อากาศเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์หนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 องศา นทท.ได้ชมแม่คะนิ้ง

อากาศเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์หนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 องศา นทท.ได้ชมแม่คะนิ้ง

อากาศเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์หนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 องศา นักท่องเที่ยวแห่สัมผัสแสงแรกของเช้าวันใหม่ ตื่นตาตื่นใจกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ "แม่คะนิ้ง" เป็นครั้งที่ 18

วันนี้ 13 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  สภาพอากาศวันนี้ บนดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ โดย อากาศเชียงใหม่เช้านี้ อากาศหนาว ยอดดอยอินทนนท์ อุณหภูมิต่ำสุด 6 องศา , ส่วนกิ่วแม่ปาน อุณหภูมิต่ำสุด 7 องศา

และที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ (บ้านขุนกลาง กม.31) อุณหภูมิต่ำสุด 11 องศา อากาศบนยอดดอยอยู่ในเกณฑ์หนาวถึงหนาวจัด  

ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์น้ำค้างแข็ง แม่คะนิ้ง ขึ้นในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นครั้งที่ 18 และนับเป็นครั้งที่ 19 ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 

 

แม่คะนิ้ง บนดอยอินทนนท์

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ แม่คะนิ้ง ครั้งที่ 18 บนดอยอินทนนท์

เชียงใหม่อากาศหนาว  เกิดแม่คะนิ้ง ในพื้นที่อุทยานฯดอยอินทนนท์

 

สำหรับบรรยากาศการท่องเที่ยวบนยอดดอยอินทนนท์ยังคงคึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ที่ขึ้นมาเที่ยวรอชมแสงแรกของเช้าวันใหม่ พร้อมทั้งตื่นตาตื่นใจกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เหมยขาบ หรือ แม่คะนิ้ง ขาวโพลนบนยอดดอยอินทนนท์ท่ามกลางอากาศที่หนาวจัด ส่วนสภาพการจราจรคล่องตัว

 

นักท่องเที่ยวรอชมแสงแรกของเช้าวันใหม่ ที่ดอยอินทนนท์

แสงแรกของเช้าวันใหม่ ที่กิ่วแม่ปาน ดอยอินทนนท์ ท่ามกลางอากาศหนาว

สถิติการเกิดเหมยขาบ แม่คะนิ้ง หรือน้ำค้างแข็ง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ระหว่างปี 2566/2567   

พื้นที่การเกิดแม่คะนิ้ง น้ำค้างแข็ง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์              

  • ครั้งที่ 1 วันที่ 28/11/2566 เกิดขึ้นบริเวณลานหญ้าบริเวณใกล้กับลานจอดรถบนยอดดอย ใกล้กับเรดาร์กองทัพอากาศ
  • ครั้งที่ 2 วันที่ 16 /12/2566 เกิดขึ้นบริเวณลานหญ้าบริเวณใกล้กับลานจอดรถบนยอดดอย ใกล้กับเรดาร์กองทัพอากาศ
  • ครั้งที่ 3 วันที่ 19/12/2566 เกิดขึ้นบริเวณลานหญ้าบริเวณใกล้กับลานจอดรถบนยอดดอย ใกล้กับเรดาร์กองทัพอากาศ
  • ครั้งที่ 4 วันที่ 20/12/256 เกิดขึ้นบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ที่อน.5 (ยอดดอย)
  • ครั้งที่ 5 วันที่ 23/12/2566 เกิดขึ้นบริเวณลานหญ้าบริเวณใกล้กับลานจอดรถบนยอดดอย ใกล้กับเรดาร์กองทัพอากาศ
  • ครั้งที่ 6 วันที่ 24/12/2566 เกิดขึ้นบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ที่อน.5 (ยอดดอย)
  • ครั้งที่ 7 วันที่ 30/12/2566 เกิดขึ้นบริเวณลานหญ้าบริเวณใกล้กับลานจอดรถบนยอดดอย ใกล้กับเรดาร์กองทัพอากาศ
  • ครั้งที่ 8 วันที่ 31/12/2566 เกิดขึ้นบริเวณลานหญ้าบริเวณใกล้กับลานจอดรถบนยอดดอย ใกล้กับเรดาร์กองทัพอากาศ
  • ครั้งที่ 9 วันที่ 01/01/2567 เกิดขึ้นบริเวณกิ่วปาน และเกิดขึ้นบนยอดดอยอินทนนท์
  • ครั้งที่ 10 วันที่ 02/01/2567 เกิดขึ้นบริเวณลานหญ้าบริเวณใกล้กับลานจอดรถบนยอดดอย ใกล้กับเรดาร์กองทัพอากาศ และกิ่วแม่ปาน

