“เที่ยวประจวบ” หนี่งเดียว...ที่ฝั่งแดง

“เที่ยวประจวบ” หนี่งเดียว...ที่ฝั่งแดง

“เที่ยวประจวบ” หนึ่งเดียว...ที่ฝั่งแดง บ้านเรานั้น มีพื้นที่หลายแห่งที่มีรูปลักษณ์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ไม่พบเห็นที่ใด อาจจะมีคล้ายคลึงกันบ้างแต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียว อย่างเช่นหาดผาแดง หรือฝั่งแดงที่กำลังจะเอ่ยถึงนี้

เที่ยวประจวบ ที่ หาดฝั่งแดง  อยู่ในเขตอำเภอ บางสะพานน้อย ของ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์    ใครยังไม่เคยไป

ก็ให้เริ่มที่ตัวอำเภอบางสะพานน้อย แล้วมุ่งหน้าไปทางตะวันออก ไปจนเจอสี่แยก ถนนเลียบชายทะเลที่มาจากอำเภอบางสะพาน

เลี้ยวซ้ายไปเรื่อยๆ พอเข้าเขตตำบลทรายทอง สังเกตทางซ้ายมือ จะเป็นทางโค้งเล็กๆ มีป้ายบอกทางเข้า

เข้าไปเจอสามแยกให้ไปทางแยกซ้าย สองข้างทางจะมีบ้านสวน สวนมะพร้าว ไปจนสุดทาง ระยะทางราว ๒๐๐ เมตร  

มีศาลเล็กๆทางขวามือ  มีทางจะลงไปลานจอดรถด้านล่าง นำรถลงไปจอดได้

ด้านหน้าจะเป็นคลองน้ำเล็กๆ มีเรือประมงพื้นบ้าน มาจอดหลบลม ซ่อมเครื่องมือในเรือ   มองออกไปทางทะเลจะเห็น เกาะทะลุ

ใกล้เข้ามาคือ เกาะสิงห์  เกาะสังข์ ส่วนชายหาดอยู่ทางขวามือ ลงไปเดินดูกันได้

หาดฝั่งแดง นี้ เรียกกันหลายชื่อ “หาดผาแดง”ก็เรียก เพราะเป็นหน้าหินตัดตรงลงมาในแนวดิ่ง 90 องศา  สูงราว 10 เมตร  

แต่สำหรับคนที่ออกทะเล เขาก็จะมองหาฝั่งที่มีผาสีแดงนี้เป็นหมุดหมาย  เขาก็จะเรียกว่า “หาดฝั่งแดง” แต่ไม่ว่าจะเรียกอะไร

มันก็จะมีคำว่า “แดง” มาด้วยตลอด  นั่นเป็นเพราะว่าหน้าผาแห่งนี้เป็น ศิลาแลง ผสมทราย 

เราอาจจะเคยเห็นศิลาแลงที่เอามาทำฐานปราสาทเขมร หรือเอามาทำวัดแถวสุโขทัย กำแพงเพชร  ว่าทำไมมันออกสีดำ

“เที่ยวประจวบ” หนี่งเดียว...ที่ฝั่งแดง

ซึ่งคุณสมบัติของ ศิลาแลง คือขณะที่อยู่ในบ่อซึ่งต้องขุดลงไป มันจะยังไม่แข็งมาก แต่ครั้นนำออกมาสู่อากาศข้างนอกมันจะแข็งตัว

และทนทาน  สีแดงก็น่าจะมาจากธาตุเหล็กที่ปะปนทั้งในเนื้อดินและเนื้อศาลาแลง 

“เที่ยวประจวบ” หนี่งเดียว...ที่ฝั่งแดง พอโดนไอน้ำ ทะเลหล่อเลี้ยงอยู่ตลอด ก็เลยเห็นเนื้อดินยังเป็นสีแดงตลอด เพราะถ้าราไปดูกันใกล้

ส่วนที่เป็นศิลาแลงก็ยังเป็นสีดำเหมือนที่อื่นๆ แต่ดินที่เป็นดินเหนียวปนทราย ปนหินกรวดมน ปนศิลาแลงนั่นต่างหากที่มันเป็นสีแดง

“เที่ยวประจวบ” หนี่งเดียว...ที่ฝั่งแดง แล้ว “ศิลาแลง” เกิดมาได้อย่างไร  ในวิกิพีเดียอธิบายว่า ศิลาแลงเกิดขึ้นได้ในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ฝนตกมาก แต่แล้งนานด้วย

