ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’

วันเดย์ทริปไปกับการท่องเที่ยวเส้นทางใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใครจัดมาก่อนใน ‘พระนคร’ สัมผัสภูมิปัญญาท้องถิ่นใน 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’

วันดี ๆ ที่แสงแดดสดใส เราได้ไป ร่วมงาน กิจกรรมท่องเที่ยวสร้างสรรค์ ‘กินเที่ยวข้ามภพ (อย่างมี) ภูมิ’ จัดโดย โครงการวิจัย 'การยกระดับภูมิปัญญาชุมชนสู่ย่านท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์' มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้กองทุน ววน.

เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เชื่อมโยงเครือข่ายภูมิปัญญา ใน 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนนางเลิ้ง, ชุมชนบ้านบาตร, ชุมชนวัดสระเกศ, ชุมชนสิตาราม (วัดคอกหมู) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2566

เป็นครั้งแรกที่ได้มีการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวย่านรอบ ๆ ภูเขาทอง โดยปราชญ์ท้องถิ่น นำเสนอภูมิปัญญาที่ได้สืบทอดต่อกันมา ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’ Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ชุมชนบ้านบาตร

พวกเราคือนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกของเส้นทางนี้ ออกเดินทางจากจุดนัดหมาย Old Town Gallery เวลา 9:00 น. จากถนนจักรพรรดิพงษ์ไปยัง ชุมชนบ้านบาตร แหล่งรวมช่างฝีมือพุทธศิลป์

สง่า เสือศรีเสริม ไกด์ท้องถิ่นในชุมชนบ้านบาตร นำพวกเราชมการทำบาตรพระทั้ง 8 ขั้นตอนอย่างละเอียด เริ่มจากการตีขอบบาตรก่อน

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’ Cr. Kanok Shokjaratkul

"การทำบาตรพระตามหลักศาสนาจะมี 8 ชิ้น นำมาขึ้นรูปเชื่อมติดกัน ต่อบาตรให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วตะไบออกให้เรียบเนียนจนเป็นเนื้อเดียวกัน

ถ้าพระบางรูปขอเพิ่มน้ำหนัก เราก็จะสั่งทำเหล็กหนาขึ้น เช่น ปกติเราใช้เบอร์ 20 ก็ลดเบอร์ลงเป็น 19 หรือ 18

สำหรับช่างมืออาชีพ 1วัน ได้ 3 ใบ ซึ่งก่อนใช้ พระจะนำไป 'บ่ม' ด้วยความร้อนก่อน คือการก่อไฟรอบนอก บาตรอยู่ตรงกลาง ไอร้อนจะเข้าไปเคลือบ ทำให้ไม่เป็นสนิม กลายเป็นสีปีกแมงทับ อมดำอมเขียวอมเทา

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’ Cr. Kanok Shokjaratkul

เขาซื้อเรา 2500 บาท เสียค่าบ่มอีก 5000-7000 แพงกว่าค่าบาตร เพราะใช้เวลา 13 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น บาตรรมดำ สนิมจะไม่กิน"

พวกเราแวะพักที่ลานกลางชุมชน ดื่มน้ำมะตูม ข้าวมธุปายาศ ฟังดนตรีระนาดเอกโหมโรง และร่วมรำวงกับคณะรำวงบ้านบาตร 

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’

  • ชุมชนวัดสระเกศ

จากนั้น เดินทางต่อไปยัง ชุมชนวัดสระเกศ ผ่านเขตสังฆาวาส เดินทะลุไปด้านหลังวัด มองเห็นคลองที่เคยเป็นเส้นทางการขนส่งไม้ในอดีต ที่มาจากคลองผดุงกรุงเกษม

กิจการค้า แปรรูปไม้ โรงเลื่อย โรงผลิต งานช่างไม้ กระจายอยู่รอบ ๆ ย่านภูเขาทอง คนส่วนมากที่มาวัดสระเกศ มักคิดว่ามีแต่ภูเขาทอง แต่จริง ๆ แล้วมีชุมชนที่น่าสนใจอีกมาก

