'ศิรเดช โทณวณิก' รุ่น 3 'ดุสิตธานี' มุ่งสร้าง 'โรงแรมแห่งความยั่งยืน'

'ศิรเดช โทณวณิก' รุ่น 3 'ดุสิตธานี' มุ่งสร้าง 'โรงแรมแห่งความยั่งยืน'

ทายาทรุ่นที่ 3 เดินหน้าสานต่อภารกิจแบรนด์โรงแรมไทยในเครือ 'ดุสิตธานี' ที่มีอายุยาวนานกว่า 6 ทศวรรษ พร้อมตั้งมั่นโรงแรมของคนเจนใหม่ต้องเป็น 'โรงแรมแห่งความยั่งยืน'

วันนี้ คุณแชมป์ - ศิรเดช โทณวณิก วัย 37 ปี บุตรชายคนโตของ คุณชนินทธ์-วิภาดา โทณวณิก และเป็นหลานย่าของ ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย มุ่งสร้างแบรนด์โรงแรมคอนเซปต์รักษ์โลก อาศัย (ASAI) พร้อมขับเคลื่อนและสานต่อธุรกิจอีกมากมายในเครือดุสิตธานี

ภาระนี้ใหญ่หลวงนัก ทว่านายน้อยแห่งดุสิตธานี ก็มีหลักบริหารและวิธีคิดที่ “ไม่ยึดติด” แม้ต้องรับมือกับการบริหารอาณาจักรหมื่นล้าน และความท้าทายที่ใหญ่กว่าเดิม เมื่อโลกเรียกร้อง “ความยั่งยืน”

ดังนั้นโรงแรมใหม่ของทายาทรุ่นที่ 3 ต้องเป็น โรงแรมแห่งความยั่งยืน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\'    คุณแชมป์ - ศิรเดช โทณวณิก (ภาพ: ศุกร์ภมร เฮงประภากร)

จุดประกาย TALK เปิดใจคนเจนใหม่ คุณแชมป์ - ศิรเดช โทณวณิก ที่พร้อมรับมือกับภาระรักษ์โลกควบคู่กับธุรกิจที่ต้องเติบโต 

คอนเซปต์ของแบรนด์ “อาศัย”

“เป็นโรงแรมไลฟ์สไตล์ราคาไม่แพงมาก นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้ มีส่วนร่วมกับเพื่อนบ้านหรือชุมชนในย่านเยาวราช และสร้างแพลตฟอร์มให้นักเดินทางมาสัมผัสถึงชุมชน วัฒนธรรม

ผมโตมาในย่านสุขุมวิท แต่พอมาทำโรงแรมก็เพิ่งรู้ว่าย่านนี้มีอะไร ๆ ดี ๆ มากมาย ทั้งอาหาร ร้านชา อาร์ตแกลลอรี่ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อันเป็นที่มาของคำว่า Neighborhood Hotel และเราดึงคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับเรา เช่น จัดกิจกรรม ทำอาหาร

เพราะในเมืองไทยโรงแรมส่วนใหญ่ที่เป็นเซกเมนท์เดียวกับเราก็จะขายเป็นห้อง ๆ แน่นอนว่าการทำธุรกิจสำคัญ แต่เราสามารถทำได้มากกว่านั้น เราสร้างคอนเทนต์ใหม่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับเราได้”

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\'     โรงแรมอาศัย เยาวราช

คำว่า “อาศัย” กับทำเลที่ตั้งของโรงแรม อันไหนเกิดก่อน

“เราคิดคำว่า อาศัย (ASAI) เมื่อปี 2017 ก่อนเกิดโควิดอีก มองถึงคำว่า “ที่อยู่อาศัย” เป็นแบรนด์น้องใหม่ที่มีวิถีเอเซีย

ก่อนทำผมรีเสิร์ชเยอะ เดินทางไปดูโรงแรมทั่วโลกเลย ที่ โรงแรมอาศัย เยาวราช แม้ห้องเล็กหน่อยแต่อยู่สบาย มีอารมณ์เหมือนบ้าน เราอยากสร้างคอมมิวนิตี้ว่ามาอยู่ที่อาศัยมีความเป็นโลคัล ตั้งแต่งานตกแต่ง ภาพวาด ห้องต่าง ๆ

