‘สารคดีไทย’ ไปไกลถึง ‘ตลาดโลก’ ด้วยลูกเล่นเรื่องเล่า ‘ร.ร.กินนอนสอนเป็ด’

‘สารคดีไทย’ ไปไกลถึง ‘ตลาดโลก’ ด้วยลูกเล่นเรื่องเล่า ‘ร.ร.กินนอนสอนเป็ด’

เจาะลึกที่มาของ ‘สารคดีไทย’ ที่เดินทางไปแข่งขันในตลาด 'สารคดีโลก’ ทำให้ได้พบกับจุดเปลี่ยนของความคิด และรู้ว่าคนดูสารคดีทั่วโลกต้องการดูอะไร

สารคดีไทย’ จะไปไกลถึงตลาด 'สารคดีโลก' ได้อย่างไร ถ้าเราไม่รู้เขารู้เรา คนไทยทำสารคดีไทยให้คนไทยดู ไม่ต้องอธิบายอะไรมากก็เข้าใจได้ง่าย

แต่ในตลาดโลก มีความแตกต่างหลากหลาย ทำอย่างไรให้เขาหันมาสนใจ

 

ยุพา เพ็ชรฤทธิ์ รัตนจันทร์ กรรมการสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดีไทย อดีตนักข่าวจากบริษัทแปซิฟิกอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น

รวมตัวกัน 3 คน (นก-นิรมล เมธีสุวกุล, สุริยนต์ จองลีพันธ์) ตั้ง บริษัทป่าใหญ่ครีเอชั่น ผลิตสารคดี มา 32 ปี มี ทุ่งแสงตะวัน, คนเก่งหัวใจแกร่ง, เพจเกษตรไทยไอดอล, Payai TV

‘สารคดีไทย’ ไปไกลถึง ‘ตลาดโลก’ ด้วยลูกเล่นเรื่องเล่า ‘ร.ร.กินนอนสอนเป็ด’

Cr. Kanok Shokjaratkul

นำประสบการณ์ ‘การพัฒนาสารคดีไทยไปสู่ตลาดโลก’ มาเล่าให้ฟัง ในงานเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานคร 2566 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566 ว่า

"เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว เราได้ไปร่วมงานเฟสติวัลที่ฝรั่งเศส เอางานสารคดีที่ทำมา 30 กว่าปีไปเสนอ ก่อนไปก็ต้องอีเมลไปขอนัดคุย เพราะว่าเขาจะไม่มารับนัดเราในงาน

ส่งไปเป็นร้อยฉบับไม่มีใครตอบรับ เราก็ไปนั่งฟังเขามาเสนองาน งงเลย มีกระดาษหนึ่งใบ ไปขึ้นเวที แล้วไม่ใช่ใครจะขึ้นได้ ต้องเสนอเรื่องไปก่อนขึ้นเวที

เราเอาเรื่องชาวนาทรนงอายุ 70 กว่าปีไป โตมาก็เป็นชาวนาเลยไม่ได้เรียนหนังสือ เป็นคนต่อต้านการใช้สารเคมี สู้จนคนหาว่าเขาเป็นคนบ้า เป็นชาวนาที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช้สารเคมี

เขาก็ถามกลับมาว่า So what มีคนยิ่งใหญ่แบบนี้มากมายในโลก มีเรื่องอะไรที่แปลกของเขา

‘สารคดีไทย’ ไปไกลถึง ‘ตลาดโลก’ ด้วยลูกเล่นเรื่องเล่า ‘ร.ร.กินนอนสอนเป็ด’ Cr. Duck Academy

เรื่อง Food Safety ก็มีคนทำเยอะแยะในโลก เรื่องสิ่งแวดล้อมมีคนทำเยอะแยะหมดแล้ว เขาต่างจากคนอื่นตรงไหน ฉันต้องดูเขาด้วยเหตุผลอะไร

