ชุมาพร แต่งเกลี้ยง อะไรคือ 'สมรสเท่าเทียม' มั่นใจอุตสาหกรรม LGBT เขยื้อน GDP

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง อะไรคือ 'สมรสเท่าเทียม' มั่นใจอุตสาหกรรม LGBT เขยื้อน GDP

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง ผู้ริเริ่มจัดงาน Bangkok Pride ทำไม 'สมรสเท่าเทียม' จึงเป็นข้อเรียกร้องสำคัญของ LGBTQIAN+ เตรียมเสนอรัฐบาลใหม่หนุนเพลงสไตล์ Rainbow Pop เปิดวิสัยทัศน์ 4 อุตสาหกรรม LGBTQIAN+ เขยื้อนจีดีพี

Key Points :

  • คอนเซปต์ใหญ่ของ สมรสเท่าเทียม คือเปลี่ยนคำที่เป็น Binary ที่แยกและเลือกปฏิบัติ ให้เป็น neutral gender หรือคำที่เป็นกลางทางเพศ 
  • เปลี่ยนคำว่าสามีภรรยาเป็น คู่สมรส ก็ทำให้ทุกคนสามารถแต่งงาน โดยไม่ต้องมาบอกว่านี่คือผัวนี่คือเมีย
  • คุณ นก ยลดา กับคุณ แซม จะถูกการจดทะเบียนด้วยกำหมายเดิมโดยคุณนก ยลดา อยู่ในนามสามี และคุณแซมซึ่งเป็น trans men จะอยู่ในนามภรรยา ซึ่งลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขา
  • ภาษาของพวกเราคือ อุตสาหกรรมยืนยันเพศ เช่น การใช้ฮอร์โมน ผ่าตัดแปลงเพศ ผ่าตัดศัลยกรรม การใช้เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ในการตั้งครรภ์
  • หลังงาน Pride เราจะชวนสหพันธ์เพลงต่างๆ ไปคุยกับรัฐบาลใหม่ เพื่อประกาศว่านับจากนี้ไป เราอยากให้รัฐบาลสนับสนุน Rainbow Pop

 

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง อะไรคือ \'สมรสเท่าเทียม\' มั่นใจอุตสาหกรรม LGBT เขยื้อน GDP วาดดาว - ชุมาพร แต่งเกลี้ยง

นักกิจกรรมซึ่งทำงานประเด็นสิทธิมนุษยชนกับองค์การสหประชาชาติมานานกว่า 10 ปี วาดดาว - ชุมาพร แต่งเกลี้ยง นอกจากเป็นประธานและผู้ก่อตั้งบริษัท นฤมิตไพรด์ จำกัด ยังเป็นผู้ริเริ่มจัดงาน บางกอก ไพรด์ (Bangkok Pride) ที่อลังการไปด้วยสีสัน เสียงดนตรี เครื่องแต่งกายแฟนตาซี และรอยยิ้ม

เบื้องหลังความสวยงามเหล่านั้น นี่คือพื้นที่สำคัญเพื่อ ชาวLGBTQIAN+ ในการยืนหยัดความเป็นตัวตน ความมีอยู่ในสังคม และเวทีที่เป็นกระบอกเสียงของชาวสีรุ้ง

ในงาน บางกอก ไพรด์ 2023 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 มิ.ย.2566 ความไม่เท่าเทียมทางเพศประเด็นหนึ่งที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากในงานวันนั้นคือ สมรสเท่าเทียม หลายคนถือแผ่นป้ายนี้ในขบวนพาเหรด รวมทั้งให้สัมภาษณ์สื่อว่าเป็นสิทธิที่พวกเขาควรได้รับการคุ้มครองด้วยความเท่าเทียม

ความหมายจริงๆ ของ สมรสเท่าเทียม คืออย่างไร เหตุใด ชาวLGBTQIAN+ จึงให้ความสำคัญกับการเรียกร้องสิทธิข้อนี้ การจัดงาน บางกอก ไพรด์ ให้คุณค่าใดกับสังคมส่วนรวมนอกเหนือจากบุคคลเฉพาะกลุ่มอีกบ้างหรือไม่

 

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง อะไรคือ \'สมรสเท่าเทียม\' มั่นใจอุตสาหกรรม LGBT เขยื้อน GDP รณรงค์ 'สมรสเท่าเทียม' ในไพรด์พาเหรด 4 มิ.ย.2566