ปลายเดือนนี้จะเปิด อาศัย ถนนสาทร จะเชิญเพื่อนบ้านมาด้วย มาทำเวิร์คช็อปร่วมกัน ชูจุดเด่นของแต่ละชุมชน เราโปรโมทถนนสาทรด้วย เช่นเดียวกับ อาศัย เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เราจัดโลคัลเดย์ จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนในละแวกนั้น เราไม่ได้มองแค่ตัวเองเรามองถึงการมีส่วนร่วม ทุกที่ที่เราไปจะเป็นแบบนี้”

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\'    ศิรเดช โทณวณิก ทายาทรุ่น 3 เครือดุสิตธานี

ธุรกิจโรงแรมหลังโควิด ยากระดับไหน

“ในแง่บุคลากร หาคนยากขึ้น เป็นความยากอย่างแรก ไม่ใช่เฉพาะอาศัย หลังโควิดหลายคนไม่อยากกลับเข้ามาแล้ว จะทำยังไง

เรามีหน้าที่สร้างงาน สร้างประสบการณ์การทำงานให้เกิด purpose ถือเป็นอันดับแรก เป็นการท้าทายอย่างหนึ่ง เพราะถ้าทำเหมือนเมื่อก่อน อินดัสเทรียลโรงแรมก็จะไม่พัฒนาคนเท่าไหร่ การจะหาคนเข้ามาทำงานยากขึ้นเราก็ต้องครีเอทีฟให้มากขึ้น

เช่นสร้างแพลตฟอร์มหรือแคเรียพาร์ทให้การทำงานเกิดแรงบันดาลใจ รู้สึกมีแรงขับเคลื่อนที่อยากมาทำกับเรา

แม้เรามีวิทยาลัยการโรงแรมดุสิตธานี แต่เนื่องจากเป็นวิทยาลัยแบบเปิด คนมาเรียนเยอะแต่เขาก็ไม่ได้มีคอมมิทว่าจะมาทำงานกับเรา เขาจะไปที่ไหนก็ได้ทั่วโลก เป็นจุดแข็งของวิทยาลัย ดังนั้นเราจึงต้องสร้างแรงดึงดูด สร้าง Working Environment ที่จูงใจคนรุ่นใหม่ให้มาทำงานกับเรา สำคัญมาก

ในแง่การทำงานต้องมีความยืดหยุ่น ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เราทำ Cross Exposure Training ว่าไม่ใช่ต้องทำที่นี่ที่เดียว คนต้องมีหลายสกิลล์เซต เราจะเน้นตรงนี้

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\' ธุรกิจโรงแรมสำหรับเจน 3 ยากกว่าคนรุ่นก่อนพอสมควร

 “ครับ เพราะมีหลายปัจจัยร่วม เช่น ค่าเงินบาทแข็ง เมื่อก่อนคนญี่ปุ่นเยอะ ตอนนี้ญี่ปุ่นเที่ยวกันเองในประเทศเพราะเงินเยนถูกลง เขาก็มาหาเราน้อยลง ค่าตั๋วเครื่องบินแพงมากด้วย เขาก็เที่ยวในประเทศของเขาเอง คนจีนก็ยังกลับมาไม่เต็มร้อย ยุโรปก็ไม่เยอะเท่าเมื่อก่อน การท่องเที่ยวกลับมาแต่ก็ยังไม่เต็มที่ ก็เหนื่อยอยู่”

นักท่องเที่ยวยุคนี้แตกต่างจากเมื่อก่อนอย่างไร

“คนที่มาเที่ยวตอนนี้ถ้าเป็น Leisure Market คือมาเที่ยวจริง ๆ ไม่ได้มาประชุมหรือมาทำงาน วิธีเที่ยวคนยุคนี้ต่างจากเมื่อก่อนด้วย ผมว่าการให้ข้อมูลสำคัญ เราใช้เทคโนโลยีช่วย เช่น ยุคนี้คนเที่ยวเขาอยากหาอะไรเอง จองเองเที่ยวเองไม่ต้องพึ่งทัวร์ ด้วยแง่ดาต้า (ข้อมูล) มีเยอะไปหมด