วัดสระเกศ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมตั้งใจสร้างเป็นพระปรางค์องค์ใหญ่เหมือนวัดอรุณ แต่ดินในพื้นที่พระนครเป็นดินเลน ดินทะเลตม เป็นที่ลุ่มชุ่มชื้น ทำให้ฐานรากพระปรางค์ทรุดลงมา

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’

รัชกาลที่ 4 จึงเอาสิ่งสลักหักพักมาทำเป็นฐานรูปภูเขาแล้วสร้างพระเจดีย์ทรงลังกาไว้บนยอดสูงสุด มาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อุปราชจากอินเดียมาทูลเกล้าถวาย

เราเดินผ่านลานจอดรถของวัดสระเกศ ตรงไปยัง ตรอกเซียงไฮ้ ตรอกโลงผี มองเห็นสตรีทอาร์ต Life after death exhibition

ที่ ป๋าเอ็กซ์-อรรถกฤตย์ จีนมหนันต์ แฟนพันธุ์แท้การ์ตูนเล่มละบาท ร่วมกับ อาจารย์โต๊ด โกสุมพิสัย นักวาดการ์ตูนเล่มละบาทสร้างสรรค์ไว้ ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’ Cr. Kanok Shokjaratkul

โจ้-ฐกฤตธรณ์ พิพัฒน์คฌากุล เจ้าของร้าน 'ประธาน' หีบศพ เล่าว่า สมัยก่อนตรงที่จอดรถที่เราเดินผ่านมานั้นเป็นที่เก็บศพคนตายมากมายจากโรคห่า (อหิวาห์ตกโรค) เพราะวัดในพระนครไม่มีเมรุเผาศพ แร้งเป็นร้อยก็ลงมากิน

"ซอยที่ผมอยู่แห่งนี้เดิมไม่มีชื่อ มีช่างฝีมือทำเฟอร์นิเจอร์ชาวจีนเซียงไฮ้มาอาศัยอยู่ เมื่อ 50 ปีที่แล้ว คนก็จะมาซื้อโต๊ะตู้เตียง Hand Made กันแถวนี้ สวนมะลิ วรจักร บ้านบาตร คนเลยเลยเรียกว่า ตรอกเซียงไฮ้

แล้วในซอยก็มีคนทำโลงศพอยู่ 2-3 เจ้า วางโลงระเกะระกะ คนก็เลยเรียกว่า ซอยโลงผี

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’

ผมเป็นรุ่นที่สาม สินค้ามี 3 อย่าง โลงไทย, โลงจีน, โลงคริสต์ โลงไทย 3-7 วันเผา โลงจีน เป็นโลงจำปา เอาไปฝังในสุสาน ส่วนโลงคริสต์ หรือ โลงฝรั่ง พิธีกรรมจะเรียบง่ายมาก

ร้านทำโลงส่วนใหญ่จะใช้ไม้เหมือนกัน คือ ปาร์ติเกิลบอร์ด หรือไม้สัก ความแตกต่างจะอยู่ที่หนึ่ง.รายละเอียดวิธีการทำ สอง.การบริการของแต่ละร้าน

อย่างร้านผมใช้ ‘ชัน’ คุณภาพสูง หายากมาก ราคาแพงมาก เพราะมันเข้ากับเนื้อไม้มากกว่าซิลิโคน ใช้ยาแนวตามรอยต่อ นี่คือเสน่ห์ของร้านผม ปกติเขาใช้ชันเรือ ไม่ให้รั่ว

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’

โลงมาตรฐานจะยาว 190 ซ.ม. ไซส์กลาง 22 นิ้ว เวลามีคนติดต่อมา เราจะถามว่า น้ำหนักเท่าไร เรามีหมด ตั้งแต่ 22-30 นิ้ว แล้วส่งให้ช่างประกอบ, ช่างสี, ช่างขึ้นลาย, ช่างตกแต่ง

