เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา

‘คีรีรัฐ’ อาจจะมีอะไรไม่มากในแง่แหล่งท่องเที่ยว แต่เมื่อได้มาเห็น ผมว่า คนที่มาเยือนก็ไม่ผิดหวังหรอกครับ เพราะที่นี่เคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เลยชวนมาเที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’

อำเภอคีรีรัฐนิคม  เป็นอำเภอหนึ่งของ จังหวัดสุราษฎร์ธานี    ที่ผมไม่ค่อยได้เขียนถึงบ่อย แม้จะเคยไปมาแล้ว 2-3 ครั้งก็ตาม    แต่ครั้งนี้มีความตั้งใจอยากจะเขียนถึง   

ผมไปดูประวัติของที่นี่มาจากเวบไซค์ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เขาให้ประวัติคีรีรัฐนิคมคร่าวๆว่า

              “...จากหลักฐานด้านโบราณคดีชี้ให้เห็นว่า ในท้องที่ อำเภอคีรีรัฐนิคม ปัจจุบันเคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะตั้งแต่ยุคหินใหม่เป็นต้นมา ดังที่มีการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคดังกล่าวที่คีรีรัฐนิคมด้วย เนื่องจากคีรีรัฐนิคมตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลประมาณ 60-70 กิโลเมตร

อยู่ในเส้นทางคาบสมุทรจากเมืองไชยาไปเมืองตะกั่วป่า และมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ ดีบุก ไม้ และของป่า ทำให้คีรีรัฐนิคมมีโอกาสที่จะพัฒนาขึ้นมาเป็นชุมชนขนาดใหญ่ได้ด้วยปัจจัยสองประการ คือ

ประการแรก เกิดจากการตั้งด่านสำหรับขนถ่ายสินค้าและคนโดยสารข้ามคาบสมุทรจากฝั่งตะวันตก ประการที่สอง เกิดจากการเป็นแหล่งผลิตดีบุก ไม้ และของป่า จึงมีราษฎรอพยพโยกย้ายเข้าไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เกิดเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นมา ในพุทธศตวรรษที่ 13 อำเภอคีรีรัฐนิคมรวมอยู่ในอาณาจักรศรีวิชัย เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลง ดินแดนแห่งศรีวิชัยได้แยกออกเป็น 3 เมือง คือ

      - เมืองไชยา ตั้งอยู่ในอำเภอไชยาปัจจุบัน

      - เมืองท่าทอง ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำท่าทองอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน

      - เมืองคีรีรัฐนิคม ตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายคลองพุมดวง อันเป็นที่ตั้งอำเภอคีรีรัฐนิคมในปัจจุบัน...“

อ่านดูแล้วท่านผู้อ่านอาจจะต้องปะติดปะต่อเรื่องนิดหนึ่ง ยิ่งถ้าได้ดูประกอบกับแผนที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็จะเห็นว่า คีรีรัฐนิคม นั้น อยู่เกือบจะใจกลางของพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์เลยก็ว่าได้ ซึ่งเรารู้กันอยู่แล้วว่า สุราษฎรนั้น มี อ.พุนพินเป็นชุมชนที่มีความจริญเก่าแก่  ก่อนความเจริญจะขยายไปทางตัวเมืองสุราษฎร์ในปัจจุบัน 

ส่วน คีรีรัฐนิคม ตามประวัติที่ยกมาให้ดู ก็เป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำพุมดวง แม่น้ำสายสำคัญของสุราษฎร์(อีกสายคือแม่น้ำตาปี มีต้นน้ำมาจากทางนครศรีธรรมราช ส่วนต้นแม่น้ำพุมดวงอยู่แถว อ.พนมและบ้านตาขุน)   พื้นที่ใน อ.คีรีรัฐนิคม จึงเป็นป่าและภูเขาน้อยใหญ่เสียเป็นส่วนใหญ่ ที่ราบที่พบจึงมีไม่มากเป็นที่ราบระหว่างภูเขา

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา พระธาตุหินนิลเปา

แม้ตัวชุมชนจะก่อตั้งมานาน แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาอย่างที่บอก ประกอบกับภายหลังความเจริญจะย้ายจากริมทางรถไฟ ออกมาสู่ริมถนนรถยนต์สายต่างๆ เลยทำให้ตัว อำเภอคีรีรัฐ กลายเป็นอำเภอเล็กๆไปโดยปริยาย   แง่ดีก็คือมันเหมาะกับการอยู่อาศัย แต่ช่องทางทำมาหากินก็คงไม่ได้มาก ในพื้นที่ทำสวนปาล์มเป็นส่วนใหญ่