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\'    ห้องอาหาร Jam Jam โรงแรมอาศัย เยาวราช

อาศัยเราก็ทำ บอกว่าเป็น Neighborhood Hotel มีเว็บไซต์ ทำคิวอาร์โค้ด พอสแกนปุ๊บมีคำแนะนำ มีแผนที่ให้ มาพักกับเราแล้วที่ไหนน่าเที่ยวในย่านนี้ เดินทางยังไง ทำให้เป็นยูนีคโฮเทลด้วย

ความจริงโรงแรมไม่ได้มีอะไรมาก ห้องขนาดกะทัดรัด มีชั้นล็อบบี้แล้วที่เหลือเป็นห้องนอนหมด แต่เราติดท็อป 2-3 ของ Trip Advisor โรงแรมในกรุงเทพซึ่งทั้งหมดพันกว่าแห่ง เพราะมี Information พวกนี้ให้ เราสร้างเอ็มพาวเวอร์ให้กับลูกค้า มีอินไซด์โดยทีมงานของเราที่ตระเวนหาร้านใหม่ ๆ มาบอก มีอะไรน่าสนใจในละแวกนี้ ดึงเขาเข้ามาหาประสบการณ์

ผมมองว่าคนรุ่นใหม่ชอบทำอะไรแบบนี้มากขึ้น อยากหาประสบการณ์ใหม่ ๆ แน่นอนว่าเดสทิเนชั่น วัดพระแก้ว วัดโพธิ์ เขาต้องไปอยู่แล้ว แต่เขาต้องการอะไรที่ลึกซึ้งกว่า เป็นส่วนตัวมากกว่า เพราะคนยุคนี้มีไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เป็นเทรนด์การท่องเที่ยวที่กำลังมาด้วย

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\' นอกจากนี้ในแง่การเดินทางเราให้คำแนะนำที่มีความยั่งยืนมากขึ้น รู้กันอยู่ว่าการเดินทางเป็นความสิ้นเปลืองนะ นักวิทยาศาสตร์ก็มีข้อมูลแบบนี้ อาศัยเราตั้งตัวเองเป็น Sustainable Hotel ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

เช่นบุฟเฟ่ต์เราพยายามให้เกิด Food Waste น้อยที่สุด พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเราไม่ใช้เลย เราให้น้ำเป็นขวดสามารถเติมได้

คำแนะนำการเดินทาง เราให้ข้อมูลรถไฟฟ้าว่าไปเส้นทางนี้แล้วเดินอีก 6 นาทีถึง เราแนะนำการเดินทางด้วยเท้า ใช้รถให้น้อย เป็นอินไซด์ของเราที่ช่วยสภาพแวดล้อมไปด้วย”

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\'    โรงแรมคนเจนใหม่ต้อง Sustainable

ทุกวันนี้นักท่องเที่ยวมองหาที่พักแบบยั่งยืนกันแค่ไหน

“มีครับ คนใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้น คนเมื่อเห็นเราจะมา แต่อาจไม่ถึงกับเป็น Decision Making อาจยังไม่ถึงจุดนั้น อย่างไรก็ดี Price Point ก็สำคัญกับธุรกิจโรงแรม แต่เราสร้าง Customer Loyalty ซึ่งดีกับแบรนด์เรา อยากให้แบรนด์ติดตาติดใจนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ ๆ และสร้าง Emotional Connection เรามุ่งสร้างโรงแรมแห่งความยั่งยืน

ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญกับธุรกิจยุคนี้ด้วย เราอยากให้พนักงานรับรู้ด้วยว่า การทำงานกับเราเป็นมากกว่าการหารายได้ หากเราสามารถช่วยชุมชน และทำงานกับโรงแรมที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างคัลเจอร์ด้วย”