'สมรสเท่าเทียม' มีความสำคัญอย่างไรถึงชูเป็นประเด็นในงานปีนี้

“ถ้าพูดจากตัวเอง เพราะเราเป็นเลสเบี้ยน เรามีความรักกับผู้หญิง เราแต่งงานกันไม่ได้ เราอยากจะมีลูก แต่เรามีลูกไม่ได้ตอนนี้ คนที่เป็นหญิงรักหญิง ชายรักชาย หรือคนที่ไม่ได้แต่งงานภายใต้กฎหมายสมรส ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ในการตั้งครรภ์ได้

กฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ในการตั้งครรภ์ปี 2558 อนุญาตให้กับผู้หญิงและผู้ชายที่อยู่ในนามสามีภรรยาที่แต่งงานกันในคู่สมรสขอใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์นี้ได้ เพราะฉะนั้นเราเลยต้องต่อสู้เพื่อชีวิตของเรา”

 

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง อะไรคือ \'สมรสเท่าเทียม\' มั่นใจอุตสาหกรรม LGBT เขยื้อน GDP การส่งเสียงในงาน บางกอก ไพรด์ 2023

คำว่า ‘สมรสเท่าเทียม’ มีเนื้อหาอะไรมากกว่านั้นหรือไม่ครับ

“ในร่มใหญ่ของสมรสเท่าเทียม พูดถึงเรื่อง Chosen Family คือฉันมีสิทธิ์ที่จะเลือก ‘จัดตั้งครอบครัว’ ฉันได้ การจัดตั้งครอบครัว ไม่ใช่แค่การจัดตั้งครอบครัวในรูปแบบโรแมนติก, เซ็กชวล หรือว่าการจัดตั้งครอบครัวที่มีพันธะสัญญา เช่น จัดตั้งครอบครัวเพราะคุณมีธุรกิจ คุณต้องการมีบุตร

แต่การจัดตั้งครอบครัวมีความหลากหลายมากกว่านั้น บางครั้งการจัดตั้งครอบครัวระหว่างเพื่อนที่มีรัฐช่วยคุ้มครอง เราอยู่กันในนามฉันเพื่อน เราไม่ได้มีเซ็กส์กัน เราไม่ได้จะต้องมีลูกกัน เราไม่ได้มีความสัมพันธ์แบบอื่น แต่เราต้องการการอยู่เป็นเพื่อน (company) ที่เป็น Family

ต่างประเทศเขาก็ใช้รูปแบบนี้ การจัดตั้งครอบครัวโดยใช้แบบรูปแบบ polyamory ก็คือความรักที่เป็นพหุสมรส ไม่ใช่แบบคู่เดียวที่เป็น 2 คน บางคนมีความสามารถอยู่กัน 3-4 คนได้ ความหลากหลายเหล่านี้ไม่ถูกพูดถึง เพราะรัฐควบคุมเฉพาะ ‘โครงสร้างรักต่างเพศของหญิงชาย’ ที่ต้องอยู่ภายใต้การจดทะเบียนการจัดตั้งครอบครัว”

 

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง อะไรคือ \'สมรสเท่าเทียม\' มั่นใจอุตสาหกรรม LGBT เขยื้อน GDP วาดดาว - ชุมาพร แต่งเกลี้ยง

ผมเข้าใจถูกหรือไม่ ‘สมรสเท่าเทียม’ ถ้าเกิดขึ้นจริง คือเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันและได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับชายหญิง

“ความจริงไม่ได้ใช้แค่เพศเดียวกัน สมรสเท่าเทียมที่เราเรียกร้อง เราใช้คำว่า บุคคลกับบุคคล เพราะฉะนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศ

ยกตัวอย่างคุณ ปอย ตรีชฎา กับแฟนที่เพิ่งแต่งงานกัน ถ้าหากมองแค่เพศเดียวกัน คุณปอยมีคำนำหน้านามเป็นนาย แฟนเขาก็เป็นนาย แล้วก็จะมองว่าเป็นเพศเดียวกันแต่งงานกัน

แต่จริงๆไม่ใช่ ชีวิตของคุณปอยคือผู้หญิง เพียงแต่ถูกกำหนดจากรัฐว่าเขาเป็นนายเท่านั้น

หรือคุณ นก ยลดา กับคุณ แซม จริงๆ คุณนก ยลดา กับคุณแซม เขาสามารถแต่งงานกันได้ เพราะการแต่งงานก็แค่กำหนดว่าคนที่มีคำนำหน้านามที่เป็นผู้หญิงกับผู้ชายมาแต่งงานกัน เขาไปที่อำเภอแล้วก็สามารถจดทะเบียนได้เลยนะคะ