โปรดิวเซอร์คนหนึ่งก็บอกว่า ไม่มีเรื่องอะไรน่าสนใจในเรื่องของคุณเลยนอกจากเป็ด ประมาณ 3 วินาทีที่มันวิ่งอยู่ในรถมันคืออะไร

เราก็อ๋อ เราพยายามบอกมากเกินไป ในเทรลเลอร์ที่เราจะขาย แต่เขาบอกจุดเล็ก ๆ ที่มันเด่นชัดมาก

ชาวนาคนนี้เขามีเป็ด เลี้ยงเป็ด 3,000 ตัว ใช้นกหวีดสอนเป็ด เป็นโรงเรียนสตรี รับเฉพาะเป็ดผู้หญิง เพราะออกไข่ได้ ทำให้มีเงินหมุนเวียน

‘สารคดีไทย’ ไปไกลถึง ‘ตลาดโลก’ ด้วยลูกเล่นเรื่องเล่า ‘ร.ร.กินนอนสอนเป็ด’

Cr. Duck Academy

เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักคิดค้น มีนวัตกรรมรถขนเป็ด บรรทุกเป็ดได้ถึง 3,000 ตัว ไปโน่นไปนี่

พอเราเล่าผ่านสัตว์ มันง่ายขึ้น เพราะคนมีแนวโน้มที่จะชอบสัตว์ ภาพเป็ดวิ่งไปวิ่งมามันน่ารัก เราตามถ่ายตั้งแต่ออกมาจากโรงฟัก มีพัฒนาการที่คนเห็นแล้วชอบ

คนฝรั่งเศสเขาสนใจเป็ดเพราะอาหารจานเด็ดของเขาคือเป็ด เราต้องจับให้ได้ว่าจะเอาอะไรมาเป็นตัวล่อ จับที่ไหนอะไรยังไง

กลุ่มเป้าหมายเราคือใคร ซึ่งยุโรปเป็นตลาดที่ดีมากสำหรับคนผลิตสารคดี และที่ฝรั่งเศส ช่วงเวลาไพร์มไทม์ของเขาเป็นสารคดี ฉายเวลาสองทุ่ม

‘สารคดีไทย’ ไปไกลถึง ‘ตลาดโลก’ ด้วยลูกเล่นเรื่องเล่า ‘ร.ร.กินนอนสอนเป็ด’

Cr. Duck Academy

เราได้เข้าเวิร์คชอป ทำให้รู้ปัญหาของเรามากมาย เริ่มตั้งแต่เราเล่าเรื่องไม่เป็น เราจับประเด็นไม่เป็น คือเราเป็นสำหรับประเทศไทย แต่เราไม่เป็นสำหรับตลาดนานาชาติ

พอได้เรียนรู้ เรื่องของเราที่โฟกัสที่ชาวนา ก็เปลี่ยนชื่อเป็น Duck Academy โรงเรียนกินนอนสอนเป็ด พูดว่าเขาฝึกสอนเป็ดยังไง เป็ดไล่ทุ่ง มีประวัติศาสตร์ มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีเรื่องสิ่งแวดล้อม มีเรื่องอาหารปลอดภัย

นี่คือสิ่งที่เราต้องจับให้ได้ เวลาเอาไปขายตลาดโลก แล้วมันเข้าหมวดหมู่ไหน มันจะเล่าเรื่องยังไง

‘สารคดีไทย’ ไปไกลถึง ‘ตลาดโลก’ ด้วยลูกเล่นเรื่องเล่า ‘ร.ร.กินนอนสอนเป็ด’ Cr. Duck Academy

Duck Academy ประสบความสำเร็จมากจนเราช็อก จากปีแรกที่ไม่มีใครสนใจ พอไปปีที่สอง คนนัดเราเยอะมาก เขาสนใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะซื้อ เราต้องทำงานได้มาตรฐานที่เขาต้องการ