ปัจจุบันดูแลธุรกิจอะไรบ้างในเครือดุสิตธานี

“นอกจากอาศัย ผมว่าเข้ามาช่วยดูมากกว่า...เขามีทีม ผมเรียกว่าเป็น Spiritual Head ดีกว่าครับ

งานหลักจริง ๆ คือขยายธุรกิจในเครือ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การทำ Business Development ทั่วโลกเลย ตั้งแต่อเมริกาจนถึงเอเซีย ในชื่อทุกแบรนด์ที่เรามีตั้งแต่ ดุสิตธานี พริ้นเซส ดุสิตดีทู อาศัย ดุสิตสวีท Devarana และเราเพิ่งลอนช์ดุสิตคอลเลคชั่น

ตอนนี้มี 2 โปรเจคท์ใหญ่ เป็นแบรนด์ใหม่อัพสเกลที่ลักชัวรี่ มีเรื่องเล่าของตัวเอง ยูนีคมาก เป็นระดับเดียวกับดุสิตธานี แต่เนื่องจากดุสิตธานีเป็นโรงแรมไทย แต่แบรนด์นี้ยกตัวอย่างเช่นถ้าไปต่างประเทศ เขาบอกว่าชอบแบรนด์เรานะ แต่ขอประยุกต์ไม่เอาอะไรแบบไทย ๆ ได้มั้ย แบรนด์นี้ก็จะ Flexibility สามารถทำได้

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\' ผมดูเรื่องการศึกษาด้วย มีวิทยาลัยการโรงแรมดุสิตธานี และเพิ่งเปิด The Food School เป็นแพลตฟอร์มใหม่ ส่งเสริมการทำอาหารแบบยั่งยืน สอนทำอาหารมาจากโรงเรียนสอนทำอาหารอันดับหนึ่งของอิตาลีและญี่ปุ่น”

งานเยอะอย่างนี้หาเวลาพักผ่อนอย่างไร เป็นเจน 3 รู้สึกกดดันมั้ย

“ก็เหนื่อย...งานเยอะเกินไปหน่อย ความกดดันมีอยู่แล้วล่ะ แน่นอนมันมาจาก Responsibility ย่อมมีความคาดหวังสูง เรื่องปกติครับ แต่เราพยายามผลักดันให้ได้ เพราะเราเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์

ที่ผ่านมายอมรับว่าค่อนข้างยาก เจอหลายปัญหา เจอโควิด ตอนนี้ตัวเลขเริ่มกลับมา เราก็ต้องมานั่งดูกันว่าเราจะยังไงให้สามารถเติบโตต่อไป แต่ผมก็มีทาร์เกตของผมนะ”

ทาร์เกตคือ...

“ปีนี้ตั้งเป้าขยายธุรกิจและเซ็นสัญญาให้ได้ 22 แห่งทั่วโลก ซึ่งไม่ง่าย ตอนนี้ยังไม่ถึงครึ่งเลย อีกไกล แต่ผมเชื่อว่าผมกับทีมงานน่าจะทำได้ เราต้องมีความเชื่อมั่นไว้ก่อน อย่ามีใจหดหู่

ทุกวันตื่นมาต้องดูตัวเลข ดูความก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว ตามทีมงาน ช่วงนี้เป็นจุดเปลี่ยนของดุสิต เราคิดว่านอกเหนือจากที่เราผ่านวิกฤติโควิดมาได้แล้ว เราต้องทำแบรนด์ใหม่อย่างอาศัย และลอนช์แบรนด์เก่าที่เรารีแบรนดิ้ง รีดีไซน์ เช่น ดุสิตดีทู สามย่าน แล้วก็มีดุสิต เซ็นทรัลปาร์ค ทำแฟลกชิพ เป็นต้น

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\' ทุกที่เราทำใหม่ ใส่วิชั่น มุมมอง ความคิดใหม่ ๆ ทั้งงานดีไซน์ในแง่มีส่วนร่วมกับชุมชน เอฟแอนด์บี เอาท์เลท แต่ละที่เรากำลังผลักดัน ผมคิดว่าถึงเวลาที่เราจะสร้างแชพเตอร์ใหม่ในเครือดุสิตธานี