ภูเขาที่นี่จะเป็น ภูเขาดิน ที่มีหินแกรนิตเป็นธรณีสัณฐาน  ลักษณะก็จะคล้ายกับป่าทางภาคตะวันออก ทางระยอง จันทบุรีนะแหละคือจะมีหินแกรนิตโผล่บนยอดเขา  น้ำที่ออกมาจากพื้นที่เหล่านี้จะใสแจ๋ว(แต่ตอนหลังมีการเปิดหน้าดินทำสวนปาล์มเยอะ น้ำเลยจะออกแดงๆสีขุ่น) 

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา สภาพทางที่ขึ้นไปจนถึงหินนิลเปา

ซึ่งอาจจะแตกต่างจากภูเขาในเขตเชี่ยวหลาน เขาสก หรือที่ อ.พนม  ที่เราไปแล้วจะเห็นว่าเป็นภูเขาหินปูน  แม้พื้นที่จะใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้ว่าจะต้องเป็นเหมือนกันทั้งหมด   กรณีของหินนิลเปา และ หินพัด นี้ก็เช่นกัน   

จริงๆแล้ว ปรากฏการณ์แบบนี้มีเยอะ  หินโหม่ง ที่เขาเขียว-เขาชมพู่  ที่ชลบุรี   พระบาทพลวง ที่เขาชะเมา ระยอง   หรือที่ดังๆก็คือพระธาตุอินทร์แขวน ที่เมียนมา   เป็นลักษณะปรากฏการณ์หินตั้งเหมือนกัน จะต่างกันก็แค่ทัศนียภาพที่รายรอบแค่นั้นเอง 

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา หินนิลเปา

การเดินทางไปยัง หินพัด-หินนิลเปา นี้  ไปทางเดียวกัน   เดินทางง่ายๆเลยคือเข้าไปที่ตัว อำเภอคีรีรัฐนิคม ก่อน   แล้วจะเห็นป้ายบอกทางไปหินพัด  ก็ไปตามทางเลยครับ เพราะอำเภอนี้มีที่เที่ยวไม่กี่แห่ง ไปตามทาง ตามป้ายเรื่อยๆ  

ทางจะเข้าไปสู่พื้นที่ที่เป็นสวนปาล์มสองข้างทาง แต่ทางราดยางตลอดนะ จากที่เคยมีบ้านเรือนห่างๆ  ก็จะไม่เห็นบ้านคนแต่จะเห็นแต่สวนปาล์มสองฝั่งทาง  แยกแรกที่จะเจอคือแยกซ้ายมือไปพระธาตุหินนิลเปา ทางจะขึ้นเนินไปเรื่อยๆ   จนกระทั่งไปสิ้นสุดที่ ‘พระธาตุหินนิลเปา’

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา ลักษณะก็จะเป็นเจดีย์ที่ถูกสร้างบนหินแกรนิตก้อนใหญ่ๆ   ที่โผล่อยู่บนยอดเนินเขา แล้วทาสีเหลืองทอง  นี่คือ พระธาตุหินนิลเปา   

เลยลงมาด้านล่างนิดหนึ่งห่างกันราวร้อยเมตร  จะเห็นหินก้อนใหญ่ที่มีโคนคอดกิ่ว ตั้งอยู่โดดเด่น  ป้ายด้านล่างติดว่าเป็น หินนิลเปา   ผมก็ไม่รู้นะว่าความหมายคืออะไร  แต่มันก็คือหินแกรนิตนั่นละครับ

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา สวนปาล์มกว้างใหญ่รอบๆที่ตั้งหินนิลเปา

กลับออกมาตรงทางแยกอีกทีแล้วเลี้ยวซ้าย ไปตามทางไปยัง ‘หินพัด’ ลักษณะทางก็เหมือนกันคือทางราดยาง และมีแต่สวนปาล์ม  ทางมาหินพัดนี่ดีหน่อยยังมีบ้านคนประปรายอยู่ข้างทางบ้าง   ทางจะขึ้นเขาชัน ไปจนสุดที่ลานจอดรถ  แล้วจึงเดินเท้าไปตามทางปูนที่ทำเป็นสะพานทางเดินอย่างดี  อีกราว 100  เมตร ก็จะถึงบริเวณที่เรียกว่าหินพัด   

