‘ศัลยา สุขะนิวัตติ์’ หัวใจของละคร คือคอนเทนท์

‘ศัลยา สุขะนิวัตติ์’ หัวใจของละคร คือคอนเทนท์

ท่ามกลางความรู้สึกของผู้ชมละคร ‘พรหมลิขิต’ ภาคต่อ ‘บุพเพสันนิวาส’ ที่เพิ่งจบไป สร้างความกังขาค้างคาในหลาย ๆ ส่วน เรามารู้จักกับผู้เขียนบท ‘ศัลยา’ กันอีกครั้ง

ละครพีเรียดโรแมนติกแฟนตาซี บุพเพสันนิวาส สร้างปรากฎการณ์ให้กับประเทศไทย ผู้ชมต่างแต่งชุดไทยไปถ่ายรูปตามโบราณสถาน ขณะที่เรตติ้งพุ่งสูงกว่า 20 เมื่อต้นปี 2561

สร้างความคาดหวังให้กับคนดูเมื่อรู้ว่า พรหมลิขิต ภาคต่อ ‘บุพเพสันนิวาส’ จะลงจอวันที่ 18 ตุลาคม 2566 แต่เมื่อติดตามชมแล้ว ช่วงแรกดีมาก ช่วงกลางออกจะยืดยาว ช่วงท้ายกลับตัดจบรวดเร็วจนงง

ทั้ง ๆ ที่ผู้ผลิต บริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด และผู้เขียนบท ศัลยา ยังคงเดิม เปลี่ยนเพียงผู้กำกับจาก ภวัต พนังคศิริ เป็น สรัสวดี วงศ์สมเพ็ชร เท่านั้น

คำถามคือ บทโทรทัศน์ คือตัวกำหนดทิศทางของละครใช่ไหม ?

‘ศัลยา สุขะนิวัตติ์’ หัวใจของละคร คือคอนเทนท์

นักเขียนบทละครโทรทัศน์ เจ้าของนามปากกา ศัลยา, พัชร, แดนดาว, ทองตรา มีชื่อเสียงและเป็นที่จดจำจากละครเรื่อง คู่กรรม, นางทาส, สายโลหิต, ดอกส้มสีทอง, บุพเพสันนิวาส 

มีชื่อจริงว่า ศัลยา สุขะนิวัตต์ เกิด พ.ศ. 2490 สำเร็จการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เริ่มเขียนบทละครจากการชักชวนของไพรัช สังวริบุตร (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ภาพยนตร์และละคร ปี พ.ศ. 2547) 

‘ศัลยา สุขะนิวัตติ์’ หัวใจของละคร คือคอนเทนท์

ศัลยา สุขะนิวัตต์ Cr. Kanok Shokjaratkul

ศัลยา สุขะนิวัตต์ อดีตนายกสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ ได้กล่าวในรายการ ถามมา ตอบไป ทางเฟซบุ๊ค สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ วันที่ 2 ตุลาคม 2564 ว่า

"ละครไทย คือชีวิต คือการเสนอภาพของคนไทย ที่อยู่ในสังคมไทย เสนอความบันเทิงให้กับคนที่มีโอกาสได้รับความบันเทิงในด้านอื่น ๆ ค่อนข้างน้อย

ทำให้เขาได้เพลิดเพลิน พาตัวเองหลุดออกมาจากโลกความโหดร้าย ความทุกข์ยากลำบากใจ หลีกหนีลืมความทุกข์ชั่วครู่ชั่วยาม ให้ความรื่นรมย์ ให้ความสุข ในช่วงเวลาสั้น ๆ

‘ศัลยา สุขะนิวัตติ์’ หัวใจของละคร คือคอนเทนท์

คอนเทนท์ คือ หัวใจของละคร อุตสาหกรรมละครไทยไม่เหมือนอุตสาหกรรมละครเกาหลี เพราะที่นั่นคนเขียนบทเป็นคนคิดคอนเทนท์ พัฒนาเรื่องขึ้นมา แล้วเอาไปขาย

ส่วนใหญ่เราทำละครจากนิยาย ถ้านิยายยังอยู่ในกรอบเดิม ๆ ไม่แหวกออกไป นั่นคือข้อจำกัดของละครไทย

อยู่ที่การนำเสนอคอนเทนท์ ต้องเป็นสตอรี่ที่มีจุดน่าสนใจ สนุกสนาน แล้วประกอบร่างขึ้นเป็นนวนิยายได้ มันถึงจะถ่ายทอดออกมาเป็นบทละครได้