แต่เขาก็จะถูกการจดทะเบียนโดยคุณ นก ยลดา อยู่ในนามสามี และคุณแซมซึ่งเป็น trans men จะอยู่ในนามภรรยา

คุณนก ยลดา เกิดมาเป็นผู้ชาย แต่ต้องการข้ามเพศไปเป็นผู้หญิง คุณแซมเกิดมาเป็นผู้หญิงต้องการข้ามเพศไปเป็นผู้ชาย แล้วเขาคบกัน เขาต้องการแต่งงานกัน ถ้าเขาใช้กฎหมายฉบับนี้โดยไม่มี สมรสเท่าเทียม เขาก็ต้องใช้กฎหมายที่เรียกว่าการแต่งงานที่คุณนกเป็นสามี คุณแซมเป็นภรรยา ซึ่งมันลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขา

ถ้ามี พระราชบัญญัติคู่ชีวิต เขาก็ใช้ไม่ได้ เพราะเขามีคำนำหน้านามที่เป็นต่างเพศ มันเห็นความลักลั่น เราทำงานมา 10 ปี เราเห็นความลักลั่นที่ไม่เกิดขึ้นจริง เราเลยทบทวนว่า จริงๆ เราต้องการอะไร

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง อะไรคือ \'สมรสเท่าเทียม\' มั่นใจอุตสาหกรรม LGBT เขยื้อน GDP ขบวนไพรด์พาเหรดงาน Bangkok Pride 2023

เราต้องการ สิทธิพลเมืองที่ทุกคนเท่ากัน งั้นก็เอาคำว่าเพศออกไปจากตัวกฎหมายได้ไหม แล้วเอาแค่บุคคลเข้ามา เราเลยต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นสมรสเท่าเทียม

นั่นคือเกณฑ์ง่ายๆ ไม่กี่ข้อ ข้อแรกก็คือเปลี่ยนจากความเป็นหญิงชาย มาเป็น ‘บุคคลกับบุคคล’ ก็ทำให้ทุกคนสามารถแต่งงานกันได้

เปลี่ยนคำว่าสามีภรรยาเป็น ‘คู่สมรส’ ก็ทำให้ทุกคนสามารถแต่งงาน โดยไม่ต้องมาบอกว่านี่คือผัวนี่คือเมีย

เปลี่ยนคำว่าพ่อกับแม่มาเป็น ‘บุพการี’ ก็จะไม่จำเป็นต้องบอกว่าครอบครัวนั้นต้องมีพ่อกับแม่ อาจมีแม่แม่ พ่อพ่อ อาจมีอะไรก็ได้ซึ่งเขาเรียกชื่อได้ บุพากรีหรือผู้ปกครอง เป็นคำเป็นกลางทางเพศ

คอนเซปต์ใหญ่ของ สมรสเท่าเทียม คือเปลี่ยนคำที่เป็น Binary ที่แยกและเลือกปฏิบัติ ให้เป็น neutral gender หรือคำที่เป็นกลางทางเพศ ก็จะอนุญาตให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิพลเมืองแบบเท่าเทียมกันจริงๆ คอนเซปต์มันง่ายแค่นี้ ไม่มีคอนเซปต์ที่ยากไปกว่านี้เลย แต่รัฐให้เราไม่ได้”

 

ต้องร่างกฎหมายใหม่?

“การคุ้มครองการจัดตั้งครอบครัว หรือที่เราเรียกว่า ‘สมรส’ มันอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และบรรพ 6 ไม่จำเป็นต้องร่างกฎหมายใหม่ แค่เข้าไปเปลี่ยนคำในกฎหมายเดิมที่มีอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนคำต้องออกพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์”

 

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง อะไรคือ \'สมรสเท่าเทียม\' มั่นใจอุตสาหกรรม LGBT เขยื้อน GDP ความหลากหลายทางเพศยืนหยัดในตนเอง

คุณดาวเคยพูดว่า ‘งานไพรด์’ สามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ

“ดาวแตะให้ฟังอย่างนี้นะคะ เทรนด์โลกแรกที่พูดถึงเรื่อง คนกลุ่มน้อยที่ถูกกีดกัน แล้วกลายมาเป็นธุรกิจใหญ่ อันแรกคือผู้หญิง เกิดหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ เกิดในแรงงานหญิงที่ลุกขึ้นต่อสู้ แล้วเกิด my body my choice ธุรกิจแฟชั่น เสื้อผ้า หน้า ผม เอ็นเตอร์เทน ครีม น้ำหอม