ความกดดันมีแต่เราต้องไปได้ เรามีเมเนจเมนท์ซัพพอร์ตและทำงานใกล้ชิดกันมาก บอกเลยว่าทีมเจนใหม่เขาไฟแรงและ Hunger อยากจะพิสูจน์ตัวเอง

อีกอย่างที่สำคัญตอนนี้คือ แนวคิด Sustainable ทำโรงแรมแห่งความยั่งยืน ยังไงก็ต้องทำ เราจ้างบริษัทข้างนอกทำเฟรมเวิร์ค เริ่มเมื่อกลางปีที่แล้ว ต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลไม่ใช่แค่เป็นเดือน โดยเฉพาะรีสอร์ทต่างจังหวัด บางครั้งเป็นซีซั่น บางเดือนลูกค้ามาก บางเดือนน้อย

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\' ยกตัวอย่างแต่ละโรงแรมมีตัวผลิตไฟฟ้า ประสิทธิภาพเป็นยังไง เราพยายามทำเฟรมเวิร์คเก็บข้อมูล ต่อไปเราสามารถผลิตกรีนเฮาส์ เอาคาร์บอนออกไปได้เท่าไหร่ โดยทำงานกับแผนกวิศวกรที่มอนิเตอร์กันตลอดเวลา ตอนนี้เวลาสร้างโรงแรม การใช้น้ำ-ไฟของเราดีพอกับโรงแรมเชนใหญ่ทั่วโลกเลย เรื่องพวกนี้เราใส่ใจเต็มที่

ผมว่าทุกที่ต้องมีแนวคิดนี้นะ ถ้าไม่ทำมันเหนื่อยกับโรงแรมด้วย เราอินเวสต์ไปหนเดียวแต่ได้คืนกลับมาเยอะมาก หลายโรงแรมพยายามทำเรื่อง Zero Waste

หรือที่ The Food School เราเป็น Zero Waste ไม่ต้องเอาไปขยะทิ้งเลย มีเครื่องระดับอุตสาหกรรม เอาขยะเศษอาหารทิ้งวันละ 150 กก. มีเครื่องบดด้วย พวกกระดูก ผลไม้เปลือกแข็ง ๆ ทิ้งได้หมด เราบอกกับชุมชนรอบข้างด้วยว่า เอาขยะมาทิ้งกับเราได้

ผมคิดว่ายังไม่มีโรงเรียนสอนทำอาหารที่ไหนที่ลงทุนเยอะเท่าเรา อย่างที่บ้านผมมีเครื่องย่อยสลายขยะ วันละ 3 กก. ใช้มา 3 ปีแล้ว ตอนนี้ที่บ้านเปลี่ยนถุงขยะสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ก็เซฟพลาสติก บางประเทศอย่างเกาหลีใต้เขาไม่เก็บขยะอาหารแล้วนะ”

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\'

มองตัวเอง 10 ปี ข้างหน้า อยากทำอะไร

“อีก 10 ปี ผมอยากจะ...ยังไม่คิดเลย (หัวเราะ) ถ้าเรื่องงานคืออยากให้แบรนด์ไทยสามารถไปโตต่างประเทศอย่างยั่งยืนจริง ๆ ซึ่งเป็นวิชั่นของคุณย่าตั้งแต่ตอนแรกแล้ว ต่อมาคุณพ่อผม และคุณศุภจี (สุธรรมพันธ์) ทุกคนมีวิสัยทัศน์นี้หมด เราก็คิดว่าอยากมีวิสัยทัศน์นี้เหมือนกัน

รุ่นคุณพ่อผมไปเซาธ์อีสเอเซีย และไปไกลมากขึ้นถึงมิดเดิลอีสต์ พอคุณศุภจี ขยายอีกจากทำโรงแรมมาทำเรียลเอสเตทด้วย เช่น ดุสิตเซ็นทรัลปาร์ค ดุสิตฟู้ด ขยายธุรกิจแต่ละอย่างไปมากขึ้น