ทุกวันนี้เรามีเฟคนิวส์ ละครก็เหมือนกัน ถ้าไม่เฟค ให้ข้อมูลจริง ข้อมูลชัดเจน ดูแล้วรู้เรื่อง

การผลิตดี การแอ็คติ้งดี เชื่อว่าตรึงคนดูได้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวที่หนักหน่วงก็ตาม"

‘ศัลยา สุขะนิวัตติ์’ หัวใจของละคร คือคอนเทนท์

กับคำถามว่า ทำไมละครไทยชอบทำเรื่องเดิม พล็อตซ้ำ ๆ ได้คำตอบว่า ละครทุกชาติก็มีพล็อตซ้ำซากทั้งนั้น

"พล็อตในโลกนี้ มันมีไม่กี่พล็อต แล้วพล็อตที่คนดูตอบรับ มันคือพาณิชย์ศิลป์ ไม่ใช่การกุศล

คนทำละครไม่ใช่สื่อสารสาระอย่างเดียว เราไม่ใช่ครูสอนหนังสือ

ตัวพล็อตอาจจะซ้ำซาก แต่อยู่ที่ วิธีการนำเสนอ ให้เห็นภาพชัดเจนที่สุด

บวกกับความสนุกสนาน เพื่อให้คนดูมีความสุข นำเสนอให้มันจริง อิงกับ FACT ก็จัดได้ว่าต่างจากละครเดิม ๆ

‘ศัลยา สุขะนิวัตติ์’ หัวใจของละคร คือคอนเทนท์

ถ้าอยากเสนอเรื่องที่แหวกไปมาก ๆ เช่น เรื่องอาชีพ ก็ต้องทำรีเสิร์ชเยอะ ๆ คำนึงถึงหลายๆ อย่าง

เพราะนี่คือ Industry ที่มีการลงทุน ถ้าลงทุนไม่เต็มที่ มันก็จะได้เท่าที่ลงทุนไป

ส่วนการเอาเรื่องเก่ากลับมาทำใหม่ บางทีไม่ง่ายนะ

กำลังจะเขียนบทเรื่อง ‘ผู้ใหญ่ลีกับนางมา’ มีความรู้สึกว่า ยากกว่าเรื่อง ‘พรหมลิขิต’ เสียอีก

เพราะเป็นเรื่องราว พ.ศ.2490 แต่เราเอามาทำในยุคนี้ บริบทของสังคมสมัยนี้ โลกการเกษตรสมัยนี้ มันจะออกมาเป็นยังไง เขียนยากมาก

นี่คือคำตอบว่าแนวละครเดิมมันจะซ้ำซากหรือเปล่า วิธีนำเสนอจะต้องแตกต่างออกไป ต้องคอยดู"

‘ศัลยา สุขะนิวัตติ์’ หัวใจของละคร คือคอนเทนท์

ละครไทย เป็น Soft Power ได้ไหม คำตอบคือ ถ้าเราร่วมมือกัน เราทำได้

"ต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่ควบคุมเรื่องนี้ ศักยภาพของเรา เราทำได้ แต่ต้องมีความเข้มแข็ง ตอนนี้ละครไทยพัฒนาตามมีตามเกิด

จุดเด่นของละครไทยคือ ความเป็นไทยที่แท้จริง นำเสนอในแบบที่เรายังไม่เห็น เรามีเรื่องแบบนี้มากมายในประเทศของเรา ที่มีความร่ำรวยทางวัฒนธรรม ถึง 4 ภาค มีเรื่องราวซ่อนเร้นอยู่ตามชุมชน ป่าเขาลำเนาไพร นั่นคือความเป็นไทย

‘ศัลยา สุขะนิวัตติ์’ หัวใจของละคร คือคอนเทนท์

ไม่รู้ว่าเมื่อไรเราจะสร้างละครที่มีโขนเป็นเรื่องใหญ่ มีดุริยางคศิลป์ มีดนตรีไทย มีกีฬาไทย มีอะไรไทย ๆ ออกมาให้มันสุด ๆ

แล้วมีเรื่องราว มีสตอรี่ ที่มันน่าสนใจมาก ๆ ต้องทำวิจัยที่เข้มข้นหนักหน่วง แล้วคนสนับสนุนเป็นภาครัฐ เป็นช่อง เป็นบริษัท ผู้จัด ก็ต้องลงทุนตรงนี้เยอะ ๆ ให้ความสำคัญกับการทำรีเสิร์ชหาข้อมูล

