“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์”

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์”

“ท่องเที่ยว” ที่ “เมืองกาญจน์” ต้องไม่พลาดชม “ถ้ำแก้ว” หรือ ถ้ำแก้วกาญจนาภิเษก แถมเป็นสถานปฏิบัติธรรม มีพระพุทธรัตนมุนี ที่สร้างบนเพิงผา มีหลวงพ่อทันใจ หรือหลวงพ่อขาว สร้างอยู่บนหน้าผา จุดชมวิว มองเห็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กลอง

ท่องเที่ยว ที่ เมืองกาญจน์ ครั้งนี้ จะพาไปยัง ถ้ำแก้ว  และขึ้นชื่อว่า “ถ้ำ”  ผมว่าท่านผู้อ่านคงมีภาพในจินตนาการผุดขึ้นมาอย่างแจ่มชัด

และเชื่อว่าภาพถ้ำที่ว่านั้นคงจะคล้ายๆ กัน   คือ เป็นโพรง หรืออุโมงค์ในภูเขา มีหินงอกหินย้อยภายในหรือผนังถ้ำ ภาพนี้จะแจ่มชัด

และแทบจะเป็นตัวแทนของคำว่าถ้ำก็ว่าได้  ถ้ำในรูปแบบนี้จะเกิดในภูเขาหินปูน   แต่ในภูเขาหินทรายอย่างในภาคอีสาน

ก็เรียกเพิงหินทราย ว่าถ้ำเช่นกัน หรือแม้กระทั่งในภูเขาหินแกรนิต ยังเรียกที่ว่างใต้ก้อนหินแกรนิตขนาดใหญ่ที่มาซ้อนทับกันนั้น

ว่าถ้ำด้วยเช่นกัน  ดังนั้นขอให้มีช่องว่างระหว่างภูเขาอะไรก็ตาม จะถูกเรียกว่าถ้ำทั้งหมด

แต่ถ้ำในภูเขาหินปูนดูจะเป็นถ้ำต้นแบบที่เราจะนึกถึงก่อนเมื่อเอ่ยถึงถ้ำ  ถ้ำเหล่านี้จะมีหินงอกหินย้อย  และในบรรดาถ้ำในภูเขาหินปูนเหล่านี้ 

แม้บ้านเราจะมีถ้ำหินปูนมากมาย  แต่เราพบ “ถ้ำแคลไซต์” ไม่มาก  ผมก็อธิบายไม่ถูกนะว่าถ้ำแคลไซต์มันเป็นแบบไหน

แต่เชื่อว่าพอดูจากรูปก็จะรู้ ทั้งมีตัวอย่างที่ชัดเจน อย่างเช่น  ถ้ำแก้วโกมล  ที่แม่ฮ่องสอน  แบบนั้นละครับที่เรียกว่าถ้ำแคลไซต์  

ซึ่งมันต่างกันกับ “ถ้ำหินปูน” ที่มีหินงอกหินย้อยที่เราคุ้นเคยแน่นอน

ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ “แคลไซต์” ก่อน ซึ่งในเวบไซค์กรมทรัพยากรธรณีให้ข้อมูลว่า  แคลไซต์เป็นแร่ประกอบหิน

ที่มีสูตรเคมีเป็น แคลเซียมคาร์บอนเนต(CaCO3) พบได้ทั่วไปในหินตะกอน หินแปรและหินอัคนี แคลไซต์เป็นองค์ประกอบหลักของหินปูนและหินอ่อน

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” หินเขี้ยวหนุมานสีขุน ในถ้ำสอง

“แคลไซค์” จะมีรูปผลึกระบบเฮกซะโกนาล  พบเกิดเป็นผลึกได้มากกว่า 300 แบบ และเป็นผลึกที่ ซับซ้อนมาก แบบที่พบเห็นได้บ่อยๆ คือ

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” หินย้อยในถ้ำแก้ว 

ผลึกที่มีรูปเหมือนรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ถ้ามีลักษณะแท่ง หรือ หัวแหลมๆ ยาวๆ เรียกว่า แร่ฟันม้า Dog - tooth Spar ถ้าเหมือนปลายเล็บ

เรียก Nail - head Spar เนื้อโปร่งแสงและโปร่งใสเรียก lceland Spar หรือ Double - refracting Spar ถ้ามีลักษณะเป็นใย

หรือเป็นเส้นๆ บางทีก็เรียก Satin Spar เช่นเดียวกับเรียกยิปซัมแบบเส้นใย หากแต่แคลไซต์ มีปฎิกริยา หรือฟู่กับกรดเกลือ นอกจากนี้

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” ยังอาจเกิดในลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ รวมกันเป็น กระจุก เนื้อแน่นละเอียดหรือพบในลักษณะเป็นหินงอกหินย้อยก็ได้

มีแนวแตก เรียบที่สมบูรณ์ 3 แนว แต่ผิดปกติเพราะแต่ละแนวไม่ตั้งฉากกันเมื่อเคาะหรือ สกัดออกมาจะแตกออกมามีรูปเหมือนสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนอยู่เสมอ