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา ทางเดินไปยังหินพัด

หินพัดจะเป็นหินแกรนิต ขนาดเล็กกว่าหินนิลเปามีส่วนคอดเล็กๆ ตั้งอยู่บนหินแกรนิตก้อนใหญ่ มีบางมุมมองที่เราจะเห็นว่าโคนของหินนี้เหมือนจะแทงปักลงไปในก้อนหินใหญ่ที่เป็นฐาน   ความสวยงามก็อย่างที่ผมบอกว่าขึ้นอยู่กับทัศนียภาพที่อยู่รายรอบ

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา ปรากฏการณ์แบบนี้ผมเรียกว่า ปรากฏการณ์หินคอด หรือหินตั้ง จริงๆ   ก็เกิดขึ้นได้ในหินทุกแบบ ทั้งหินทราย หินปูน   เกิดขึ้นได้หมด  แต่หินพักหรือหินนิลเปา เป็นกลุ่มหินแกรนิต   

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา หินพัด ที่เป็นทั้งปรากฏฎการณ์หินตั้งและเป็นจุดชมทิวทัศน์

อย่างที่เรารู้กันว่าหินแกรนิตนั้นเป็นหินที่ออกมาจากใต้โลก  ออกมากับลาวาพอสู่พื้นผิวโลกก็แข็งตัว   โลกมีการปรับสมดุลและผ่านปรากฏการณ์ใหญ่ๆหลายต่อหลายครั้งเป็นเวลาเป็นร้อยๆล้านปี จนหินแกรนิตที่กระจัดกระจายนั้นถูกดันขึ้นเป็นภูเขา 

หินพวกนี้ก็ถูกยกตัวขึ้นด้วย ฝน แสงแดด อากาศ ทำให้หินแกรนิตที่มันเคยซ้อนทับกันก็แตกออก (ในภาพที่เอามาให้ดูก็จะเห็นการแตกของหินแกรนิตใกล้เคียง) หินส่วนที่เคยหุ้ม คลุมในสวนล่างที่ซ้อนทับกันก็แตกออก

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา รอยแตกบนหินพัดนั้นชัดเจน

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา

อีกมุมมองของหินพัดจะเห็นฐานที่คอดกิ่วยิ่งขึ้น

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา

รูปลักษณ์หินพัดอย่างชัดเจน

ส่วนที่แตกก็ผุสลายไป เหลือแต่ส่วนด้านบนที่ยังไม่แตกสลาย และน้ำหนักมันได้สมดุลกันพอดี เลยทำให้หินเหล่านี้ตั้งอยู่ได้ เวลาท่านผู้อ่านไป ก็ลองดูตรงส่วนคอดที่มันตั้งอยู่ก็ได้ว่าจะเห็นหินมันก็ยังมีการแตกกร่อนออกมา

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา ฐานที่คอดกิ่ว แต่ยังได้สมดุล จึงยังไม่ล้มลง

วันหนึ่งข้างหน้า ซึ่งเราไม่รู้ว่าอีกเมื่อไหร่ อาจจะเป็นพัน เป็นหมื่นปี หินที่ตั้งๆเหล่านี้ก็ล้ม หรือถ้ามีแผ่นดินไหวแรงๆ มีแรงขนาดใหญ่มาโยก หินพวกนี้ก็กลิ้งล้มลงหมดละครับ 

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา นี่คือความเป็นจริงทางธรณี    ไม่ใช่เรื่องที่เป็นความวิเศษอะไรทั้งสิ้น    วันข้างหน้ามีการพังทลายตกลงแน่นอน เพียงแต่วันนี้มันยังคงตั้งอยู่ให้เราเห็นเท่านั้น  ธรรมชาติที่มองเห็นรอบๆบริเวณ ก็ทำให้ดูสดชื่น คุ้มค่ากับการได้เดินทางมาเยือน

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา ทางเดินมายังหินพัด 

เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา เที่ยว ‘จังหวัดสุราษฎร์ธานี’ คีรีรัฐ...หินพัด-นิลเปา คีรีรัฐนิคมอาจจะมีอะไรไม่มากในแง่แหล่งท่องเที่ยว  แต่เมื่อได้มาเห็น ผมว่า คนที่มาเยือนก็ไม่ผิดหวังหรอกครับ  มาคีรีรัฐนิคม  มาชมหินตั้งกัน....