บันชา ศรีวงศ์ราช จีน - สหรัฐอเมริกา ทำไมแย่ง 'สีน้ำ' เป็นศิลปะประจำชาติ

บันชา ศรีวงศ์ราช จีน - สหรัฐอเมริกา ทำไมแย่ง 'สีน้ำ' เป็นศิลปะประจำชาติ

บันชา ศรีวงศ์ราช ประธาน IWS Thailand ชี้ความสำคัญศิลปะ ‘สีน้ำ’ ทำไมจีน-สหรัฐอเมริกาแย่งกันเป็นศิลปะประจำชาติ สิงคโปร์ไม่มีที่ดินขาย แต่นำเข้างานศิลปะและขายออกได้แพงกว่าขายที่ดิน

อาจารย์ บันชา ศรีวงศ์ราช ประธานเครือข่ายสีน้ำนานาชาติ ประเทศไทย (International Watercolor Society Thailand) และ ศิลปินสีน้ำ ระดับ World Master คนไทยคนแรกหนึ่งเดียวในระดับโลก กล่าวว่า ศิลปะ เป็นชีวิตที่อยู่ในตัวตนและดีเอ็นเอ และผูกพันกับชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนตาย 

“สำหรับประเทศไทยเพิ่งจะมีศิลปินสีน้ำที่โดดเด่นมาเมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา เพราะบ้านเรายังไม่มีองค์กรที่เข้ามาดูแลศิลปิน แต่สำหรับในต่างประเทศมีหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ จึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมานานแล้ว”

บันชา ศรีวงศ์ราช จีน - สหรัฐอเมริกา ทำไมแย่ง \'สีน้ำ\' เป็นศิลปะประจำชาติ MRT สถานีพหลโยธิน ทางเข้า Metro Art

อาจารย์บันชา กล่าวไว้ในงานเปิด Metro Art สถานีพหลโยธิน โครงการพิเศษของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสีม่วง ร่วมกับ บริษัท  แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN) ผู้ให้บริการสื่อโฆษณาและพื้นที่จัดกิจกรรมในระบบรถไฟฟ้า MRT

Metro Art ตั้งอยู่ใน สถานีรถไฟฟ้า  MRT สายสีน้ำเงิน สถานีพหลโยธิน บนพื้นที่กว่า 1,000 ตารางเมตร เพื่อเป็น Art Space และ Art Destination แห่งใหม่ใจกลางเมือง 

BEM มุ่งหวังให้ Metro Art เป็นพื้นที่เติมพลัง สร้างความสดชื่นผ่อนคลาย ลดความเหนื่อยล้า และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ใช้บริการทุกคน รวมทั้งชื่นชม และสนับสนุนผลงานของศิลปินไทย ผ่านการเดินทางที่สะดวกและรวดเร็วของรถไฟฟ้า MRT

บันชา ศรีวงศ์ราช จีน - สหรัฐอเมริกา ทำไมแย่ง \'สีน้ำ\' เป็นศิลปะประจำชาติ ผลงาน PRJ ที่ MRT พหลโยธิน - Sculpture เจ้าก้อน

สำหรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นที่ Metro Art สถานีพหลโยธิน มีไฮไลต์สำคัญอยู่ที่การจัดแสดงงานของศิลปินคนดัง ทั้งแนวโมเดิร์นอาร์ตและแนวคลาสสิกที่หาชมได้ยาก สับเปลี่ยนไปทุก 3 เดือน 

2 ศิลปินไทยที่มีชื่อเสียงกลุ่มแรกที่กำลังจัดแสดงงานหลังเปิด Metro Art อย่างเป็นทางการ ได้แก่ PRJ และ The Jum สร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 