เรื่องนี้ฉายเกือบทั่วโลก ยกเว้นประเทศไทย แล้วได้รางวัลจากแคนาดา ได้รางวัลสารคดีชนะเลิศจากเวที Asian Side of the Doc

เรื่องที่สองที่ขายได้คือ Hornbill Lady ผู้หญิงที่มีอาชีพปีนขึ้นไปซ่อมโพรงรังนกเงือก ได้รับรางวัล EBS Prime Pitch เกาหลีใต้ด้วย ขายได้ทั่วโลก แต่ไม่ได้ฉายที่ประเทศไทย"

‘สารคดีไทย’ ไปไกลถึง ‘ตลาดโลก’ ด้วยลูกเล่นเรื่องเล่า ‘ร.ร.กินนอนสอนเป็ด’

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • จุดแข็งของ ‘สารคดีไทย’ ที่จะไปสู่ตลาด ‘สารคดีโลก’

ชนินทร์ ชมะโชติ นายกสมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดีไทย กล่าวว่า ครั้งหนึ่งเราไปเฟสติวัลที่ฝรั่งเศส ไปเสนองานสารคดีเรื่อง ชาวเลที่เกาะลันตา

"มีเวลาเสนองานต่อหน้ากรรมการ 30 คน ที่มาจากสารพัดทีวีทั่วโลก ให้เขาซื้อคุณให้ได้ ลงทุนเงินให้ได้ ใน 7 นาที

พูดจบ กรรมการพูดว่า ภาพของคุณสวยมาก แต่ความสวยไม่ได้ช่วยอะไรเลย เรื่องของคุณคืออะไร ประเด็นอยู่ตรงไหน

ภาพของเราสวย เป็นภาพใต้น้ำ ชาวเลออกหาปลา แต่ไม่ได้บอกว่ามันเกิดอะไรขึ้น

เป็นสารคดีพื้น ๆ เล่าหนึ่งถึงสิบไปเรื่อยเปื่อย ไม่มีประเด็นไม่ได้เลย อย่าง Duck Academy เป็ดจะไปกินสารอาหารในนาข้าวที่ปลอดสารพิษ

‘สารคดีไทย’ ไปไกลถึง ‘ตลาดโลก’ ด้วยลูกเล่นเรื่องเล่า ‘ร.ร.กินนอนสอนเป็ด’ Cr. Kanok Shokjaratkul

แล้วชาวนาก็ได้ขี้เป็ดเป็นปุ๋ยกลับคืนไป เป็นสิ่งที่ฝรั่งนึกไม่ถึง แค่นี้เอง มันเปลี่ยนไปได้เลย มันน่าสนใจได้ทันที ถ้าเราเล่าเรื่องคน ๆ หนึ่งทำอะไร มันก็เท่านั้น ไม่มีอะไร

ตอนเราเข้าคลาส คนที่มาจากต่างประเทศเขาจะชี้ให้เห็นเลยว่า คุณมองประเด็นนี้สิ มองประเด็นนั้นสิ พูดแล้วเราก็คลิก เออ ใช่ เราไม่เคยมองแบบนี้

การขายสารคดีในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ขายเป็นเปเปอร์ก่อน ส่งทรีตเมนท์ไปก่อน ให้เขาดูว่าสนใจไหม

ถ้าสนใจ ค่อยมาทำรายละเอียดกัน ถ้าตกลง เขาซื้อหรือลงทุน เราถึงมาวางกระบวนการทำงาน

เริ่มต้นจากคำว่าสารคดีเราเกี่ยวกับเรื่องอะไร แล้วก็เขียนโครงเรื่องก่อนถ่ายทำว่า เรื่องจะดำเนินไปยังไง แล้วเริ่มเซอร์เวย์สถานที่ หาข้อมูล เริ่มทำงาน

‘สารคดีไทย’ ไปไกลถึง ‘ตลาดโลก’ ด้วยลูกเล่นเรื่องเล่า ‘ร.ร.กินนอนสอนเป็ด’ Cr. Kanok Shokjaratkul