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” ทางลงถ้ำแก้ว จะเห็นหินย้อยที่เป็นผลึกสีเหลืองขุ่น

แข็ง 3 ถ.พ. 2.72  วาวคล้ายแก้วหรือด้านเหมือนดิน (Earthy) แคลไซต์ปกติมีสีขาว หรือไม่มีสี แต่ก็อาจจะมีสีอื่นๆ ได้ เช่น

สีเทา แดง เขียว น้ำเงิน เหลือง ถ้ามี มลทินอื่นปะปน เช่น พวกไพไรต์ ทองแดง มาลาไคต์ เป็นต้น จะมีสีเปลี่ยนไป

จากน้ำตาลไปจนกระทั่งมีสีดำ เนื้อแร่โปร่งใสไปจนกระทั่งโปร่งแสงสีผง ละเอียดสีขาวหรือสีดำ

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” ผลึกแคลไซค์ในถ้ำแก้วมหัศจรรย์

นี่คือข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณี บางทีเป็นศัพท์ทางฟิสิกส์ ท่านผู้อ่านก็ไม่ต้องซีเรียส เอาเท่าที่เรารู้เรื่องก็พอ  ผมสรุปง่ายๆคือมันจะเป็นผลึก

รูปร่างต่างๆมีสีต่างๆ แล้วแต่ธาตุตั้งต้นนั้นมีธาตุอะไรเข้มข้น ที่เรารู้จักกันง่ายๆเลยคืออย่างที่เราเรียกว่าหินเขี้ยวหนุมานนี่ละครับ 

และถ้ำที่ผมจะพาไปดูนี่ก็มีหินเขี้ยวหนุมานทั้งสีใส สีขุ่น   ม้วนๆเป็นก้อนแบบดอกกะหล่ำเยอะไปหมด  ทั้งมีหินเขี้ยวหนุมาน 

ซึ่งเป็นแร่ควอตซ์เป็นผลึกของสารประกอบออกไซด์ของซิลิคอน (SiO2) ส่วนมากเป็นผลึกใส ไม่มีสี หรือสีขาวขุ่น อาจพบมีสีม่วง ชมพู เขียว เป็นต้น

มีความแข็งประมาณ 7 ความถ่วงจำเพาะ = 2.6  นี่ข้อมูลทางวิชาการที่ผมไปเอามาจากกรมทรัพยากรธรณี ผมถึงบอกว่า บ้านเราเจอถ้ำแบบนี้ไม่บ่อย  

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” ทิวทัศน์หน้าร้านกาแฟ

“ถ้ำแก้วโกมล” ที่แม่ฮ่องสอนนั้นชัดเจน แต่มีพบแทรกใน “ถ้ำหินปูน” ทางภาคใต้บ้างเล็กน้อย (แต่ผมไปเจอหินเขี้ยวหนุมานที่เขาสามร้อยยอดเยอะมาก)

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” ภูเขาที่รอดจากการระเบิดหิน

แต่ที่นี่ เป็นอีกที่หนึ่งที่พบถ้ำแคลไซต์  เรียกว่า “ถ้ำแก้ว”    ซึ่งต่อมาตั้งชื่อว่าถ้ำแก้วกาญจนาภิเษก  อยู่ตรง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรีนี่เอง

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” ภายในถ้ำแก้วกาญจนาภิเษก

ถ้ำนี้ในพื้นที่คนเขาจะรู้จักกันพอสมควร ชนิดที่ถามใครก็บอกทางถูก  เพราะเป็นสถานปฏิบัติธรรมของจังหวัดกาญจนบุรีด้วย  

แต่ถ้าใครไปไม่ถูกก็จะบอกว่า มันจะอยู่กลุ่มเดียวกันกับเขื่อนแม่กลอง  วัดถ้ำเสือ ต้นจามจุรียักษ์  นั่นละครับ  

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” วัดถ้้ำแก้วกาญจนาภิเษก มองจากด้านนอก

วัดถ้ำแก้วกาญจนาภิเษกอยู่ในเส้นทางท่องเที่ยวเหล่านี้   เรียกว่าไปวัดถ้ำเสือ เลยไปอีกนิดก็ถึง ถ้ำแก้ว และต้นจามจุรียักษ์

ที่ตั้งของถ้ำแก้วนี้ เป็นภูเขาหินปูนไม่ใหญ่มากนัก เคยผ่านการระเบิดหินมาก่อน   แบบเดียวกับเขางูที่ราชบุรีนั่นแหละ 

ผมไม่รู้ว่าเขาหยุดระเบิดไปเพราะประทานบัตรหมดอายุหรือเพราะอะไร   ต่อมาจึงมีการสร้างที่ปฏิบัติธรรมขึ้นในที่ที่เคยถูกระเบิดหินมาก่อน  

และ “ถ้ำแก้ว” ก็อยู่ในพื้นที่ที่ผ่านการระเบิดหินนี่เอง  ซึ่งถ้ำแก้วกาญจนาภิเษกนี้มีถนนปูนขึ้นเขาไปจนถึงวัด  