บันชา ศรีวงศ์ราช จีน - สหรัฐอเมริกา ทำไมแย่ง \'สีน้ำ\' เป็นศิลปะประจำชาติ บันชา ศรีวงศ์ราช ประธานเครือข่ายสีน้ำนานาชาติ ประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมศิลปะอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Art Learning Centre หรือ 'ศูนย์การเรียนรู้ทางศิลปะ' โดยร่วมกับ 'เครือข่ายสีน้ำนานาชาติ ประเทศไทย' ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับเรียนรู้ทางศิลปะในแขนงต่างๆ รวมทั้ง IWS Gallery และ IWS Shop โชว์รูมสำหรับการแสดงงานและขายผลงานศิลปะที่มีมูลค่าสูงนับล้านบาท 

และยังได้รับความร่วมมือจาก Galleria Benetti ที่จะมาจัดทำโซน Paint Here Alright นำสินค้าไลฟ์สไตล์มาให้ทุกคนได้สร้างสรรค์ในแบบของตัวเอง

ตลอดจน Art Market ตลาดนัดงานศิลป์ที่ได้ 10ML เข้ามาบริหารจัดการ รวมไปถึงการแสดงดนตรีสดอีกมากมายจากศิลปินที่มีชื่อเสียงตลอดทั้งปี 2566

อาจารย์บันชา กล่าวด้วยว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งและขอบคุณ BEM และ BMN ที่สร้าง Metro Art ขึ้น เพื่อเป็น ‘อาร์ต อคาเดมี’ ใจกลางกรุงเทพฯ สำหรับถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะ 

บันชา ศรีวงศ์ราช จีน - สหรัฐอเมริกา ทำไมแย่ง \'สีน้ำ\' เป็นศิลปะประจำชาติ IWS Art Gallery ภายใน Metro Art

การที่ประเทศใดจะเป็น เครือข่ายสีน้ำนานาชาติ หรือ  International Watercolor Society – IWS ประเทศนั้นต้องมีศิลปินสีน้ำฝีมือระดับ World Master ตามมาตรฐานของ IWS

อาจารย์บันชา ศรีวงศ์ราช เริ่มพิสูจน์ฝีมือการเป็นศิลปินสีน้ำระดับ World Master ตั้งแต่ปี 2010 ทั้งส่งผลงานเข้าประกวด เดินทางด้วยค่าใช้จ่ายตนเองไปร่วมแสดงผลงานตามงานที่ IWS จัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

จนกระทั่งปี 2016 ประธานองค์กรสีน้ำโลกยอมรับในผลงานและมอบการเชิดชูฝีมือในระดับ World Master ทำให้อาจารย์บันชาเป็นศิลปินสีน้ำคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติยศนี้

อ.บันชา พิสูจน์ผลงานต่อเนื่องเรื่อยมา ให้คำแนะนำศิลปินต่างประเทศเกี่ยวกับการวาดภาพสีน้ำจนประสบความสำเร็จกลายเป็นศิลปินสีน้ำระดับ World Master หลังจากศิลปินท่านนั้นเพียรพยายามมาหลายปีก็ไม่เคยสำเร็จ รับเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ศิลปะสีน้ำ กระทั่งมีโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ‘ประธานเครือข่ายสีน้ำนานาชาติ ประเทศไทย’ เมื่อปีที่แล้ว

บันชา ศรีวงศ์ราช จีน - สหรัฐอเมริกา ทำไมแย่ง \'สีน้ำ\' เป็นศิลปะประจำชาติ

ชื่อผลงาน : บานที่ใจ, ศิลปิน : สุชาติ วงษ์ทอง, มูลค่า 5 ล้านบาท

อาจารย์บันชากล่าวด้วยว่า ความจริงบ้านเรามีศิลปินสีน้ำระดับมาสเตอร์นับสิบๆ ท่าน เพียงแต่ขาดผู้สนับสนุนการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมในระดับ IWS ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร

IWS เป็นองค์กรกลาง ประธานเป็นคนแคนาดาเชื้อสายตุรกี สำนักงานอยู่ในแคนาดา องค์กรมีหน้าที่เผยแพร่งานสีน้ำ สร้างองค์กร สนับสนุนกิจกรรมสีน้ำระหว่างประเทศ 