มีหลาย ๆ เรื่องที่เราสามารถเจาะให้ทะลุทะลวงให้มันน่าสนใจ ประกอบกับผู้เขียนนิยายสร้างสตอรี่ที่สนุกได้ เป็นความหวังของละครไทย

การพัฒนาอุตสาหกรรมละครไทย ต้องมีการยกระดับไปพร้อม ๆ กันทุกส่วน เป็นสิ่งที่ดีสำหรับประชาชน ขอร้องให้หน่วยงานองค์กรที่มีบทบาททางนี้หันมาช่วยกัน ทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้”

‘ศัลยา สุขะนิวัตติ์’ หัวใจของละคร คือคอนเทนท์

  • ผลงานการเขียนบทละคร ช่อง 7

ปี 2528 ได้แก่ กิ่งมัลลิกา, มัสยา  ปี 2529 แหวนทองเหลือง ปี 2530 บ้านทรายทอง, พจมาน สว่างวงศ์, สกาวเดือน, รัศมีแข, แก้วหน้าม้า

ปี 2531 นางสิบสอ,ง พระสุธน-มโนห์รา, อีสา, แผลเก่า, จำเลยรัก ปี 2532 อยู่เพื่อรัก, ปริศนาของเวตาล, เมียหลวง, แก้วตาเสือ ปี 2533 คู่กรรม, มนต์นาคราช, มณีร้าว, กนกลายโบตั๋น

ปี 2534 ดิน น้ำ ลม ไฟ, ไผ่แดง, ตะวันชิงพลบ, ริษยา ปี 2535 เมืองโพล้เพล้, นางทิพย์, ละครเร่ ปี 2536 ผยอง, นางทาส, เกิดแต่ตม ปี 2537 ผ้าทอง, ศิลามณี ปี 2538 คือหัตถาครองพิภพ, สุดสายป่าน,  สายโลหิต

ปี 2539 ญาติกา, มงกุฎดอกส้ม 111 (ตองหนึ่ง), รัตนโกสินทร์ ปี 2540 ดวงใจพิสุทธิ์, ทัดดาว บุษยา, การะเกด, นิรมิต, ตะวันทอแสง, ทายาทป๋องแป๋ง

ปี 2541 จำเลยรัก, ลูกตาลลอยแก้ว, อีสา-รวีช่วงโชติ, คู่เขย คู่ขวัญ, หมวดป๊อกแป๊ก, กามเทพเล่นกล ปี 2542 ข้ามสีทันดร, นางเอกหลังบ้าน, ลูกหว้า, ตั้งไข่ล้ม, พรหมไม่ลิขิต

ปี 2543 ลูกไม้ไกลต้น, รากนคร,า  นางสิบสอง, พระสุธน-มโนห์รา ปี 2544 แก้วหน้าม้า, ทัณฑ์กามเทพ ปี 2545 สาวน้อย, รอยไถ ปี 2546 พรพรหมอลเวง ปี 2547 ฟ้าใหม่

ปี 2548 ริบบิ้นเขียวกับกล่องกระดาษแดง, วีรบุรุษกองขยะ ปี 2549 หลงเงาจันทร์ ปี 2550 ปู่โสมเฝ้าทรัพย์

  • ผลงานการเขียนบท จากหลายช่อง

ปี 2553 ไฟอมตะ ช่อง 9, มงกุฎดอกส้ม ช่อง 3/  ปี 2554 ดอกส้มสีทอง, เคหาสน์สีแดง ช่อง 3/ ปี 2555 ดอกโศก ช่อง 5, กว่าจะรู้เดียงสา ช่อง Media Channel/

ปี 2556 ฟ้าจรดทราย ช่อง 7, แค้นเสน่หา ช่อง 3, ภาพอาถรรพณ์ ช่อง 5/  ปี 2557 ทรายสีเพลิง ช่อง 3/ ปี 2558 เวลาในขวดแก้ว ช่อง True4U

ปี 2561 บุพเพสันนิวาส ช่อง 3, สายโลหิต ช่อง 7/ ปี 2562 ก่อนอรุณจะรุ่ง ช่อง GMM25, กลลวงทวงหนี้รัก,สัตยาธิษฐาน ช่อง 3

ปี 2565 ซ่านเสน่หา ช่อง 3/ ปี 2566 พรหมลิขิต ช่อง 3

......................................

อ้างอิง : กรุงเทพธุรกิจ, วิกิพีเดีย