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” พระเจ้าทันใจหรือหลวงพ่อขาวบนหน้าผา

ภายในบริเวณวัดจะมีพระพุทธรัตนมุนี    ที่สร้างบนเพิงผา   ยังมีหลวงพ่อทันใจหรือหลวงพ่อขาว สร้างอยู่บนหน้าผา

ซึ่งเป็นจุดชมวิว มองเห็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กลอง  แล้วยังเห็นวัดถ้ำเสือไม่ไกลตรงนี้มีร้านกาแฟของเอกชนอยู่ร้านหนึ่งด้วย

ส่วนถ้ำแดลไซต์นั้น มีด้วยกัน 3 ถ้ำ  โดยถ้ำแก้วจะใหญ่สุด โดยเดินจากศาลาของวัดไปไม่ถึง 100 เมตร ก็จะพบทางลง  มีบันไดปูนลงไปในถ้ำ

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” พระพุทธรัตมุนี ภายในวัด

ซึ่งเป็นถ้ำไม่กว้าง  และไม่ลึกนัก  ทางวัดติดไฟพอให้ส่องสว่างอยู่บ้าง   มีหินงอก หินย้อยไม่มาก  แต่อย่างที่ผมบอกว่าส่วนใหญ่จะเป็นแร่แคลไซค์

อยู่ตามเพดานตามพื้น หรือผนังถ้ำ เป็นสีขาว ของควอตซ์บ้าง  สีแดงของธาตุเหล็ก สีเทาหม่นของหินปูน  หินงอก หินย้อยก็มีบ้าง

แต่ไม่มาก บางส่วนหักตกลงมาแล้วก็มี  ที่ร้าว รอการตกหล่นก็มี ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าทั้งหินงอกหินย้อยที่ร้าวหรือหักหล่นตามพื้นนี้

เป็นผลจากธรรมชาติ เช่นแผ่นดินไหว หรือเกิดจากการระเบิดภูเขาทำเหมืองในอดีต อันนี้ไม่แน่ใจ

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” ปากถ้ำที่สอง

ต่อมาเป็นถ้ำที่สอง ถ้ำนี้อยู่ข้างทางเดินไปถ้ำแก้ว ในภูเขาที่ผ่านการระเบิดหินมาแล้ว  ถ้ำนี้ปากถ้ำจะเล็ก แคบ  เห็นผลึกสีเหลืองขุ่น 

ย้อยเป็นหินย้อยเคลือบอยู่ด้านหนึ่งของปากถ้ำ ช่วงโถงปากถ้ำ จะเห็นหินเขี้ยวหนุมานเยอะมาก เรียกว่าเต็มเพดานถ้ำไปหมด   

แล้วจะมีรูเล็กๆลงไปด้านล่างได้อีก เขามีบันไดเหล็กพาดไว้ แต่รูมันเล็กเกิน เลยไม่ได้ลงไปสำรวจ

ส่วน ถ้ำแก้วมหัศจรรย์  จะอยู่หลังศาลาใหญ่   ถ้ำนี้ก็เช่นกัน คือปากถ้ำจะเสมอกับพื้นดิน แล้วต้องเดินลงรูถ้ำไป   เขาทำบันไดเดินลงไปให้  

มีไฟฟ้าส่องสว่างเช่นเดิม โถงปากถ้ำ ก็ยังมีหินเขี้ยวหนุมานสีขุ่น ตามเพดาน ผนังถ้ำ  แล้วมีบันไดเหล็กพาดลงไปโถงด้านล่าง  

ปีนลงไปดูก็จะเป็นโถงไม่กว้างนัก  มีส่วนที่เป็นคล้ายดอกกะหล่ำมากมาย  รวมทั้งมีหลืบถ้ำให้มุดต่อไปได้อีก 

โถงนี้ไม่มีหินงอก หินย้อย มีแต่แคลไซต์ และผลึกเขี้ยวหนุมานทั้งนั้น

“ท่องเที่ยว” ถ้ำแก้ว ที่ “เมืองกาญจน์” ผลึกควอทซ์ในถ้ำ

เพราะแบบนี้ เขาถึงเรียกที่นี่ว่า ถ้ำแก้ว เพราะมันเป็นสีขาว ใส  คล้ายแก้ว นับเป็นถ้ำที่มีความมหัศจรรย์แปลกตาจากถ้ำหินปูนทั่วไป  

ซึ่งบอกเลยว่า หายาก บ้านรามีไม่มาก จึงอยากให้ไปดูกัน และถ้ำแบบนี้ บอบบางอย่างมาก หัก เปราะ ง่าย อีกทั้งถ้ำยังแคบ  

การเข้าไปเที่ยวชมจึงต้องระวังการจับ แตะ สัมผัสใดๆ    ดูได้แค่สายตา จะบันทึกภาพก็ได้แต่ต้องระมัดระวัง

ด้วยความที่มันมีไม่มาก จึงต้องทะนุถนอมกันหน่อย ไม่เช่นนั้น พังในรุ่นเราแน่ๆ....