ธุรกิจเด็ก อุตสาหกรรมเด็กเกิดขึ้นเยอะมากหลังเบบี้บูมเมอร์ นมผง ของเล่น Toy Story เลโก้ นั่นคืออุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากสภาวะที่ถูกกดทับ ที่บังคับเด็กไม่ให้เป็นตัวของตัวเอง เลยเกิดของเล่นที่ empower เด็ก

และนี่คือทศวรรษของ lgbt เราอยากให้ทุกคนมองเห็นว่าทศวรรษนี้ถูกส่งต่อมาจากต่างประเทศเมื่อ 10 กว่าปีก่อน แล้ว wave กำลังมาที่เอเชีย สอดคล้องกัน World Economic Forum ก็บอกว่าอีก 6 ปีข้างหน้า เซาธ์อีสต์เอเชีย คือเซ็นเตอร์ของธุรกิจโลก

เราคิดว่าเราเป็นส่วนหนึ่งได้ โดยที่เราดึงเอา 4 อุตสาหกรรมที่เราเป็นเจ้าของ เราเป็นฟันเฟือง และหลายอันเราเป็นผู้ริเริ่ม

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง อะไรคือ \'สมรสเท่าเทียม\' มั่นใจอุตสาหกรรม LGBT เขยื้อน GDP งานบางกอก ไพรด์ 2023

อันแรกคือ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประเทศไทยเป็นมิตรที่สุดในเอเชียแล้วสำหรับ lgbt การมีประเทศที่มีสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทำให้นักท่องเที่ยวเพลิดเพลิน รวมไปถึงพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนที่มีความแตกต่างหลากหลายเรื่องเพศมาใช้ชีวิต โดยที่คุณไม่ถูกโจมตีไม่เลือกปฏิบัติ

คนเป็น trans gender เดินไป ก็ไม่ถูกทำร้ายร่างกายเหมือนหลายๆ ประเทศ ผู้หญิงผู้หญิง ผู้ชายผู้ชาย ที่เห็นว่าเป็นคนรักเพศเดียวกัน สามารถนอนตักกันได้ที่พารากอน เดินจับมือกันได้ที่เซ็นทรัลเวิลด์ โดยสังคมไม่ซุบซิบนินทาให้เขาเห็น พื้นที่เหล่านี้สำคัญมาก

โรงแรม สถานประกอบการ กำลังปรับตัวเพื่อเอื้อธุรกิจท่องเที่ยว lgbt ดาวคิดว่ามีสัดส่วนรายได้ที่เราแตะหลายพันล้านบาทที่มาจาก lgbt

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง อะไรคือ \'สมรสเท่าเทียม\' มั่นใจอุตสาหกรรม LGBT เขยื้อน GDP งานบางกอก ไพรด์ 2023

อุตสาหกรรมที่ 2 คือ film and series (ภาพยนตร์และซีรีส์) ปีที่แล้วแค่ Series Y (Yaoi) ส่งออกประมาณพันกว่าล้านบาทจากค่ายหนังต่างๆ ยังไม่นับเพลงต่างๆ และซีรีส์ยูริ (Yuri หญิงรักหญิง)

อุตสาหกรรมที่ 3 คือ บันเทิง ก่อนหน้านี้เรามี sex work, ซาวน่า, คลับ, บาร์, คาบาเรต์ แต่ตอนนี้ drag queen เกิดขึ้น มีการประกวดนางงาม มิสแอลจีบีที การประกวดที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น เราคือเวทีใหญ่หมดเลย อยู่ในประเทศไทย

ประเทศไทยมีปาร์ตี้เกย์ใหญ่ทั้งหมด 3 ปาร์ตี้ แต่ละครั้งมีคนเข้ามาร่วมงานตั้งแต่ 10,000 - 20,000 คนจากทั่วโลก จัดงาน 3-5 วัน นี่คือเงินสะพัด แค่ 3 ปาร์ตี้

อุตสาหกรรมสุดท้ายสามารถทำให้เม็ดเงินมีมูลค่าเป็นหมื่นล้านได้ คือ อุตสาหกรรมการแพทย์ การเป็น medical hub ถ้าภาษาของพวกเราคือ อุตสาหกรรมยืนยันเพศ การใช้ฮอร์โมน ผ่าตัดแปลงเพศ ผ่าตัดศัลยกรรม การใช้เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ในการตั้งครรภ์

ตอนนี้โรงพยาบาลเอกชนปรับตัวเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มนี้แล้ว กรุงเทพฯ มี 23 คลินิก โรงพยาบาลรัฐอย่างเช่นรามาธิบดี ศิริราช และอีกหลายพื้นที่เปิดพื้นที่รองรับตรงนี้ทั้งหมด นี่คือการเขยื่อนจีดีพีที่สำคัญ"