โดยธรรมชาติ สารคดีจะใช้เวลาถ่ายทำนานกว่าภาพยนตร์ เพราะภาพยนตร์เราวางบล็อกได้หมด เป็นเรื่องที่แต่งขึ้น แต่ว่าสารคดี มันมีฤดูกาล ฤดูนี้ถ่ายไมได้ ก็ต้องรอไปก่อน

เดี๋ยวนี้เครื่องมือไม่สำคัญเท่ากับการเล่าเรื่อง ทุกคนมีเท่ากันหมด เขาไม่ดูเรื่องคุณภาพของเครื่องมือแล้ว เขาดูเรื่องความแข็งของเรื่อง

สมาคมฯเราตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้ผลิตสารคดีให้มีมาตรฐานการทำงานในระดับโลกให้มากขึ้น เราอยากพัฒนาทั้งระบบ ให้ไปสู้ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ได้

เมื่อก่อนคนทำสารคดีจะต่างคนต่างไป เราก็พยายามเอามารวมกันให้ได้มากที่สุด สารคดีเราเพิ่งมีสมาคมปีนี้เป็นปีที่ 3 จะจัดให้มีเวิร์คช็อปและขยับต่อไปเรื่อย ๆ

‘สารคดีไทย’ ไปไกลถึง ‘ตลาดโลก’ ด้วยลูกเล่นเรื่องเล่า ‘ร.ร.กินนอนสอนเป็ด’ Cr. Kanok Shokjaratkul

  • จะทำสารคดีไปขายต่างประเทศจะต้องมีอะไร

ยุพา แนะนำว่า ต้องมีความอดทนสูงมาก

"ถ้าเป็นสารคดีในประเทศ คนดูเข้าใจบริบทของเรา แต่พอไปต่างประเทศ มันต้องคิดละเอียดมาก มันต้องอึด ทั้งเทคนิค ทั้งความเข้าใจที่แตกต่างของแต่ละประเทศ

อย่าง Duck Academy ตอนไปตัดต่อที่ NHK เถียงกันอยู่นาน เพราะบริบทต่างกัน ประเทศไทยทำนาได้หลายครั้ง มีทุ่งนาสีเขียวกับทุ่งนาถูกเผาแล้วอยู่ด้วยกัน

แต่ที่ญี่ปุ่นรับไม่ได้กับภาพแบบนี้เพราะเขาทำนาครั้งเดียว ถือว่าเป็นภาพที่ไม่จริง

‘สารคดีไทย’ ไปไกลถึง ‘ตลาดโลก’ ด้วยลูกเล่นเรื่องเล่า ‘ร.ร.กินนอนสอนเป็ด’ Cr. Kanok Shokjaratkul

เราจึงต้องอึดที่จะทำงานกับทีมงานที่หลากหลาย และยังต้องอึดที่จะลงทุนทั้งเงินทุนและเวลา

อย่างเรื่อง Hornbill Lady ถ่ายเกือบสามปี นกเงือก ถ่ายยากมาก อยู่ในป่าทึบป่าดิบ กว่าจะรู้ว่าตรงไหนมีรังก็ต้องไปนั่งเฝ้า

การทำสารคดีมันยาก มันช้า ทำเสร็จไม่รู้ว่าจะได้เงินหรือเปล่า จะมีใครซื้อหรือเปล่า เพราะฉะนั้น หนึ่ง.อย่าย่อท้อ สอง.เปิดรับ ดูให้มาก แล้วอย่าเข้าข้างตัวเองมากเกินไป อย่าสงสารตัวเองมากจนเกินไป

ฟุตเทจที่คุณมี เรื่องที่คุณจะเล่า มันดีพอหรือยัง ต้องกล้าที่จะเปิด และยอมรับ แล้วไปถามหาตัวช่วย อย่างสมาคมฯเราก็พร้อม และเราต้องทำตัวเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้ว"

https://www.youtube.com/watch?v=bUNyhImq69U