ผมก็ต้องต่อยอด เมื่อเดือนก่อนเพิ่งเปิดที่แรกของเราที่ยุโรป ต่อไปจะไปอเมริกา จะทำให้แบรนด์ไทย ซึ่งเริ่มต้นเล็ก ๆ โดยคุณย่าผมได้ไปอยู่ทั่วโลก ให้คนเห็นไม่ใช่แค่วัฒนธรรมไทย แต่อยากให้คนเห็นว่าเราเติบโต การบริการแบบไทย อาหารดี ๆ วัฒนธรรมไทย เรามีเยอะมาก ทำทุกอย่างทำยังไงให้เกิดบิ๊กอิมแพค”

แนวคิดดูแลสิ่งแวดล้อมได้มาจากตอนไปบวชด้วย

“ใช่ครับ ผมบวชเมื่อปลายปีที่แล้ว เป็นวัดป่าที่ชัยภูมิ มีคนทิ้งอาหารเหลือไว้ในกาละมังกลาง บางทีก็เทลงที่พื้นซึ่งไม่ใช่การตอบโจทย์ที่ดี พอหลังจากบวชแล้วผมก็ซื้อเครื่องย่อยขยะเศษอาหารให้ที่วัด 2 เครื่อง แถวนั้นมีฟาร์มด้วยก็ให้คนใช้เป็นปุ๋ย”

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\'

ทำไมถึงไปบวช

“อยากเรียนรู้ ที่ผ่านมาเราเครียดกับชีวิต เจอหลายเรื่อง โควิดด้วย คนก็ออกจากบริษัทไปเยอะ โรงเรียนปิด ทุกแห่งล็อกดาวน์ ตอนนั้นผมได้เป็นพ่อด้วยช่วงโควิด ซึ่งก็ดี แต่เราได้เรียนรู้การเป็นคนที่ดีทำยังไง การมีสติ สมาธิ ปัญญา วัดเป็นที่เดียวที่ได้เรียนรู้จริง

ที่ไปเป็นวัดป่าสายหลวงปู่ชา ชัยภูมิ เราไปโทรศัพท์ก็ไม่อยากมีเลย การที่เราไม่รู้ว่าจะเจออะไรก็เป็นการปล่อยวางเหมือนกัน ตื่นมาบิณฑบาต เวลาฉันอาหารก็มารวมกัน มีทั้งเค้ก แกงกะหรี่ ฉันมื้อเดียว ตื่นตี 3 ทำวัตรสวดมนต์

บวช 5 อาทิตย์ โหดเหมือนกันนะ คิดว่าอยากศึกษา ปฏิบัติจริงอยู่ในป่า มีบางครั้งคิดว่าไม่ไหวแล้ว แต่ส่วนใหญ่โอเคนะครับ บางครั้งเข้าห้องน้ำแล้วมีงูเลื้อยมา หรือเดิน ๆ อยู่ไปเตะถูกงู หรืองูโผล่มาตรงกุฏิมาจ้องเรา ตอนนั้นคิดว่าไหวหรือเปล่านะ แต่เมื่อเราตั้งใจปฏิบัติ คือการทำ Transformation ถ้าเราไปไม่สุดก็เหมือนทำแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ

ตอนอยู่วัดตอนเช้านั่งสมาธิ นั่งที่ไหนก็ได้ อยู่วัดก็นั่งในป่า ตรงแม่น้ำ ในป่าดีที่สุดแล้ว ยุงมาก็ไม่คิดอะไร ปล่อยวาง ๆ ๆ ...ท่านอาจารย์สอนไว้ บอกว่ายุงนี่นะคือครูที่ดีที่สุด มาเต็มตัวเลย ก็ช่างมัน