ผมและพ่อไม่เคยห้อยพระ ไม่เคยเห็นผี ไม่มีไสยศาสตร์ เราจุดธูปไหว้แล้วทำให้ดีที่สุด

มีคนถามว่า ซื้อโลงห้ามต่อจริงหรือ นั่นเพราะเขากลัวคำว่า 'ต่อ' หมายถึงจะมีต่อศพที่ 2-3 ตามมา มากกว่า ผมว่านะ ไม่ว่าเราจะซื้ออะไร ถ้าราคาสูงเกินไป ต่อได้ครับ

ผมมีลูกค้าตามวัด ไม่ได้มีตามโรงพยาบาล เรามีอัลบั้ม อยากได้ราคาเท่าไร หลักพันหลักหมื่น ก็ว่าไปตามโบชัวร์ แล้วแต่ชอบแพงชอบถูก"

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’ Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ชุมชนสิตาราม

คณะท่องเที่ยวของเราเดินเท้าต่อไปยัง ชุมชนสิตาราม ชมเด็ก ๆ เต้นประกอบดนตรีต้อนรับและชมรำแก้บนจากทายาทคณะละครดำรงนาฏศิลป์ (ฮวด จุยประเสริฐ)

เดิมบริเวณนี้เลี้ยงหมูเยอะ ผู้คนเรียกกันว่า วัดคอกหมู ส่วนชุมชนเกิดขึ้นหลังจากนายฮวดมาตั้งคณะละครชาตรี มีที่เล่นประจำ รับแก้บน ซึ่งก่อนจะรำต้องมี รำถวายมือ เทพบันเทิง เสียก่อน

เราแวะรับประทานอาหารกลางวันที่ร้าน Schizzi Café กับบะหมี่หมูแดง จากร้าน โลงผีหมี่เกี๊ยว หรือ บะหมี่บุญเลิศ เกี๊ยวหมูย่างซีอิ๊ว (Michelin) และ ถั่วแปปกุ้ง จากชุมชนตลาดนางเลิ้ง

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’ Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ชุมชนนางเลิ้ง

พวกเราเดินทางต่อไปยัง ชุมชนนางเลิ้ง ข้ามถนนหลานหลวง ถนนที่มีบ้านเรือนของผู้คนที่ทำอาชีพบันเทิงเกี่ยวกับคณะละครมากที่สุดสายหนึ่งในพระนคร

เราเข้าไปในตรอกละคร ถอดรองเท้าขึ้นไปนั่งชม ละครชาตรี บทที่ 1 นางวิฬาร์ เริ่มต้นการเกิดใหม่ ต่อด้วย การนุ่งโจง และทดลองรำกับ ครูกัญญา ทิพโยสถ ทายาทรุ่นที่ 4 ละครชาตรี คณะกัญญาลูกแม่แพน และคณะครูพูนเรืองนนท์

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’ Cr. Kanok Shokjaratkul

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’

ปิดท้ายด้วย Workshop ประดิษฐ์แป้งพวง ภูมิปัญญาของคนไทยในอดีตกาล ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

ใช้ แป้งหิน (ไม่ใช่ดินสอพอง) นำมาบดช้า ๆ แล้วนำ กลิ่นดอกจำปี ที่สกัดแล้วใส่ลงไป บดต่อจนแป้งเหนียว แล้วนำมาหยอดบนใบตองที่มีด้ายวางพาดอยู่

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’ .

ท่องเที่ยว ‘พระนคร’ เส้นทางใหม่ 4 ชุมชน รอบ ‘ภูเขาทอง’ แป้งพวง เป็นเครื่องหอม เป็นเครื่องประดับก็ได้ เอามาทัดผม หรือเป็นต่างหูก็ได้ ปัจจุบันวัตถุดิบค่อนข้างหายาก ต้องไปหาจากร้านเจ้ากรมเป๋อ ตรงวัดสามปลื้ม

ในสมัยก่อน ถ้าเป็นผู้หญิงจะเอามา 5-6 เม็ด แต่งแต้มใบหน้า ถ้าเป็นผู้ชายจะสั่งไปบูชาพระ หรือเอาไปวัด
https://www.facebook.com/BaanNanglerng?mibextid=ZbWKwL