ในการเปิด ‘เครือข่ายสีน้ำนานาชาติ ประเทศไทย’ อาจารย์บันชาเชิญประธานเครือข่ายสีน้ำนานาชาติ โปแลนด์และสวิตเซอร์แลนด์มาร่วมงาน ซึ่งปีหน้าโปแลนด์กำหนดจัดกิจกรรมสีน้ำ Woman Artist ประเทศไทยก็จะส่งผลงานไปร่วมแสดงด้วย

นี่คือลักษณะของทัวร์นาเมนต์ สีน้ำ ที่จะเกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อให้คนรับรู้ความเคลื่อนไหวและพัฒนาการของ 'สีน้ำ' ซึ่งเป็นศิลปะอีกแขนงที่มีความสำคัญระดับโลก

บันชา ศรีวงศ์ราช จีน - สหรัฐอเมริกา ทำไมแย่ง \'สีน้ำ\' เป็นศิลปะประจำชาติ อาจารย์บันชา ศรีวงศ์ราช 

“คือสีน้ำสำคัญมาก ตรงที่ว่ารัฐบาลจีนกับอเมริกาแย่งกันเป็นเจ้าของสีน้ำกันมาตลอด 80 ปี คือต้องการประกาศว่าสีน้ำเป็นศิลปะประจำชาติ 

ทีแรกอเมริกาประกาศเมื่อ 60 ปีที่แล้ว เนื่องจากเขามีศิลปินสีน้ำเก่งๆ หลายคน John White, Andrew Whitehead, Winslow Homer อเมริกาใช้สีน้ำฝึกเด็กแล้วพบว่าเด็กมีระดับสมองฉลาดขึ้นมีงานวิจัยรองรับ 

แต่จีนไม่ยอม จีนบอกเขียนสีน้ำมาตั้งแต่อเมริกายังไม่มีประเทศ จีนเขียนหนังสือเขียนภาพมาห้าหกพันปี จีนไม่ได้สู้กันเรื่องเศรษฐกิจ ทหาร เขาสู้กันเรื่องอาร์ตด้วย

จีนก็เลยตั้งรัฐมนตรีด้านวัฒนธรรมดูแลอุตสาหกรรมทางศิลปวัฒนธรรม สีน้ำก็เป็นอุตสาหกรรมทางศิลปะ จีนส่งออกสีน้ำ

ตอนนี้มวลรวมของการขายงานศิลปะทั่วโลกอยู่ประมาณสี่หมื่นกว่าล้านดอลลาร์ ตัวเลขปี 2018  ก่อนโควิด ในจำนวนนี้เป็นของจีนครึ่งหนึ่ง

ใกล้ตัวประเทศไทยที่สุดคือ สิงคโปร์ ลงทุนกับมิวเซียมไปแล้วสองหมื่นล้านเหรียญ พอเราไปคุยกับเพื่อนๆ ทางวัฒนธรรมสิงคโปร์ เขาบอก สิงคโปร์เป็นประเทศเล็ก ไม่มีที่ดินจะแบ่งเป็นตารางวาเหมือนประเทศไทย สิงคโปร์ต้องใช้สมอง มีอะไรที่เราขายได้เป็นตารางเมตร-ตารางวาได้ ก็คือ งานศิลปะ

สิงคโปร์จึงนำเข้างานศิลปะปีละสามถึงสี่แสนล้านเหรียญทุกปี ผ่านกระบวนการประมูลและซื้อขายผ่านแกลลอรี และขายออกทำรายได้เข้าประเทศปีละสองล้านล้านเหรียญ นี่คือความฉลาดของมนุษย์”

บันชา ศรีวงศ์ราช จีน - สหรัฐอเมริกา ทำไมแย่ง \'สีน้ำ\' เป็นศิลปะประจำชาติ ศูนย์การเรียนรู้ทางศิลปะ ภายใน Metro Art

เป็นอีกสิ่งที่นักการเมืองสิงคโปร์มองเห็น 'มูลค่า' ทางเศรษฐกิจของ 'งานศิลปะ' และให้ความสำคัญในการนำมาส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ แม้ประเทศไม่มีทรัพยากรธรรมชาติจะขาย(กิน)