ทุกวันนี้พยายามบาลานซ์ชีวิต ลูกชายเพิ่ง 2 ขวบกว่า พยายามใช้เวลาอยู่กับเขาให้มาก

ผมชอบอ่านหนังสือทั้งไซโคโลจี้ ธรรมะ แนววิทยาศาสตร์ ตื่นมานั่งสมาธิ ก็ได้จากการไปบวช บางทีหนึ่งชั่วโมง บางที 45 นาที การนั่งสมาธิเหมือนกับเรามองเห็น เรื่องนี้เครียดก็เครียดนะ แต่มีทางเลือกที่จะไม่เครียดได้”

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\' เมื่อก่อนเป็นนักสะสมแผ่นเสียงด้วย

 “ช่วงหลังไม่สะสมอะไรแล้ว ไม่ได้บอกว่าการสะสมไม่ดีนะ ยังชอบฟังเพลงอยู่ เมื่อก่อนผมสะสมไวน์ด้วย แต่ก่อนผมมาก ต้องมี ไม่มีไม่ได้ แต่ตอนนี้แบบ...ไม่สะสมแล้ว จะดื่มก็ซื้อเอา ไม่จำเป็นต้องตุนไว้เป็นร้อย ๆ ขวด

การสะสมคือการยึดติด อีกอย่างเราพยายามคุยกับคนเยอะ ๆ อ่านหนังสือเยอะ ๆ และนั่งสมาธิ ซึ่งทำให้รู้จักตัวเองด้วย อะไรคือตัวเราจริง ๆ อะไรคืออารมณ์ อะไรคือสิ่งที่เวียนเข้ามาซึ่งมันก็มีอยู่เยอะในโลกนี้ เปิดมือถือมาเจอเต็มไปหมด

ผมว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าสำคัญที่สุด ไม่จำเป็นต้องยึดติด วัดที่ผมไปบวชไม่มีพระพุทธรูปสีทอง มีพระพุทธรูปแกะมาจากหินธรรมดา แค่นั้น ไม่ได้จุดธูปเทียน ให้อยู่กับธรรมชาติ

ผมคิดว่าความศรัทธามาจากการปฏิบัติไม่ได้มาจากความเชื่อ แต่เราต้องศรัทธากับคำสอนของท่านว่า ทุกคนสามารถมีสิ่งศักดิ์สิทธ์ในตัวเราได้ ไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหน มาจากศาสนาอะไรก็ตาม ถ้าเราสามารถปฏิบัติได้ เรามองเห็นความจริง คือสำคัญที่สุด

บางทีเรามองอะไรที่มันยึดติด ทำให้เราเสียความเป็นคนไปเยอะเหมือนกัน การไม่ยึดติด ไม่เครียด ต้องปฏิบัติจริง คนชอบพูดว่ายาก ยากจริงแต่มันอยู่ในหัว สวรรค์กับนรกก็อยู่ในหัวเราทั้งนั้น ทุกอย่างคือคอนเซปต์หมด แล้วเราเอาคอนเซปต์พวกนี้มาใส่ตัวเราหมดเลย 

ถึงบอกว่าเราต้องอยู่กับทุกวันนี้ ขนาดผมคิดว่าอยู่มา 5 อาทิตย์แล้วฝึกมาเป็น Best Training แต่บางทียังเผลอไปกับมัน

อย่างการทำสมาธิ ต้องยอมรับว่าบางวันเรานิ่ง รู้สึกโล่ง สงบ ไม่มีอะไรอยู่ในหัวเลย แต่บางวันก็มีอะไรมา แอบเคืองตัวเอง และความเคืองคือความยึดติดนะว่าเราอยากได้ ทุก ๆ โมเมนต์คือความเคืองตัวเอง

\'ศิรเดช โทณวณิก\' รุ่น 3 \'ดุสิตธานี\' มุ่งสร้าง \'โรงแรมแห่งความยั่งยืน\' แต่ไม่ค่อยเคืองคนอื่นนะหรือเคืองน้อยลง เมื่อก่อนโกรธมากกว่านี้ตอนนี้ไม่ค่อยมีแล้ว

ยังคิดว่าถ้าไม่มีภาระก็อยากไปบวชอีก คือที่สุดของชีวิตแล้ว จะหาคำตอบของชีวิตได้มีที่เดียวนะสำหรับผม...คือสุดยอดมาก”