 

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง อะไรคือ \'สมรสเท่าเทียม\' มั่นใจอุตสาหกรรม LGBT เขยื้อน GDP วาดดาว - ชุมาพร แต่งเกลี้ยง

หลังจาก Pride Month ผ่านไปแล้ว จะมีความเคลื่อนไหวอะไรต่อหรือไม่

“ดาวคิดว่าหลังงานไพรด์ เราจะชวนสหพันธ์เพลงต่างๆ ไปคุยกับรัฐบาลใหม่ เพื่อประกาศว่านับจากนี้ไป เราอยากให้รัฐบาลสนับสนุน เรนโบว์ ป๊อบ มันไม่ใช่ k-pop t-pop j-pop แต่มันจะเป็น Rainbow Pop จากประเทศไทย ซึ่งจะเป็น Beyond Border

เอาดนตรีป๊อปที่ผสมผสาน ที่สนุกสนาน และมีความเป็น queerness มีความแอลจีบีทีสะท้อนออกไป ดาวเชื่อว่าส่งออกไปได้ทั่วโลก แค่เอาหมอลำมาแต่งเพลง แล้วเอาเควียร์เข้าไปแดนซ์ เอา drag ไปโชว์ไปเต้น ดาวว่าครบถ้วนมาก

เราฝันอยากจะเห็นเป็นเหมือนเกาหลีใต้จาก entertainment เราทำได้ เพราะเกาหลีใต้ทำไม่ได้ เกาหลีใต้ทำเรื่อง lgbt ไม่ได้ สังคมไม่เปิด อันนี้ต้องขอบคุณสังคมไทยทุกคนที่ร่วมกันเปิดประตูพื้นที่ ไม่ใช่นักกิจกรรมทำ อันนี้ต้องให้คุณค่ากับสังคม

เพียงแต่คอนเซปต์รัฐต้องเปิด รัฐต้องทำหน้าที่เป็น Soft Power ค่ายเพลงต่างๆ จะทำหน้าที่เป็น creativiter เราทำซอฟต์พาวเวอร์ไม่ได้ คนเข้าใจผิด ซอฟต์พาวเวอร์ต้องเกิดจากรัฐสนับสนุน

รัฐเปิดงบประมาณเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้เติบโต รัฐทำได้หลากหลายมาก คุณสนับสนุนให้เกิดมิวสิกเฟสติวัลเยอะแยะก็ได้ คุณให้พื้นที่สาธารณะให้เด็ก lgbt ได้ซ้อมเต้นกันอย่างมีเสรีภาพก็ได้ เขาจะได้มาออดิชั่นหรือ contest ได้อย่างหลากหลาย คุณอาจทำให้เกิดครูสอนเต้น คนทำเพลง โดยแก้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่เป็นลิขสิทธิ์ทาสไปหน่อยก็ได้ รัฐต้องทำเรื่องนี้ แล้วค่ายเพลงภาคธุรกิจทำเรื่องของ creativity”

 

ชุมาพร แต่งเกลี้ยง อะไรคือ \'สมรสเท่าเทียม\' มั่นใจอุตสาหกรรม LGBT เขยื้อน GDP วาดดาว - ชุมาพร แต่งเกลี้ยง

กิจกรรมปิดงาน Bangkok Pride 2023

"งานเปิดของเราวันที่ 4 มิ.ย. และเราก็ไปต่างจังหวัดกันเรื่อยๆ มีทุกสัปดาห์ ประมาณ 3-4 จังหวัดปีนี้ แล้วเราจะปิดงาน เป็นงานปิดของ Bangkok Pride ในวันที่ 30 มิ.ย. 1 - 2 ก.ค.2566 ชื่อว่า This is Pride at Siam หนึ่งเดือนที่คุณเห็นทั้งหมดนี่คือความภาคภูมิใจ

ซึ่งเราจะโชว์ 1 อุตสาหกรรมที่เราเล่าให้ฟัง ก็คือ film and series จะพูดถึงเรื่องภาพยนตร์ จะพูดถึงเรื่องซีรีส์ พูดถึงเรื่องการแสดง ทั้งหมดเกิดขึ้นในสยามสแควร์ ค่ายหนังค่ายเพลงมาหมดเลย เป็นงานปิด แล้วค่อยรอ energy รอบหน้ากัน”

ภาพ : ศุกร์ภมร เฮงประภากร