ในฤดูฝนน้ำใต้ดินมีระดับสูง ทำให้ท่วมตอนบนของชั้นดิน (ซึ่งต่อไปกลายเป็นศิลาแลง)

ระหว่างนั้น น้ำฝนจะละลายเอาสารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์เอาไว้ เมื่อถึงหน้าแล้ง น้ำใต้ดินลดระดับต่ำลง

“เที่ยวประจวบ” หนี่งเดียว...ที่ฝั่งแดง ก็พาเอาสารประกอบอะลูมิเนียมลงไปสู่ที่ต่ำ เวลานานเข้า วัสดุบริเวณด้านบนจึงมีสารประกอบเหล็กออกไซด์มากขึ้น

และมักรวมกันเป็นกลุ่ม จึงเกิดเป็นโพรงว่าง เป็นทางให้น้ำใต้ดินซึมขึ้นลงได้ง่ายขึ้น

“เที่ยวประจวบ” หนี่งเดียว...ที่ฝั่งแดง และชะสารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์ออกไปเร็วด้วย ทำให้ศิลาแลงมีลักษณะเด่น คือ มีรูพรุนทั่วไป

และเนื้อเป็นสารประกอบเหล็กออกไซด์มากกว่าอะลูมิเนียมออกไซด์

สำหรับที่ผาฝั่งแดงย่านนี้อาจจะเคยเป็น ทางน้ำโบราณ มาก่อน เพราะปรากฏหินกรวดมนปะปนในตัวเนื้อดินมากมาย

“เที่ยวประจวบ” หนี่งเดียว...ที่ฝั่งแดง ครั้งเมื่อคลื่นลม กัดเซาะเข้ามา ค่อยๆเปลี่ยนสภาพจนเป็นหน้าผาเช่นในปัจจุบันเม็ดทราย  หินกรวดมน ที่เคยปะปนในหน้าผา

ก็ถูกกัดเซาะลงมากลายเป็นทรายเนื้อดิน ซึ่งต่างจากทรายชายทะเลที่เราคุ้นเคย หินกรวดมน ก็ถูกนำพามาอยู่บนชายหาด

“เที่ยวประจวบ” หนี่งเดียว...ที่ฝั่งแดง และยังคงเกิดการขัดสี จากคลื่นน้ำทะเลอยู่ตลอดเวลา ชายหาดที่นี่จึงมีสีแดง มีหินกรวดมน และหินศิลาแลง อยู่บนชายหาด

เหล่านี้คือความโดดเด่นของชายหาดแห่งนี้

ยิ่งถ้าเราออกไปที่ เกาะทะลุ หรือ เกาะสิงห์ เกาะสังข์  เกาะเล็กๆกลางทะเลใกล้ชายฝั่ง พอมองเข้ามา

จะเห็นหน้าผาแห่งนี้เป็นสีแดง ยาว โดดเด่นเป็นอย่างมาก   แตกต่างจากพื้นที่อื่นโดยสิ้นเชิง

“เที่ยวประจวบ” หนี่งเดียว...ที่ฝั่งแดง ชายหาดแห่งนี้ ไม่ได้สวยอะไรมากมาย แต่มีความโดดเด่นด้วยตัวเอง มีความเป็นธรรมชาติที่ยังไม่ถูกกระแสการ ท่องเที่ยว รบกวนมากนัก  

จึงยังคงความเป็นธรรมชาติอย่างมาก มีชายหาดหรือหน้าผาหินริมทะเลบางแห่ง มีลักษณะคล้าย อย่างเช่น เป็นหน้าผาหินทรายสีแดง

มีซุ้มประตูหินทราย ที่ชุมพร  แต่เป็นหน้าผาศิลาแลง คงเห็นแต่ที่นี่ที่เดียว  

“เที่ยวประจวบ” หนี่งเดียว...ที่ฝั่งแดง ก็หวังว่าคงไม่มีการมาก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นเหมือนกับที่อื่นๆ ที่กำลังเผชิญอยู่หรอกนะ

“เที่ยวประจวบ” หนี่งเดียว...ที่ฝั่งแดง อยากให้ไปดูกัน กับความเป็นหนึ่งเดียวของที่นี่ครับ...