฒิ เล่าต่อว่า ตอนที่เลี้ยงไส้เดือนอยู่บ้านบางกุ้ง ซึ่งเลี้ยงพื้นที่ 100 ตารางวา มียอดสั่งซื้อเดือนละ 30 ตัน ราคาตันละ 10,000 บาทแต่ผลิตสินค้าให้ลูกค้าไม่ทันตนจึงลงทุนซื้อที่เพิ่มอีก 58 ไร่เพื่อขยายเพิ่มกำลังการผลิตโดยย้ายมาที่ ตำบลบ้านโข้ง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยทำเป็นโรงเรือน ขนาดใหญ่จากเมื่อก่อนจะเลี้ยงในกาละมังตอนนี้ได้เปลี่ยนมาทำแปลงเลี้ยงแบบแปลงผัก

คาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดการผลิตตาก 30 ตันต่อเดือนมาเป็น 100 ตันต่อเดือน ในอนาคตอันใกล้นี้ได้อย่างแน่นอน และตนก็จะร่วมกับทีมวิศวกรของบริษัท ออกแบบหุ่นยนต์ มาทำงานที่ สติฟาร์มแห่งนี้ต่อไป