 

การเกิดแม่คะนิ้ง หรือน้ำค้างแข็ง ดอยอินทนนท์

  • ครั้งที่ 11 วันที่ 03/01/2567 เกิดขึ้นบริเวฯยอดดอยอินทนนท์ และกิ่วแม่ปาน
  • ครั้งที่ 12 วันที่ 20/01/2567 เกิดขึ้นบริเวณลานหญ้าบริเวณใกล้กับลานจอดรถบนยอดดอย ใกล้กับเรดาร์กองทัพอากาศ
  • ครั้งที่ 13 วันที่ 21/01/2567 เกิดขึ้นบริเวณริมทาง กม. 45 ถนนจอมทอง - อินทนนท์ (ก่อนถึงยอดดอย) 
  • ครั้งที่ 14 วันที่ 22/01/2567 เกิดขึ้นบริเวณยอดดอยอินทนนท์
  • บริเวณลานหญ้าบริเวณใกล้กับลานจอดรถบนยอดดอย ใกล้กับเรดาร์กองทัพอากาศ
  • ครั้งที่ 15 วันที่ 4/02/2567 เกิดขึ้นบริเวณริมทาง กม. 46 ถนนจอมทอง - อินทนนท์ (ก่อนถึงยอดดอย) 
  • ครั้งที่ 16 วันที่ 5/02/2567 เกิดขึ้นบริเวณยอดดอยอินทนนท์ บริเวณลานหญ้าบริเวณใกล้กับลานจอดรถบนยอดดอย ใกล้กับเรดาร์กองทัพอากาศ
  • ครั้งที่ 17 วันที่ 12/02/2567 เกิดขึ้นบริเวณยอดดอยอินทนนท์ ก่อนขึ้นไปถึงป้ายสูงสุดแดนสยาม
  • ครั้งที่ 18 วันที่ 13/02/2567 เกิดขึ้นบริเวณยอดดอยอินทนนท์

 

แม่คะนิ้ง บนพื้นหญ้าบริเวณดอยอินทนนท์

 

พื้นที่การเกิดเหมยขาบ แม่คะนิ้ง หรือน้ำค้างแข็ง ศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์ กองทัพอากาศ และ ข้อมูลจาก ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ

 

  • ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15/12/2566 บริเวณเนินลานหญ้า ภายในศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์ (เรดาร์กองทัพอากาศ)
  • ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20/12/2566 บริเวณเนินลานหญ้า ภายในศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์ (เรดาร์กองทัพอากาศ) เกิดขึ้นพร้อมกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 
  • ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 30/12/2566 บริเวณเนินลานหญ้า ภายในศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์ (เรดาร์กองทัพอากาศ) เกิดขึ้นพร้อมกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ้างอิงจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ
  • ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 31/12/2566 บริเวณเนินลานหญ้า ภายในศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์ (เรดาร์กองทัพอากาศ) เกิดขึ้นพร้อมกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ

 

หยดน้ำค้างเกาะบนผีเสื้อ

 

  • ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 01/01/2567 บริเวณเนินลานหญ้า ภายในศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์ (เรดาร์กองทัพอากาศ) เกิดขึ้นพร้อมกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ
  • ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 20/01/2567 บริเวณเนินลานหญ้า ภายในศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์ (เรดาร์กองทัพอากาศ) อุณหภูมิยอดหญ้า - 5.5 องศา  เกิดขึ้นพร้อมกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ
  • ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 22/01/2567 บริเวณกิ่วแม่ปาน เกิดขึ้นพร้อมกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ

ที่มา-ภาพ : อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ , จอมทอง สร้างสรรค์   ,  ลุงหนวด ดอยอินทนนท์